ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองในผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดดำในสมองอุดตันในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน

ผู้แต่ง

  • ชุติมณฑน์ ลีตระกูลวรรณา พ.บ., โรงพยาบาลกระทุ่มแบน

คำสำคัญ:

หลอดเลือดดำในสมองอุดตัน, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์, ปวดศีรษะ, ชักเกร็ง, เลือดออกในสมอง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะภาพทางรังสีวิทยาจากการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ในผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดดำในสมองอุดตันในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน

วิธีการศึกษา: ศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน ที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน

ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็นหลอดเลือดดำในสมองอุดตันจากภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองจำนวน 15 ราย เป็นเพศหญิง 12 ราย (ร้อยละ 80) อายุเฉลี่ย 50 ปี (19–85 ปี) อาการและอาการแสดงที่มาพบแพทย์มากที่สุด คือ ปวดศีรษะ 7 ราย (ร้อยละ 46.7) รองลงมาคือ ชักเกร็ง 4 ราย (ร้อยละ 26.7) และซึมลง 4 ราย (ร้อยละ 26.7) ในภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ไม่มีการฉีดสารทึบรังสี พบลักษณะหลอดเลือดดำในสมองที่อุดตันมีสีขาวขึ้นกว่าปกติ (hyperdense sinus or cortical vein) 9 ราย (ร้อยละ 60) และพบการเปลี่ยนแปลงของเนื้อสมองจำนวน 6 ราย (ร้อยละ 40) แบ่งเป็น cortical hemorrhage 3 ราย, cortical edema 2 ราย, bilateral thalamic edema 1 ราย ทั้งนี้มีจำนวน 6 ราย (ร้อยละ 40) ที่ตรวจไม่พบความผิดปกติใดในภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เมื่อทำตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดดำ จะเห็นลักษณะของลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำสมอง (filling defect) จำนวน 14 ราย (ร้อยละ 93.3) โดยมี 1 ราย ตรวจพบลิ่มเลือดในภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ตรวจติดตามซ้ำ ทั้งนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีลิ่มเลือดอุดตันหลายตำแหน่ง โดยตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุดคือ superior sagittal sinus 10 ราย (ร้อยละ 66.7) และ transverse sinus 8 ราย (ร้อยละ 53.3) โดยทั้งหมดพบที่ด้านขวา

สรุป: ภาวะหลอดเลือดดำในสมองอุดตันพบได้ไม่บ่อย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อาการและอาการแสดงทางระบบประสาทไม่เฉพาะเจาะจง การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โดยไม่ฉีดสารทึบรังสี อาจตรวจไม่พบความผิดปกติได้ เมื่อฉีดสารทึบรังสีสามารถเพิ่มความมั่นใจและความถูกต้องในการวินิจฉัยได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจ CT venography (CTV) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีลิ่มเลือดอุดตันหลายตำแหน่ง โดยตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุดคือ superior sagittal sinus

References

1. van Dam L, van Walderveen M, Kroft L, et al. Current imaging modalities for diagnosing cerebral vein thrombosis – A critical review. Thromb Res. 2020;189:132–9.
2. Dmytriw A, Song J, Yu E, et al. Cerebral venous thrombosis: state of the art diagnosis and management. Neuroradiology. 2018;60(7):669–85.
3. Coutinho J. Cerebral venous thrombosis. Journal of Thrombosis and Haemostasis. 2015;13:S238–S44.
4. Canedo-Antelo M, Baleato-González S, Mosqueira A, et al. Radiologic Clues to Cerebral Venous Thrombosis. RadioGraphics. 2019;39(6):1611–28.
5. Ferro J, Canhão P, Stam J, et al. Prognosis of Cerebral Vein and Dural Sinus Thrombosis. Stroke. 2004;35(3):664–70.
6. Linn J, Pfefferkorn T, Ivanicova K, et al. Noncontrast CT in Deep Cerebral Venous Thrombosis and Sinus Thrombosis: Comparison of its Diagnostic Value for Both Entities. AJNR Am J Neuroradiol. 2009;30(4):728–35.
7. Terazzi E, Mittino D, Ruda R, et al. Cerebral venous thrombosis: a retrospective multicentre study of 48 patients. Neurol Sci 2005;25(6):311–5.
8. Stam J. Thrombosis of the Cerebral Veins and Sinuses. N Engl J Med 2005;352(17):1791–8.
9. Osborn A, Salzman K, Jhaveri M. Diagnosis imaging brain. 3rd ed. Elsevier; 2016. 376–79.
10. Allroggen H. Cerebral venous sinus thrombosis. Postgrad Med J 2000;76(891):12–5.
11. Devasagayam S, Wyatt B, Leyden J, Kleinig T. Cerebral Venous Sinus Thrombosis Incidence Is Higher Than Previously Thought. Stroke. 2016;47(9):2180–2.
12. Fink J, McAuley D. Cerebral venous sinus thrombosis: a diagnostic challenge. Intern Med J 2001;31(7):384–90.
13. Teasdale E. Cerebral venous thrombosis: Making the most of imaging. J R Soc Med 2000;93(5):234–7.
14. Vijay R. The Cord Sign. Radiology. 2006;240(1):299–300.

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27