การรักษาผู้ป่วยปลายนิ้วขาดด้วยวิธีผ่าตัดปรับแต่งรูปร่างของเล็บร่วมกับการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อปลายนิ้ว

ผู้แต่ง

  • เทพรักษา เหมพรหมราช พ.บ., โรงพยาบาลสมุทรสาคร

คำสำคัญ:

ปลายนิ้วขาด, การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อปลายนิ้ว, การปรับแต่งเล็บ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยปลายนิ้วขาดด้วยวิธีผ่าตัดปรับแต่งรูปร่างเล็บร่วมกับการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อปลายนิ้วในครั้งเดียวกัน

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาโดยผู้ป่วยปลายนิ้วขาดจำนวน 30 นิ้ว ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมุทรสาครตั้งแต่ มกราคม 2561 - กุมภาพันธ์ 2562 โดยได้รับการผ่าตัดรักษาด้วยวิธี combined reconstruction บริเวณด้านหน้านิ้ว (volar side) รักษาโดยย้ายเนื้อเยื่อส่วนอื่นมาปิดแผล (local flap) ส่วนบริเวณด้านหลัง (dorsal side) ผ่าตัดโดยการปรับพื้นที่บริเวณฐานเล็บให้มากขึ้นด้วยการผ่าตัดบริเวณขอบของฐานเล็บแล้วยกส่วนผิวหนังที่ปกคลุมบริเวณฐานเล็บ (eponychium) ขึ้นแล้วม้วนพับเข้ามา (eponychial folding) ทำให้พื้นที่ของเล็บมีมากขึ้น เก็บข้อมูลความยาวของเล็บก่อนและหลังการผ่าตัดรักษา ลักษณะรูปร่างของเล็บ การใช้งานของนิ้วที่บาดเจ็บเทียบกับข้างปกติ โดยใช้ค่าสถิติ paired t test เป็นตัววัดค่าความแตกต่างที่ α<.05 เป็นค่านัยสำคัญทางสถิติ

ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 25 ราย (30 นิ้ว) มี 5 ราย บาดเจ็บ 2 นิ้ว อายุเฉลี่ย 31 ปี (18-51ปี) ระยะเวลาตั้งแต่บาดเจ็บถึงการผ่าตัดรักษาเฉลี่ย 6 ชั่วโมง (3-24 ชั่วโมง) ไม่มีการสูญเสียเนื้อเยื่อที่ย้ายมาปลูกถ่ายและเนื้อเยื่อบริเวณฐานเล็บ ความยาวของเล็บเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5.78 มม. (4-7 มม.) พื้นที่เล็บเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 60 (ร้อยละ 35-150) พิสัยการเคลื่อนไหวข้อปลายนิ้วที่บาดเจ็บ (range of motion distal interphalangeal joint) และแรงกดบริเวณปลายนิ้ว  (tip pinch force) ไม่ต่างกับข้างปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยทุกรายพอใจกับรูปร่างนิ้วและการใช้งานหลังการผ่าตัดรักษา  มีผู้ป่วย 1 ราย ที่ปลายเล็บงุ้ม (hook nail)

สรุป: การรักษาผู้ป่วยปลายนิ้วขาดให้ได้ผลดีควรผ่าตัดรักษาทั้งด้านหน้า (volar pulp flap coverage) และด้านหลัง (nail reconstruction) เพื่อให้ได้รับผลการรักษาที่ดีนิ้วมีรูปร่างสวยงามใกล้เคียงปกติ การผ่าตัดปรับแต่งรูปร่างเล็บด้วยวิธีม้วนพับผิวหนังบริเวณโคนนิ้ว (eponychial folding) เป็นการผ่าตัดที่สามารถทำร่วมกับการผ่าตัดปลูกถ่ายเนื้อเยื่อมาปิดบาดแผลได้เป็นอย่างดี

References

1. Sorock GS, Lombardi DA, Hauser RB, et al. Acute traumatic occupational hand injuries: type, location, and severity. J Occup Environ Med. 2002; 44(4): 345-51. DOI: 10.1097/00043764-200204000-00015
2. Peterson SL, Peterson EL, Wheatley MJ. Management of Fingertip Amputations. J Hand Surg Am. 2014; 39(10): 2093-101. doi: 10.1016/j.jhsa.2014.04.025.
3. Venkatramani H, Sapapathy SR. Fingertip replantation: technical considerations and outcome analysis of 24 consecutive fingertip replantations. Indian J Plast Surg. 2011; 44(2): 237-45. doi: 10.4103/0970-0358.85345
4. Panattoni JB, De Ona IR, Ahmed MM. Reconstruction of Fingertip Injuries: Surgical Tips and Avoiding Complications. J Hand Surg Am. 2015: 40(5): 1016–24. doi: 10.1016/j.jhsa.2015.02.010.
5. Chen SY, Wang CH, Fu JP, et al. Composite grafting for traumatic fingertip amputation in adults: technique reinforcement and experience in 31 digits. J Trauma. 2011; 70(1): 148-53. doi: 10.1097/TA.0b013e3181cc8553.
6. Atasoy E, Ioakimidis E, Kasdan ML, et al. Reconstruction of the amputated finger tip with a triangular volar flap. A new surgical procedure. J Bone Joint Surg. 1970; 52A: 921–6.
7. Nishikawa H, Smith PJ. The recovery of sensation and function after cross-finger flaps for fingertip injury. J Hand Surg. 1992; 17B: 102–7.
8. Melone CP, Beasley RW, Carstens JH. The thenar flap an analysis of its use in 150 cases. J Hand Surg. 1982; 7: 291–7. doi: 10.1016/s0363-5023(82)80182-2.
9. Tsai TM, Yuen JC. A neurovascular island flap for volar-oblique fingertip amputations. Analysis of long-term results. J Hand Surg. 1996; 21B: 94 –8. doi: 10.1016/s0266-7681(96)80020-9.
10. Bakhach J. Eponychial flap. Ann Chir Plast Esthet. 1998; 43(3): 259-63
11. Kang DH, Nam HJ, Cheon HJ, et al. Immediate Nail Lengthening with the Eponychial Folding Procedure in Acute Finger Tip Injury. J Korean Soc Surg Hand. 2017; 22(1): 27-33. DOI: https://doi.org/10.12790/jkssh.2017.22.1.27
12. Allen MJ. Conservative management of finger tip injuries in adults. Hand. 1980; 12(3): 257e265.
13. Xing S, Shen Z, Jia W, et al. Aesthetic and functional re¬sults from nailfold recession following fingertip amputa¬tions. J Hand Surg Am. 2015; 40: 1-7. DOI: 10.1016/j.jhsa.2014.09.010
14. Zachary SV, Peimer CA. Salvaging the “unsalvageable” digit. Hand Clin. 1997; 13(2): 239-49.
15. Pandya AN, Giele HP. Prevention of parrot beak deformity in fingertip injuries. J Hand Surg. 2001; 6(2): 163-6. doi: 10.1142/s0218810401000631.

เผยแพร่แล้ว

2021-03-24