การผ่าตัดรักษาปิดบาดแผลขนาดใหญ่ที่ขาด้วยการใช้เนื้อเยื่อข้างเคียง

ผู้แต่ง

  • วิลาสินี อุดคำเที่ยง พ.บ., โรงพยาบาลสมุทรสาคร

คำสำคัญ:

ปลูกถ่ายผิวหนัง, แผล, โยกเนื้อเยื่อ, ผ่าตัดตกแต่ง, ผ่าตัดปิดแผล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: นำเสนอผลการผ่าตัดปิดบาดแผลที่ขาของผู้ป่วยโรงพยาบาลสมุทรสาคร โดยใช้เนื้อเยื่อข้างเคียง (non-microvascular reconstruction) เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยที่เหมาะสม

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง (retrospective descriptive) ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปิดบาดแผลโดยใช้เนื้อเยื่อข้างเคียง ประกอบด้วยการปลูกถ่ายผิวหนัง (skin graft) และการโยกเนื้อเยื่อ (local flap) ในช่วง กรกฎาคม 2561 – เมษายน 2563 เก็บข้อมูลอายุ เพศ โรคประจำตัว ตำแหน่งและสาเหตุการเกิดแผล ระยะเวลาผ่าตัด ระยะเวลานอนโรงพยาบาลและภาวะแทรกซ้อน

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 114 ราย เพศชาย 79 ราย (ร้อยละ 69.3) เพศหญิง 35 ราย (ร้อยละ 30.7) อายุเฉลี่ย 42.7 ปี (±19.89) บาดแผลตำแหน่งขา 71 ราย ปิดบาดแผลด้วยวิธีปลูกถ่ายผิวหนัง 59 ราย (ร้อยละ 83.1) และวิธีโยกเนื้อเยื่อ 12 ราย (ร้อยละ 16.9) ระยะเวลาผ่าตัดเฉลี่ยด้วยวิธีปลูกถ่ายผิวหนัง 29 นาที (ร้อยละ ±16.58) ด้วยวิธีโยกเนื้อเยื่อ 89 นาที (ร้อยละ ±7.87) ระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ยของวิธีปลูกถ่ายผิวหนัง 5.6 วัน (ร้อยละ ±5.37) และของวิธีโยกเนื้อเยื่อ 8.2 วัน (ร้อยละ ±5.38) ตามลำดับ

สรุป: การผ่าตัดปิดบาดแผลขนาดใหญ่ที่ขาโดยการใช้เนื้อเยื่อข้างเคียง (skin graft and local flap) ให้ผลลัพธ์ดีคือแผลหาย ระยะเวลาผ่าตัดและระยะเวลานอนโรงพยาบาลสั้นกว่าวิธีผ่าตัดทางจุลศัลยกรรม (free flap) วิธีผ่าตัดนี้เป็นทางเลือกที่เหมาะสมในผู้ป่วยที่ไม่สามารถทนการผ่าตัดที่ใช้เวลานานและต้องการฟื้นตัวเร็ว

References

1. ธนุศักดิ์ ศรีใจ, ภักดี สรรค์นิกร. การผ่าตัดปลูกถ่ายเนื้อเยื่อโดยวิธีทางจุลศัลยกรรมในผู้ป่วยที่มารักษาที่ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลราชวิถี ปี 2554-2558. วารสารกรมการแพทย์ 2559; 41(3): 12-7.
2. Lindeborg MM, Puram SV, Sethi RKV, et al. Predictive factors for prolonged operative time in head and neck patients undergoing free flap reconstruction. Am J Otolaryngol. 2020; 41(2): 102392-7. doi: 10.1016/j.amjoto.2020.102392
3. Haykal S, Roy M, Patel A. Meta-analysis of Timing for Microsurgical Free-Flap Reconstruction for Lower Limb Injury : Evaluation of the Godina Principles. J Reconstr Microsurg. 2018; 34(04): 277–92. doi: 10.1055/s-0037-1621724
4. MGR Online. ครั้งแรกเอเชีย! ไทยวิจัยผิวเทียมเฟสแรกสำเร็จ เตรียมทดลองใช้ในคน [อินเทอร์เน็ต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 14 มกราคม 2555]; เข้าถึงได้จาก: http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9510000104434
5. Scherer-Pietramaggiori SS, Orgill DP. Skin graft. In: Neligan PC, Gurtner GC, editors. Plastic Surgery - Volume One principles. 4th ed. New York: Elsevier; 2018. 214-29.
6. Hong JP. Reconstructive surgery: Lower extremity coverage. In: Neligan PC, Song DH, editors. Plastic Surgery - Volume Four Lower extremity, Trunk, and Burns. 4th ed. New York: Elsevier; 2018. 118-41.
7. Yang D, Yang JF, Morris SF, et al. Medial Plantar Artery Perforator Flap for Soft-Tissue Reconstruction of the Heel. Ann Plast Surg. 2011; 67(3): 294–8. doi: 10.1097/SAP.0b013e3181f9b278.
8. DeFazio MV, Han KD, Attinger CE. Foot reconstruction. In: Neligan PC, Song DH, editors. Plastic Surgery - Volume Four Lower extremity, Trunk, and Burns. 4th ed. New York: Elsevier; 2018. 184-216.
9. Ignatiadis IA, Tsiampa VA, Galanakos SP, et al. The reverse sural fasciocutaneous flap for the treatment of traumatic, infectious or diabetic foot and ankle wounds: a retrospective review of 16 patients. Diabetic Foot Ankle. 2011; 2: 5653-60. doi: 10.3402/dfa.v2i0.5653
10. Karbalaeikhani A, Saied A, Heshmati A. Effectiveness of the Gastrocsoleous Flap for Coverage of Soft Tissue Defects in Leg with Emphasis on the Distal Third. Arch Bone Jt Surg. 2015; 3(3): 193-7. doi: 10.22038/ABJS.2015.4304
11. Thornton BP, Rosenblum WJ, Pu LLQ. Reconstruction of limited soft tissue defect with open tibial fracture in the distal third of the leg. Ann Plast Surg. 2005; 54(3): 276-80.
12. Pu LLQ. A Comprehensive Approach to Lower Extremity Free-tissue Transfer. Plast Reconstr Surg Glob Open. 2017; 5(2): e1228. doi: 10.1097/GOX.0000000000001228
13. Bhatti A, Adeshola A, Ismael T, et al. Lower Leg Flaps Comparison Between Free Versus Local Flaps. The Internet Journal of Plastic Surgery. 2006; 3(2): 1-8.
14. Bhullar DS, Karuppiah SV, Aljawadi A, et al. Local flaps vs. free flaps for complex lower limb fractures: Effect of flap choice on patient-reported outcomes. J Orthop. 2019; 17: 91–6. doi: 10.1016/j.jor.2019.11.016.

เผยแพร่แล้ว

2021-03-24