ประสิทธิภาพของแผ่นขี้ผึ้งปิดแผลเคลือบยาคลอร์เฮกซิดีนอะซีเตต ต่อการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในผู้ป่วยกระดูกปลายนิ้วมือหักแบบมีแผลเปิด เมื่อเทียบกับการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และกลุ่มควบคุม

ผู้แต่ง

  • วุฒิชัย โล่ห์สวัสดิ์กุล พ.บ., โรงพยาบาลบ้านโป่ง

คำสำคัญ:

กระดูกปลายนิ้วมือหัก, กระดูกหักแบบมีแผลเปิด, ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ, แผ่นขี้ผึ้งปิดแผล, อัตราการติดเชื้อ

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราการติดเชื้อของผู้ป่วยที่มีกระดูกปลายนิ้วมือหักแบบมีแผลเปิด ภายหลังการผ่าตัด ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ (antibiotic prophylaxis) , กลุ่มผู้ป่วยที่ใช้แผ่นขี้ผึ้งเคลือบยาคลอร์เฮกซิดีนอะซีเตต (paraffin tulle gras coated with chlorhexidine acetate) ปิดบาดแผล , กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว

          วิธีการศึกษา: โครงการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ randomized controlled trial 3 กลุ่ม วัดผลหลังการทดลอง โดยการคัดเลือกผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกปลายนิ้วมือหักแบบมีแผลเปิดที่มาห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลบ้านโป่ง ภายใน 6 ชั่วโมง หลังได้รับการบาดเจ็บ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 โดยการสุ่มตัวอย่าง เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด และได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด และใช้แผ่นขี้ผึ้งเคลือบยาคลอร์เฮกซิดีนอะซีเตต ปิดบาดแผล และกลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว และใช้ผ้าก๊อซปราศจากเชื้อปิดแผล ทำการเก็บข้อมูลทั่วไป ได้แก่ อายุ เพศ นิ้วมือ ลักษณะบาดแผลและความสกปรก ประเภทของการหักของกระดูกและข้อมูลของการบ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อของบาดแผลหรือไม่ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ chi-square test ข้อมูลของการติดเชื้อที่บาดแผลหรือไม่ จะใช้สถิติ Fisher exact test

          ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยกระดูกปลายนิ้วมือหักแบบมีแผลเปิด เข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมด 136 คน กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด และได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ มีจำนวน 63 คน กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด และใช้แผ่นขี้ผึ้งเคลือบยาคลอร์เฮกซิดีนอะซีเตต ปิดบาดแผล มีจำนวน 52 คน และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว มีจำนวน 21 คน ผู้เข้าร่วมวิจัย มีอายุตั้งแต่ 18 ถึง 82 ปี โดยเพศชายมีจำนวน 103 คน และเพศหญิง 33 คน มือข้างซ้ายเป็นข้างที่เกิดอุบัติเหตุมากกว่าข้างขวา คิดเป็นร้อยละ 57.4 และ ร้อยละ 42.6 ตามลำดับ และนิ้วกลาง เป็นนิ้วที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 27.9 โดยพบว่า ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ อายุ เพศ มือ และนิ้วที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่มีความแตกต่างกันทั้งสามกลุ่ม พบมีการติดเชื้อ ทั้งสิ้น 17 คน คิดเป็นร้อยละ 12.5 โดยมีเพียงหนึ่งคน ที่พบว่ามีภาวะติดเชื้อของกระดูก ซึ่งอยู่ในกลุ่มควบคุม ในกลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยที่ได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ พบว่ามีการติดเชื้อ 4 คน คิดเป็นร้อยละ 6.4 ในกลุ่มผู้เข้าร่วมงานวิจัยที่ใช้แผ่นขี้ผึ้งเคลือบยาคลอร์เฮกซิดีนอะซีเตต ปิดบาดแผล มีการติดเชื้อ 5 คน คิดเป็นร้อยละ 9.6 ส่วนผู้เข้าร่วมงานวิจัยที่ปิดบาดแผลด้วยผ้าก๊อซปราศจากเชื้อโรค มีการติดเชื้อถึง 8 คน คิดเป็นร้อยละ 38.1 เมื่อวิเคราะห์แยกเป็นสามคู่ พบว่า กลุ่มที่ได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และกลุ่มที่ใช้แผ่นขี้ผึ้งเคลือบยาคลอร์เฮกซิดีนอะซีเตต ปิดบาดแผล มีอัตราการติดเชื้อที่แตกต่างกับกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญ (p < .05) ส่วนกลุ่มที่ได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ กับกลุ่มที่ใช้แผ่นขี้ผึ้งเคลือบยาคลอร์เฮกซิดีนอะซีเตต ปิดบาดแผล มีอัตราการติดเชื้อที่ไม่แตกต่างกัน

          สรุป: การใช้แผ่นขี้ผึ้งเคลือบยาคลอร์เฮกซิดีนอะซีเตต ซึ่งไม่ใช่ยาปฏิชีวนะ แต่มีฤทธิ์ทั้งยับยั้งและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย มีประโยชน์ในการป้องกันการติดเชื้อในบาดแผลและกระดูก ของผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกปลายนิ้วมือหักแบบมีแผลเปิดได้

Author Biography

วุฒิชัย โล่ห์สวัสดิ์กุล พ.บ.,, โรงพยาบาลบ้านโป่ง

วุฒิชัย โล่ห์สวัสดิ์กุล  พ.บ., 

วว. ออร์โธปิดิกส์   

กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ 

โรงพยาบาลบ้านโป่ง 

จังหวัดราชบุรี 

References

1. Allen MJ. Conservative management of finger tip injuries in adults. The Hand. 1980;12(3):257–65. Doi: 10.1016/s0072-968x(80)80049–0
2. Sloan JP, Dove AF, Maheson M, et al. Antibiotics in open fractures of the distal phalanx? J Hand Surg Br. 1987;12(1):123–4. doi: 10.1016/0266-7681(87)90076–3.
3. Suprock MD, Hood JM, Lubahn JD. Role of antibiotics in open fractures of the finger. J Hand Surg Br. 1990;15(5):761–4. doi: 10.1016/0363-5023(90)90152–h.
4. Stevenson J, McNaughton G, Riley J. The use of prophylactic flucloxacillin in treatment of open fractures of the distal phalanx within an accident and emergency department: a double-blind randomized placebo-controlled trial. J Hand Surg Br. 2003;28(5):388–94. doi: 10.1016/s0266-7681(03)00175-x.
5. Warrender WJ, Lucasti CJ, Chapman TR, et al. Antibiotic Management and Operative Debridement in Open Fractures of the Hand and Upper Extremity: A Systematic Review. Hand Clin. 2018;34(1):9–16. doi: 10.1016/j.hcl.2017.09.001.
6. Smith Nephew. Bactigras [internet]. 2018 [cited 7 Jan2018]; Available from: http://www.smith–nephew.com/canada/products/advanced–wound–management/bactigras/
7. พัชราพรรณ กิจพันธ์, จันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์. วิกฤตเชื้อดื้อยาสู่การใช้ยาอย่างสมเหตุผล. วารสารอาหารและยา. 2561:11–4.
8. Ryan SP , Pugliano V . Controversies in Initial Management of Open Fractures. Scand J Surg. 2014; 103(2):132–7. doi: 10.1177/1457496913519773
9. Gosselin RA , Roberts I, Gillespie WJ. Antibiotics for preventing infection in open limb fractures. Cochrane Database Syst Rev. 2004;(1):CD003764. doi: 10.1002/14651858.CD003764.pub2.
10. Schatzker J, Brånemark PI. Intravital observations on the microvascular anatomy and microcirculation of the tendon. Acta Orthop Scand Suppl. 1969;126:1–23. doi: 10.3109/ort.1969.40.suppl–126.01.

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27