ระยะเวลาและประสิทธิภาพของกระบวนการบริการในห้องผ่าตัดในเวลาราชการของโรงพยาบาลหัวหิน

ผู้แต่ง

  • พันตรีหญิงนันทกา เดชาทัย พ.บ., โรงพยาบาลหัวหิน

คำสำคัญ:

ตัวชี้วัดที่ทำให้เวลาในการใช้ห้องผ่าตัดช้าลง, ตัวชี้วัดที่ทำให้เวลาในการใช้ห้องผ่าตัดเหมาะสม, ตัวชี้วัดอัตราการใช้ห้องผ่าตัด, อัตราการใช้ห้องผ่าตัดตามจริง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การใช้ห้องผ่าตัดอย่างเหมาะสมสามารถเพิ่มความปลอดภัย คุณภาพ และความพึงพอใจของผู้ป่วยได้ การวางแผนปรับปรุงวิธีการบริหารจัดการห้องผ่าตัดต้องทำให้เป็นรูปธรรม การวิเคราะห์ต้องมีข้อมูลพื้นฐานและปัจจัยที่ทำให้เกิดผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงศึกษาระยะเวลาและปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาและประสิทธิภาพของกระบวนการบริการในห้องผ่าตัดในเวลาราชการของโรงพยาบาลหัวหิน

วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลโดยการเฝ้าสังเกตและบันทึกเวลาต่างๆ รวมระยะเวลา 3 เดือน เพื่อหาระยะเวลาที่ใช้ในกระบวนการบริการต่างๆ และนำมาประเมินประสิทธิภาพในการใช้งานห้องผ่าตัดด้วยตัวชี้วัดต่างๆ ตลอดจนปัจจัยที่มีผลระยะเวลาการบริการในห้องผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS version 18

ผลการศึกษา: ระยะเวลาที่ใช้ในผู้ป่วยแต่ละรายมีค่ามัธยฐาน 83 (-74, 507) นาที ตัวชี้วัดที่ทำให้เวลาในการใช้ห้องผ่าตัดเหมาะสม ตัวชี้วัดที่ทำให้เวลาในการใช้ห้องผ่าตัดช้าลง และอัตราการใช้ห้องผ่าตัดตามจริงมีค่าร้อยละ 129.5, 89.9 และ 83.8 ตามลำดับ ตัวชี้วัดอัตราการใช้ห้องผ่าตัดเท่ากับ -14.2 หมายถึง การใช้ห้องผ่าตัดน้อยกว่าความสามารถของห้องผ่าตัดระยะเวลาที่ใช้ในผู้ป่วยแต่ละราย มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับระยะเวลาที่ทีมวิสัญญีใช้ในการให้บริการ ระยะเวลาที่ทีมผ่าตัดใช้ในการให้บริการ และระยะเวลาที่ผู้ป่วยออกจากห้องผ่าตัด จนกระทั่งผู้ป่วยรายใหม่เข้าห้องผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลหัวหินมีการใช้งานน้อยว่าความสามารถของห้องผ่าตัด การจัดการเป็นทีมแบบสหวิชาชีพ ตระหนักรู้ปัญหา มีผู้นำที่สามารถสื่อสารและบริหารเวลาได้เป็นอย่างดี จัดอัตรากำลังให้เหมาะสมและจัดตารางการผ่าตัดที่สามารถปฏิบัติได้จริงเป็นระบบระเบียบจะลดระยะเวลาในแต่ละช่วงลงได้ การลดระยะเวลาไม่ได้บ่งบอกถึงประสิทธิภาพเสมอไป หากขึ้นอยู่กับคุณภาพการบริการและความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้วย

References

1. คัทลียา ทองรอง, พลพันธ์ บุญมาก, พนารัตน์ รัตนสุวรรณ, และคณะ. ประสิทธิภาพการให้บริการทางวิสัญญีในเวลาราชการของโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2554; 26(3): 174-9.
2. Stepaniak PS, Heij C, Mannaerts GH, et al. Modeling procedure and surgical times for current procedural terminology-anesthesia-surgeon combinations and evaluation in terms of case-duration prediction and operating room efficiency: a multicenter study. Anesth Analg. 2009; 109(4): 1232-45. doi: 10.1213/ANE.0b013e3181b5de07.
3. Al-Benna S. The impact of late-starts and overruns on theatre utilisation rates. J Perioper Pract. 2012; 22(6): 197-9. doi: 10.1177/175045891202200603.
4. Schwarz P, Pannes KD, Nathan M, et al. Lean processes for optimizing OR capacity utilization: prospective analysis before and after implementation of value stream mapping (VSM). Langenbecks Arch Surg. 2011; 396(7): 1047-53. doi: 10.1007/s00423-011-0833-4.
5. Nepote MH, Monteiro IU, Hardy E. Association between operational indexes and the utilization rate of a general surgery center. Rev Lat Am Enfermagem. 2009; 17(4): 529-34. doi: 10.1590/s0104-11692009000400015.
6. Marjamaa R, Vakkuri A, Kirvela O. Operating room management: why, how and by whom? Acta Anaesthesiol Scand. 2008; 52(5): 596-600. doi: 10.1111/j.1399-6576.2008.01618.x.
7. Foglia RP, Alder AC, Ruiz G. Improving perioperative performance: the use of operations management and the electronic health record. J Pediatr Surg. 2013; 48(1): 95-8. doi: 10.1016/j.jpedsurg.2012.10.022.
8. ภูพิงค์ เอกะวิภาต, วริณี ด้วงเงิน. การศึกษาระยะเวลาของกระบวนการในห้องผ่าตัดทางระบบประสาท. วิสัญญีสาร. 2558; 4: 203-17.
9. Zafar SU, Khan FA, Khan M. Standardization of Anaesthesia Ready Time and reasons of delay in induction of anaesthesia. J Pak Med Assoc. 2006; 56(3): 112-5.
10.Tyler DC, Pasquariello CA, Chen CH. Determining optimum operating room utilization. Anesth Analg. 2003; 96(4): 1114-21. doi: 10.1213/01.ane.0000050561.41552.a6.
11. Delaney CL, Davis N, Tamblyn P. Audit of the utilization of time in an orthopaedic trauma theatre. ANZ J Surg. 2010; 80(4): 217-22.

เผยแพร่แล้ว

2021-03-24