ความสัมพันธ์ระหว่างผลเซลล์วิทยานรีเวชจากการตรวจด้วยวิธีแป๊ปสเมียร์แบบดั้งเดิม และผลจุลพยาธิวิทยา ณ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

ผู้แต่ง

  • สุพัชร์ กอกิตรัตนกุล พ.บ., ส.ม. โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

คำสำคัญ:

แป๊ปสเมียร์, จุลพยาธิวิทยา, ปากมดลูก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลเซลล์วิทยานรีเวชจากการตรวจด้วยวิธีแป๊ปสเมียร์แบบดั้งเดิมและผลจุลพยาธิวิทยา รวมถึงศึกษาความไวและความจำเพาะของการตรวจเซลล์วิทยานรีเวชด้วยวิธีแป๊ปสเมียร์แบบดั้งเดิมในการคัดกรองความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุและมะเร็งปากมดลูก

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ย้อนหลังจากเวชระเบียน โดยทบทวนผลเซลล์วิทยานรีเวชจากการตรวจแป๊ปสเมียร์แบบดั้งเดิมของผู้ที่เข้ารับการตรวจ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 จากนั้นติดตามผลทางจุลพยาธิวิทยาของข้อมูลดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง 256 ราย ผลเซลล์วิทยานรีเวชจากการตรวจด้วยวิธีแป๊ปสเมียร์แบบดั้งเดิมมีความสัมพันธ์กับผลจุลพยาธิวิทยา (c2 = 100.0,ค่า p<.001) และมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (Cramer’s V = 0.625) ความไวและความจำเพาะของการตรวจเซลล์วิทยานรีเวชด้วยวิธีแป๊ปสเมียร์แบบดั้งเดิมในการคัดกรองความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุและมะเร็งปากมดลูก เท่ากับร้อยละ 98.2 และ 71.0 ตามลำดับ

สรุป: การตรวจเซลล์วิทยานรีเวชด้วยวิธีแป๊ปสเมียร์แบบดั้งเดิม สามารถนำมาใช้ในการคัดกรองความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุและมะเร็งปากมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

1. International Agency for Research on Cancer. Globocan 2018 Thailand. The Global cancer observatory [internet]. 2018 [cite 2020 May 9]. Available from: https://gco.iarc.fr/today/data/factsheets/populations/764-thailand-fact-sheets.pdf.
2. สุรพันธุ์ คุณอมรพงศ์, สุมาลี ศิริอังกุล. พยาธิวิทยาของปากมดลูก. เชียงใหม่: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2561.
3. ปิยวัฒน์ เลาวหุตานนท์, อาคม ชัยวีระวัฒนะ, วีรวุฒิ อิ่มสำราญ, บรรณาธิการ. แนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก. กรุงเทพฯ: โฆสิตการพิมพ์; 2561.
4. กัลยา วานิชย์บัญชา, ฐิตา วานิชย์บัญชา. การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 31. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา; 2561.
5. ดรุณี ปัญจรัตนากร. สถิติที่ใช้ในการวิจัย [อินเทอร์เน็ต]. (ม.ป.ท.). [เข้าถึงเมื่อ 7 ก.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.darunee.com/brm/download/3-formula-new.pdf.
6. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. นิยามตัวชี้วัด Service plan สาขาโรคมะเร็ง ปี 2561-2565 [อินเทอร์เน็ต]. (ม.ป.ท.). [เข้าถึงเมื่อ 7 ก.ค. 2563].เข้าถึงได้จาก:
http://www.nci.go.th/th/New_web/index.html.
7. Sosic GM, Babic G, Dimitrijevic A, et al. Correlation between cervical cytology and histopathological cervical biopsy findings according to the Bethesda system. Ser J Exp Clin Res. 2014;15(4):205-16. Doi: 10.2478/SJECR-2014-0026
8. Atla BL, Uma P, Shamili M, et al. Cytological patterns of cervical Pap smears with histopathological correlation. IJRMS. 2015;8(2015): 1911-6. doi: http://dx.doi.org/10.18203/2320-6012.ijrms20150300
9. Joshi C, Kujur P, Thakur N. Correlation of Pap smear and colposcopy in relation to
histopathological findings in detection of premalignant lesions of cervix in a tertiary care
centre. International Journal of Scientific Study 2015; 3(8): 55-60. doi: 10.17354/ijss/2015/508
10. Patil PR, Jibhkate SN. Cytohistopathological correlation of Papanicolaou smears: a
hospital based study. IJRCOG. 2016; 5(6): 1695-9. Doi: http://dx.doi.org/10.18203/2320-1770.ijrcog20161424
11. Nayar R, Wlibur DC. The Bethesda system for reporting cervical cytology. 3rded. Switzerland: Springer International Publishing; 2015.

เผยแพร่แล้ว

2021-03-24