รูปแบบการดำเนินงานตามมาตรการในยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 – 2564 ของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอในจังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • สำราญ เจริญผล ส.บ., สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบการดำเนินงาน, ยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข, มาตรการและกลวิธีดำเนินงาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาการรับรู้การดำเนินงานตามมาตรการ ศึกษาความต้องการพัฒนา ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการพัฒนา และเพื่อเสนอรูปแบบการดำเนินงานตามมาตรการในยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 – 2564  

วิธีการศึกษา: โดยใช้แบบสอบถามสำหรับผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารแผนยุทธศาสตร์ของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 278 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับผู้อำนวยการโรงพยาบาล จำนวน 8 คน และสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 8 คน ศึกษาระหว่างวันที่ 15 – 30 พฤศจิกายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบคะแนนเฉลี่ยโดยใช้      Paired – samples test วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามโดยใช้การทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม   โดยใช้สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนำเสนอรูปแบบการดำเนินงานตามมาตรการในยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 – 2564 โดยใช้แนวทางของ Steiner และ Keeves

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับรู้การดำเนินงานตามมาตรการรวมทุกด้านในระดับปานกลางร้อยละ 66.9 มีความต้องการพัฒนาในระดับมากร้อยละ 69.5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรการในยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 – 2564 ประกอบด้วย 1) การได้รับแต่งตั้งเป็นคณะทำงานในระดับอำเภอ 2) การเข้าร่วมในกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 3) การรับรู้การปฏิบัติตามค่านิยม MOPH 4) การรับรู้การบริหารเชิงกลยุทธ์ และ 5) การรับรู้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ปัจจัยทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายความต้องการพัฒนาได้ร้อยละ 63.2  (R2 = .632)

สรุป: ผู้วิจัยได้เสนอรูปแบบการดำเนินงานเพื่อบรรลุตามมาตรการในยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 – 2564 โดยการปรับเปลี่ยนกลวิธีการดำเนินงานที่สำคัญคือ 1) การดูแลสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัย 2) การพัฒนาระบบบริการตามแผนพัฒนาบริการสุขภาพ (Service Plan) ที่ครอบคลุมทุกระบบในการให้บริการทุกพื้นที่ 3) การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนควบคู่กับการส่งเสริม และสนับสนุนการผลิต การพัฒนา และธำรงรักษากำลังคนด้านสุขภาพ และ 4) การพัฒนาระบบธรรมาภิบาลและคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังสุขภาพ

References

1. กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 – 2564. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์; 2559.
2. ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี; 2550.
3. วิเชียร เกตุสิงห์. หลักการสร้างและวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: เรือนอักษร; 2530.
4. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ SOCIAL SCIENCES RESEARCH METHODOLOGY. กรุงเทพฯ: เจริญผล; 2540.
5. Steiner E. Methodology of Theory Building. Sidney: Edocology Research Associates; 1988.
6. Keeves JP. Organizational Change, Leadership and Learning : culture as Cognitive Process. Oxford, UK: Pergamon Press; 1988.
7. ณัฐศักดิ์ จันทร์ผล. การพัฒนารูปแบบการบริหารงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่เน้นการกระจายอำนาจ [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม; 2555.
8. ชยา เครื่องทิพย์, นิพนธ์ เงินคงพันธ์, ไชยพัทธ์ ภูริชัยวรนันท์, และคณะ. การพัฒนารูปแบบการบริหารงานสาธารณสุขในอำเภอที่สนับสนุนระบบสุขภาพยั่งยืน เขตสุขภาพที่ 5. 2560.
9. สันติ ทวยมีฤทธิ์. การพัฒนากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: ม.ป.ท.; 2563.
10. กระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจําปีงบประมาณ 2563. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์; 2562.
11. สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์, นิชนันท์ สุวรรณกูฏ, ยมนา ชนะนิล, และคณะ. การประเมินผลการดำเนินการของเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ กรณีอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2559; 7(2): 105-30.
12. ธานี ขามชัย, สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์, อนุรัตน์ อนันทนาธร. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลรัฐเพื่อความมั่นคงทางสุขภาพของประชาชน: ศึกษากรณีเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดชลบุรี. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 2562; 11(2): 163-89.
13. นครชาติ เผื่อนปฐม, ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2555.
14. ปิยสกล สกลสัตยาทร. การปฏิรูประบบสาธารณสุข (MOPH 4.0) กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2564]; เข้าถึงได้จาก :http://region6.cbo.moph.go.th/r6/download_file.php?id=23

เผยแพร่แล้ว

2021-03-24