คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • พิชชุดา วิทวัสสำราญกุล พ.บ., โรงพยาบาลพระจอมเกล้า

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, อาการทางจิต, ผู้ดูแล, ผู้ป่วยโรคจิตเภท

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่เข้ามารับบริการแบบผู้ป่วยนอก คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาการของผู้ป่วยและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล

วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิจัยพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ทำการศึกษาในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ได้รับการวินิจฉัยตามเกณฑ์ ICD-10 ที่เข้ามารับบริการแบบผู้ป่วยนอก คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ในช่วง กุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2563 จำนวน 57 ราย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) และแบบประเมินความรุนแรงของอาการของผู้ป่วยจิตเภท Positive and Negative Syndrome Scale ฉบับภาษาไทย (PANSS-T) ข้อมูลที่ได้นำมาแจกแจงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้สถิติ Pearson correlation coefficient เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของอาการผู้ป่วยและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 96.89±11.05 คะแนน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพชีวิตที่ดี คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลมีความสัมพันธ์ในทิศทางลบกับระดับความรุนแรงของกลุ่มอาการด้านบวก กลุ่มอาการด้านลบ และจิตพยาธิสภาพทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.049, p<.007, และ p<.001) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณชีวิตของผู้ดูแล ได้แก่ จำนวนบุตรของผู้ดูแล ความเพียงพอของรายได้ ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย และรายได้ต่อเดือนของผู้ป่วย

สรุป: คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลมีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของอาการผู้ป่วย การดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวมครอบคลุมทุกมิติจึงมีความสำคัญ ผลการศึกษาที่ได้นำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทต่อไปในอนาคต

References

1. พิเชฐ อุดมรัตน์, สรยุทธ วาสิกนานนท์. ตำราโรคจิตเภท. สงขลา: เมืองการพิมพ์; 2552: 22-36, 78-98, 136.
2. กุศลาภรณ์ ชัยอุดมสุข. จิตเวชศาสตร์. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2559: 281-300.
3. แผนกสุขภาพจิตและสารเสพติด องค์การอนามัยโลก. การป้องกันโรคจิตเวช:มาตรการและทางเลือกนโยบายที่มีประสิทธิผล. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์; 2560: 50.
4. Wong DFK, Lam AYK, Chan SK, et al. Quality of life of caregivers with relatives suffering from mental illness in Hong Kong: roles of caregiver characteristics, caregiving burdens, and satisfaction with psychiatric services. Health and Quality of life Outcomes. 2012; 10: 15.
5. Boyer L,Caqueo-Urízar A, Richieri R, et al. Quality of life among caregivers of patients with schizophrenia: a cross-cultural comparison of Chilean and French families. BMC Family Practice. 2012; 13: 42.
6. Gupta S, Isherwood G, Jones K, et al. Assessing health status in informal schizophrenia caregivers compared with health status in non-caregivers and caregivers of other conditions. BMC Psychiatry. 2015; 15: 162.
7. Ribé JM, Salamero M, Pérez-Testor C, et al. Quality of life in family caregivers of schizophrenia patients in Spain: caregiver characteristics, caregiver burden, family functioning, and social and professional support. Int J Psychiatry Clin Pract. 2018; 22(1): 25-33. Doi: 10.1080/13651501.2017.1360500
8. Caque-Urízar A, Gutiérrez-Maldonado J, Miranda-Castillo C. Quality of life in caregivers of patients with schizophrenia: A literature review. Health and Quality of life outcomes. 2009; 7: 84. doi: 10.1186/1477-7525-7-84
9. Charampos M, Elena V, Nikolaos D, et al. Factors associated with caregiver psychological distress in chronic schizophrenia. Soc Psychiatry Psychiatr Epidemiol. 2010; 47(2): 331-7. doi: 10.1007/s00127-010-0325-9.
10. Foldemo A, Gullberg M, EK AC, et al. Quality of life and burden in parents of outpatients with schizophrenia. Soc Psychiatry Psychiatr Epidemiol. 2005; 40(2): 133-8. doi: 10.1007/s00127-005-0853-x.
11. Oldridge ML, Hughes IC. Psychological well-being in families with member suffering from schizophrenia: an investigation into long-standing problems. Br J Psychiatry. 1992; 161: 249-51. doi: 10.1192/bjp.161.2.249.
12. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, และคณะ. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2545.
13. ธนา นิลชัยโกวิทย์. positive and negative syndrome scale ฉบับภาษาไทย (PANSS-T). ม.ป.ท.: ม.ป.ป.
14. นรวีย์ พุ่มจันทร์. การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทและญาติ:กรณีศึกษาในผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงกลางวันสถาบันจิตเวชศาตร์สมเด็จเจ้าพระยา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2548; 13(3): 146-56.
15. เอมิกา กลยานี, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์, อารีย์ วรรณอ่วมตานี. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2558; 7(1) :128-40.
16. Caqueo-Urízar A, Gutiérrez-Maldonado J, Ferrer-García M, et al. Typology of schizophrenic symptoms and quality of life in patients and their main caregivers in northern Chile. Int J of Soc Psychiatry. 2013; 59(1): 93-100. doi: 10.1177/0020764011423465.
17. Das PK, Maiti S, Roy P, et al. A comparative study of stigma, quality of life and family burden in patients of schizophrenia and obsessive-compulsive disorder. Journal of neurology and neuroscience. 2019; 10(5): 287. Doi: 10.36648/2171-6625.10.S5.287.
18. ทัศนีย์ กุลจนะพงศ์พันธ์, กฤตนัย แก้วยศ, ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์, และคณะ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2559; 10(2): 23-35.
19. อุมาพร ตรังคสมบัติ. จิตบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ: ซันต้าการพิมพ์; 2543. 44.
20. Richieri R, Boyer L, Reine G, et al. The schizophrenia caregiver quality of life questionnaire (S-CGQoL):Development and validation of an instrument to measure quality of life of caregivers of individuals with schizophrenia. Schizophr Res. 2011; 126(1-3): 192-201. doi: 10.1016/j.schres.2010.08.037.

เผยแพร่แล้ว

2021-03-24