การใช้ผ้าห่มฉุกเฉินเพื่อช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะหนาวสั่นหลังการผ่าตัด
คำสำคัญ:
ผ้าห่มฉุกเฉิน, อุบัติการณ์, ภาวะหนาวสั่นหลังการผ่าตัดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ภาวะหนาวสั่นในผู้ป่วยหลังได้รับการระงับความรู้สึกเป็นภาวะที่พบได้บ่อยและสัมพันธ์กับการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำ ทำให้ร่างกายต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น อาจทำให้ภาวะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และเพิ่มอัตราการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ซึ่งทางแผนกวิสัญญีจะมีการบริการตามมาตรฐานความปลอดภัยในการให้ความอบอุ่นแก่ผู้ป่วยทั้งในระหว่างทำผ่าตัดและหลังทำผ่าตัดเสร็จสิ้นเมื่อมาดูอาการต่อเนื่องในห้องพักฟื้น เช่น การใช้เครื่องเป่าลมอุ่น การใช้น้ำเกลืออุ่น การใช้ผ้าห่มอุ่น รวมทั้งการให้ยารักษา และจากการศึกษาพบว่าการใช้ผ้าห่มฉุกเฉินสามารถช่วยลดภาวะหนาวสั่นในผู้ป่วยได้ แต่ในประเทศไทยยังไม่พบการศึกษาเรื่องนี้อย่างชัดเจนแพร่หลาย ทางผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาผลของการใช้ผ้าห่มฉุกเฉินเพื่อช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะหนาวสั่นหลังการผ่าตัดในห้องพักฟื้น ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) โดยเก็บข้อมูลไปข้างหน้าจากเวชระเบียน โดยคัดเลือกผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดและได้รับการระงับความรู้สึกโดยการดมยาสลบหรือการให้การระงับความรู้สึกทางไขสันหลังตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2563 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2563 จำนวนรวม 342 ราย ทำการสุ่มโดยคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม 171 ราย และกลุ่มทดลอง 171 รายโดยใช้ผ้าห่มฉุกเฉินที่ห้องพักฟื้นหลังเสร็จผ่าตัด โดยทั้งสองกลุ่มจะได้รับการดูแลตามมาตรฐานได้แก่ การใช้เครื่องเป่าลมอุ่น น้ำเกลืออุ่น และผ้าห่มอุ่น เก็บข้อมูลพื้นฐานได้แก่ เพศ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ASA physical status ข้อมูลด้านการผ่าตัดได้แก่ ระยะเวลาการผ่าตัด การระงับความรู้สึก ปริมาณเลือดที่สูญเสีย ปริมาณสารน้ำที่ได้รับ วัดอุณหภูมิกายทั้งก่อนและหลังผ่าตัด นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน independence t test และ chi-square test โดยประมาณค่าขอบเขตความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95% confidence interval; 95% CI)
ผลการศึกษา: เกิดภาวะหนาวสั่นในผู้ป่วยทั้งหมด 15 ราย จากกลุ่มทดลอง 3 ราย และกลุ่มควบคุม 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.7 และ 7.0 ตามลำดับ น้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.017) โดยที่กลุ่มที่ใช้ผ้าห่มฉุกเฉินมีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายสูงกว่ากลุ่มที่ใช้วิธีมาตรฐาน คือ 36.94 + 0.26 องศาเซลเซียส และ 36.87 + 0.47 องศาเซลเซียส ตามลำดับ สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.008) ส่วนปัจจัยอื่นที่ศึกษาไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญได้แก่ อายุ เพศ ดัชนีมวลกาย ASA physical status ระยะเวลาการผ่าตัด การเสียเลือด และปริมาณสารน้ำที่ได้รับ
สรุป: การใช้ผ้าห่มฉุกเฉินร่วมกับการให้ความอบอุ่นแบบมาตรฐานในช่วงหลังการระงับความรู้สึกได้ผลดีกว่าวิธีมาตรฐานในการลดภาวะหนาวสั่น
References
2. Buggy D, Hughes N. Pre-emptive use of space blanket reduced shivering after general anesthesia. Br J Anaesth. 1994; 72(4): 393-6. Doi: 10.1093/bja/72.4.393.
3. Young VL, Watson ME. Prevention of Perioperative Hypothermia in Plastic Surgery. Aesthet Surg J. 2006; 26(5): 551-71. Doi: 10.1016/j.asj.2006.08.009.
4. Deacock S, Holdcroft A. Heat retention using passive systems during anaesthesia: comparison of two plastic wraps, one with reflective properties. BJA. 1997; 79(6): 766-9.
5. Fadzlina MS, Nazaruddin HM, Hardy ZR. Passive Warming using a Heat-Band versus a Resistive Heating Blanket for the Prevention of Inadvertent Perioperative Hypothermia during Laparotomy for Gynaecological Surgery. Malays J Med Sci. 2016; 23(2): 28–37.
6. Eberhart LH, Doderlein F, Eisenhardt G, et al. Independent risk factors for postoperative shivering. Anesth Analg. 2005; 101(6): 1849-57. doi: 10.1213/01.ANE.0000184128.41795.FE.
7. Buggy DJ, Crossley AW. Thermoregulation, mild perioperative hypothermia and postanaesthetic shivering. Br J Anaesth. 2000; 84(5): 615-28. doi: 10.1093/bja/84.5.615.
8. Plattner O, Ikeda T, Sessler DI, et al. Postanesthetic Vasoconstriction Slows Peripheral-to-Core Transfer of Cutaneous Heat, Thereby Isolating the Core Thermal Compartment. Anesth Analg. 1997; 85(4): 899-906. doi: 10.1097/00000539-199710000-00034.
9. Deepom J, Lounpirun S, Hamtaisong K. Associated factors of Hypothermia during General Anesthesia. Nursing Health and Education Journal. 2019; 2(3): 1-11.
10. Pualek K. Factors Affecting to Hypothermia and Shivering for Developing Warm-up Programs in Surgery Patients Undergone Spinal Block. Udonthani Hospital Medical Journal. 2017; 25(3): 294-305.
11. Hindsholm KB, Bredahl C, Herlevsen P. Reflective blanket used for reduction of heat loss during regional anaesthesia. Br J Anaesth. 1992; 68(5): 531-3. doi: 10.1093/bja/68.5.531.
12. Avellanasa ML, Ricartb A, Botellac J, et al. Management of severe accidental hypothermia. Med Intensiva. 2012; 36(3): 200-12.
13. Kurz A, Sessler DI, Lenhardt R. Perioperative normothermia to reduce the incidence of surgical-wound infection and shorten hospitalization. Study of Wound Infection and Temperature Group. N Engl J Med. 1996; 334(109): 1209-15. doi: 10.1056/NEJM199605093341901.
14. Roundtable summary: perioperative temperature management. Anesthesiology News [internet]. 2005 October [cited 2017 January]. Available from: URL: http://www. anesthesiologynews.com.
15. Dhar P. Managing perioperative hypothermia. J Anesth. 2000; 14(2): 91-7. doi: 10.1007/s005400050073.
16. Frank SM, Fleisher LA, Breslow MJ, et al. Perioperative maintenance of normothermia reduces the incidence of morbid cardiac events. A randomized clinical trial. JAMA. 1997; 277(14): 1127-34.
17. Leslie K, Sessler DI, Bjorksten AR, et al. Mild hypothermia alters propofol pharmacokinetics and increases the duration of action of atracurium. Anesth Analg. 1995; 80(5): 1007-14. doi: 10.1097/00000539-199505000-00027.
18. Bissonnette B, Sessler DI. Mild hypothermia does not impair postanesthetic recovery in infants and children. Anesth Analg. 1993; 76(1): 168-72. doi: 10.1213/00000539-199301000-00028.
19. Staab DB, Sorensen VJ, Fath JJ, et al. Coagulation defects resulting from ambient temperature-induced hypothermia. J Trauma. 1994; 36(5): 634-8. doi: 10.1097/00005373-199405000-00006.
20. Schmied H, Kurz A, Sessler DI, et al. Mild hypothermia increases blood loss and transfusion requirements during total hip arthroplasty. Lancet. 1996; 347(8997): 289-92. doi: 10.1016/s0140-6736(96)90466-3.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์