การจัดระบบยาจิตเวชให้ครอบคลุมการบริการในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • เสาวณีย์ จันทร์ฉาย พย.ม., โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

ยาจิตเวช, การจัดการ, โรงพยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: พัฒนาและศึกษาผลลัพธ์การจัดระบบยาจิตเวชให้ครอบคลุมการบริการในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (research and development) มีกระบวนการ ดังนี้ 

  1. พัฒนาการจัดระบบยาจิตเวชให้ครอบคลุมการบริการในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม

แบ่งเป็น ระยะที่หนึ่ง ศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลนครปฐม จากเวชระเบียนของผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 300 ราย ที่มารับบริการในช่วง เมษายน - มิถุนายน 2557  ระยะที่สอง การพัฒนาการจัดระบบยาจิตเวชให้ครอบคลุมการบริการในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม ประกอบด้วยขั้นตอน ได้แก่ 1) การทบทวนนโยบายด้านสุขภาพจิต และระบบการให้บริการสุขภาพจิตในพื้นที่ โดยการศึกษายุทธศาสตร์ของการให้บริการสุขภาพจิตระดับประเทศและจังหวัด และใช้การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างต่อ ผู้บริหาร จิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช เภสัชกรในจังหวัดนครปฐม รวม 16 คน  2) ออกแบบแนวทางและแนวปฏิบัติของโครงการการจัดระบบยาจิตเวชฯ โดยใช้การสัมมนากลุ่ม (focus group) ในกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ จิตแพทย์ นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลจิตเวช และเภสัชกร ในจังหวัด จำนวน 14 คน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการดูแลผู้ป่วยให้ได้มาตรฐานและปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง การประสานงาน, การสื่อสาร, และระบบข้อมูล ที่มีประสิทธิภาพ  3) แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อ กำกับการดำเนินงาน พัฒนา และประเมินผล

  1. ผลลัพธ์ของจัดระบบยาจิตเวชให้ครอบคลุมการบริการ ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม โดยศึกษาข้อมูลผู้ป่วย ความต่อเนื่องของการรักษา อัตราการกำเริบ และอัตราการเกิดผลแทรกซ้อนจากยา

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเข้าโครงการตั้งแต่ กรกฎาคม 2557- กันยายน 2563 ทั้งสิ้น 421 ราย คิดเป็น ร้อยละ 5.3 (3.0-8.8) ของผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลนครปฐม เป็นเพศชาย ร้อยละ 51.3 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 41-60 ปี ร้อยละ 42.3  โรคที่พบมากที่สุดเป็นโรคจิตเภท ร้อยละ 45.4  รองลงมาคือ โรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล พบเท่ากัน ร้อยละ 14.5 ยาที่ผู้ป่วยใช้มากที่สุด คือ ยารักษาอาการโรคจิต ร้อยละ 45 และรองลงมาคือ ยารักษาอาการวิตกกังวล (เบนโซไดอะเซปีน) คิดเป็นร้อยละ 22 ในด้านผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วย พบว่ามีผู้ป่วยที่ต้องออกจากโครงการ 17 ราย (ร้อยละ 4) แบ่งเป็น อาการโรคจิตกำเริบ 4 ราย (ร้อยละ 1) และผลแทรกซ้อนจากยา 8 ราย (ร้อยละ 1.9) และผู้ป่วยที่ไม่สมัครใจรักษา 3 ราย (ร้อยละ 0.7) มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคทางกาย  2 ราย

สรุป: การพัฒนาการจัดระบบยาจิตเวชให้ครอบคลุมการบริการในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม ทำให้ผู้ป่วยจิตเวชได้รับยาใกล้บ้านที่โรงพยาบาลชุมชน ภายใต้การประสานของเครือข่ายสุขภาพ สามารถให้การดูแลต่อเนื่องที่โรงพยาบาลชุมชน โดยมีอาการกำเริบของโรคจิตและเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาจิตเวชน้อยมาก

References

1. Kohn R, Saxena S, Levar I, et al. The treatment gap in mental health care. Bull world Health Organ. 2004; 82(11): 858-66.
2. WHO Health Organization. mhGAP : Mental Health Gap Action Programme: scaling up care for mental, neurological, and substance use disorder. WHO: Geneva; 2008. 11-2.
3. Kittirattanapaiboon P, Kongsuk T, Penjuntr W, et al. Epidemiology of psychiatric in Thailand: a national study 2008. J Ment health Thai. 2013; 21(1): 1-14.
4. สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ. ระบาดวิทยาปัญหาสุขจิตและจิตเวช. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ; 2556.
5. มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ, สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2556. นนทบุรี: เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์; 2558.
6. Kongsuk T, Supanya S, Kenbubpha K, et al. Service for depression and suicide in Thailand. WHO South-East Asia J Public Health. 2017; 6(1): 34-8. doi: 10.4103/2224-3151.206162.
7. World Health Organizatiion. Prevention suicide: a global imperative. Lurembourg: World Health Organization 2014; 2014.
8. Department of mental health. Suicide rates: Thailand during 1997-2017 [cited 2020 Nov 20]. Available from: https://www.dmh.go.th/report/suicide/english/age.asp.
9. Kongsuk T, Wanansewwok K, Thongtao J, et al. The development, validity and reliability of Psychotic Symptoms Rating Scale for Patients with Schizophrenia (Prasrimahabhodi Assessment Schizophrenia Scale: PASS8). J Med Assoc Thai. 2018; 101(1): S126-S34.
10. Leucht S, Kane JM, Kissling W, et al. Clinical implications of Brief Psychiatric Rating Scale scores. Br J Psychiatry. 2005; 187: 366-71. doi: 10.1192/bjp.187.4.366
11. Taylor M. Assessing the use and effectiveness of antipsychotic medication [MD thesis]. Glasgow (UK): University of Glasgow; 2013. Available from htttp://theses.gla.ac.uk./4247/
12. กลุ่มดิจิทัลสุขภาพ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการป่วย พ.ศ.2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 15 พฤศจิกายน ปี 2563]; เข้าถึงได้จาก: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/ill_2562_full_20200921.pdf
13. กรมสุขภาพจิต. รายงานผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวช ข้อมูลจากระบบศูนย์กลางการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชประเทศไทย ประจำปี 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 14 พฤศจิกายน ปี 2563; เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/report/datacenter/dmh/
14. กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; ม.ป.ป.: 256-62.
15. Suraaroonsamrit B, Panyayong B. The development of mental health and psychiatric service in health areas. J Ment health Thai. 2014; 22(3): 143-56.
16. Leelanuntakit T, Udomratn P, Kerdpongbunchote C. The result of PRELAPSE Program in Thailand: comparison one year before and after. J Psychiatr Assoc Thailand. 1999; 44 (1): 3-11.
17. สุดาพร สถิตยุทธการ. การกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง: สถานการณ์และแนวทางการป้องกัน วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2559; 28(3): 1-15.
18. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือวิทยากรการอบรมแนวทางการจัดการโรคซึมเศร้า สำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท; 2554.
19. Keller MB, Shapiro RW, Lavori PW, et al. Relapse in major depressive disorder. Arch Gen Psychiatry. 1982; 39(8): 911. doi: 10.1001/archpsyc.1982.04290080031005.
20. Gitlin MJ, Serndsen J, Heller TL, et al. Relapse and impairment in bipolar disorder, Am J Psychiatry. 1995; 152(11): 1635-40. doi: 10.1176/ajp.152.11.1635.

เผยแพร่แล้ว

2021-03-24