การศึกษาย้อนหลังเชิงติดตามผลการผ่าตัดที่ล่าช้าในผู้ป่วยกระดูกหักแบบบาดแผลเปิดในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และอัตราการติดเชื้อแทรกซ้อนทางออร์โธปิดิกส์
คำสำคัญ:
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, กระดูกหักแบบเปิด, อัตราการติดเชื้อ, ภาวะแทรกซ้อน, ระยะเวลารอผ่าตัดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลารอผ่าตัดและอัตราการติดเชื้อของผู้ป่วยกระดูกหักบาดแผลเปิด ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ ในโรงพยาบาลสมุทรสาคร ศึกษาปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด รายงานอุบัติการณ์และกลไกการบาดเจ็บเปรียบเทียบกับช่วงสถานการณ์ปกติ
วิธีการศึกษา: การศึกษาย้อนหลังเชิงติดตามผู้ป่วย 210 ราย ที่เข้ารับการรักษาภาวะกระดูกหักแบบเปิดระหว่าง 21 ธันวาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไปทางประชากร ตำแหน่งบาดเจ็บ กลไกการบาดเจ็บ ระดับความรุนแรง ผลคัดกรองการติดเชื้อไวรัสโคโรนาก่อนผ่าตัด ระยะเวลารอผ่าตัด ระยะเวลาผ่าตัด ระยะเวลาได้รับยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือด ระยะเวลานอนโรงพยาบาล และภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
ผลการศึกษา: อายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง คือ 35.7+14.1 ปี ระยะเวลารอผ่าตัดเฉลี่ย 13.2+7.9 ชั่วโมง ระยะเวลาผ่าตัดเฉลี่ย 26.5+21.3 นาที การติดเชื้อหลังผ่าตัดพบ 16 ราย (ร้อยละ 7.6) อัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันในพ.ศ. 2562 และ 2563 แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (n=11, ร้อยละ 5.5 และ n=15, ร้อยละ 6.5; p=0.693) ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด 34 ราย (ร้อยละ 16.2) ประกอบด้วย การติดเชื้อ 16 ราย (ร้อยละ 7.6) การผ่าตัดซ้ำ 8 ราย (ร้อยละ 3.8) การตัดอวัยวะส่วนปลาย 4 ราย (ร้อยละ 1.9) การผ่าตัดปลูกถายเนื้อเยื่อ 5 ราย (ร้อยละ 2.4) การกลับเขารักษาตัวในโรงพยาบาล 1 ราย (ร้อยละ 0.5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด คือ ความรุนแรงระดับสามของ Gustilo และ Anderson (OR 3.53; 95%CI, 1.23–10.12 และ OR 6.46; 95%CI, 2.88–14.49) ในขณะที่ระยะเวลารอผ่าตัดมากกว่า 12 ชั่วโมง ไม่สัมพันธ์กับการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด (OR 1.70; 95%CI, 0.56–5.17 และ OR 1.90; 95%CI, 0.84–4.31)
สรุป: การผ่าตัดที่ล่าช้าในผู้ป่วยกระดูกหักแบบเปิดไม่ได้ ก่อให้เกิดอัตราการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด คือ ความรุนแรงระดับสามของ Gustilo และ Anderson
References
2.Kindsfater K, Jonassen EA. Osteomyelitis in grade II and III open tibia fractures with late debridement. J Orthop Trauma. 1995; 9(2): 121–7. doi: 10.1097/00005131-199504000-00006.
3.Harley BJ, Beaupre LA, Jones CA, et al. The effect of time to definitive treatment on the rate of nonunion and infection in open fractures. J Orthop Trauma. 2002; 16(7): 484–90. doi: 10.1097/00005131-200208000-00006.
4. Schenker ML, Yannascoli S, Baldwin KD, et al. Does timing to operative debridement affect infectious complications in open long-bone fractures? A systematic review. J Bone Joint Surg Am. 2012; 94(12): 1057–64. doi: 10.2106/JBJS.K.00582.
5.Fernandes Mde C, Peres LR, de Queiroz AC Jr, et al. Open fractures and the incidence of infection in the surgical debridement 6 hours after trauma. Acta Ortop Bras. 2015; 23(1): 38–42. doi: 10.1590/1413-78522015230100932
6. Kamat AS. Infection rates in open fractures of the tibia: is the 6-hour rule fact or fiction? Adv Orthop. 2011; 2011: 943495. doi: 10.4061/2011/943495
7. McLaren AC, Lundy DW. AAOS Systematic Literature Review: Summary on the Management of Surgical Site Infections. J Am Acad Orthop Surg. 2019; 27(16): e717–e20. doi: 10.5435/JAAOS-D-18-00653.
8. Berner JE, Chan JK, Gardiner MD, et al. Standards for treatment of open lower limb fractures maintained in spite of the COVID-19 pandemic: Results from an international, multi-centric, retrospective cohort study. J Plast Reconstr Aesthet Surg. 2020: S1748-6815(20)30728-2. doi: 10.1016/j.bjps.2020.12.052.
9.Wallace CN, Kontoghiorghe C, Kayani B, et al. The impact of COVID-19 on trauma and orthopaedic surgery in the United Kingdom. Bone Jt Open. 2020; 1(7): 420–3. doi: 10.1302/2633-1462.17.BJO-2020-0102
10.Gupta R, Singhal A, Kapoor A, et al. Effect of COVID-19 on surgical management of open fractures and infection rates: A tertiary care experience in Indian set-up. J Clin Orthop Trauma. 2021; 12(1): 16–21. doi: 10.1016/j.jcot.2020.10.050
11.Kumar Jain V, Lal H, Kumar Patralekh M, et al. Fracture management during COVID-19 pandemic: A systematic review. J Clin Orthop Trauma. 2020; 11(Suppl 4): S431–S41. doi: 10.1016/j.jcot.2020.06.035
12. Giorgi PD, Gallazzi E, Capitani P, et al. How we managed elective, urgent, and emergency orthopedic surgery during the COVID-19 pandemic: The Milan metropolitan area experience. Bone Jt Open. 2020; 1(5): 93-7.
13. Jerome JTJ, Mercier F, Mudgal CS, et al. Perspectives and Consensus among International Orthopaedic Surgeons during Initial and Mid-lockdown Phases of Coronavirus Disease. J Hand Microsurg. 2020; 12(3): 135–62. doi: 10.1055/s-0040-1713964.
14. Campbell E, Zahoor U, Payne A, et al. The COVID-19 Pandemic: The effect on open lower limb fractures in a London major trauma centre - a plastic surgery perspective. Injury. 2021; 52(3): 402–6. doi: 10.1016/j.injury.2020.11.047.
15. Ketonis C, Dwyer J, Ilyas AM. Timing of Debridement and Infection Rates in Open Fractures of the Hand: A Systematic Review. Hand (N Y). 2017; 12(2): 119–26. doi:10.1177/1558944716643294.
16. Khatod M, Botte MJ, Hoyt DB, Meyer RS, Smith JM, Akeson WH. Outcomes in open tibia fractures: relationship between delay in treatment and infection. J Trauma. 2003; 55(5): 949–54. doi: 10.1097/01.TA.0000092685.80435.63.
17. Tornetta P III, Della Rocca GJ, Morshed S, et al. Risk Factors Associated With Infection in Open Fractures of the Upper and Lower Extremities. J Am Acad Orthop Surg Glob Res Rev. 2020; 4(12): e20.00188. doi: 10.5435/JAAOSGlobal-D-20-00188.
18. Chang Y, Bhandari M, Zhu KL, et al. Antibiotic Prophylaxis in the Management of Open Fractures: A Systematic Survey of Current Practice and Recommendations. JBJS Rev. 2019; 7(2): e1. doi: 10.2106/JBJS.RVW.17.00197.
19. สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. รายงานประจำปี 2562 กองทุนเงินทดแทน. กรุงเทพฯ: 2563: 1–147
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์