อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมากในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
คำสำคัญ:
ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมาก, ภาวะเจ็บป่วย, การเสียชีวิตบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาอัตราการเสียชีวิต ภาวะเจ็บป่วย และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมากที่รับการรักษาในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
วิธีการศึกษา: ศึกษาเชิงวิเคราะห์ย้อนหลังจากเหตุไปหาผล เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมาก 155 ราย ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติ SPSS รุ่น 20 นำเสนอด้วยจำนวน (ร้อยละ) ค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อัตราส่วนแต้มต่อปรับแล้วช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และค่า p
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง 155 ราย น้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ย 1145.31 ± 263.55 กรัม เสียชีวิต 39 ราย (ร้อยละ 25.2) โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตคือ น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า1,000 กรัม (ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95: 3.94, 26.12; p < .001) คะแนนแอพการ์ที่ 5 นาที ≤ 5 (ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95: 1.38, 19.41; p = .02) และรับการส่งต่อจากโรงพยาบาลอื่น (ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95: 1.13, 8.97; p = .03) ภาวะเจ็บป่วยที่พบมากสุดคือกลุ่มอาการหายใจลำบาก128 ราย (ร้อยละ 82.6) ทารกรอดชีวิตโดยไม่มีภาวะแรกซ้อน 83 ราย (ร้อยละ 71.6) ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากสุดในกลุ่มที่รอดชีวิตคือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระดับปานกลางและรุนแรง 28 ราย (ร้อยละ 24.1)
สรุป: อัตราการเสียชีวิตของทารกเท่ากับร้อยละ 25.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิต ได้แก่ น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า1,000 กรัม คะแนนแอพการ์ที่ 5 นาที น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 และรับการส่งต่อจากโรงพยาบาลอื่น
References
2. Horbar JD, Carpenter JH, Badger GD, et al. Mortality and neonatal morbidity among infants 501 to 1500 grams from 2000 to 2009. Pediatrics 2012;129(6):1019–27. doi: 10.1542/peds.2011–3028.
3. โสภิดา ตันทวัฒน์. ผลการรักษาทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1500 กรัมในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี 2560;25(3):241–24.
4. ผการัตน์ แสงหล้า. อัตราการเสียชีวิตและการดำเนินโรคของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมาก. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2564;36(1):207–17.
5. เจียมรัตน์ ผลาสินธุ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรอดชีวิตและอัตราการรอดชีวิตของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า1500 กรัม ในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารกุมารเชศาสตร์ 2555;51(4):304–13.
6. Kusada S, Fujiyama M, Ushiyama A, et al. Neonatal Research Network, Japan trend in morbidity and mortality among very low birth weight infant from 2003-2008 in Japan. Pediatr Res 2012;72(5):531–8. doi: 10.1038/pr.2012.114.
7. ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยSPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. นนทบุรี: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์; 2552.
8. Roberts D, Dalzial S. Antenatal corticosteroids for accelerating fetal lung maturation for woman at risk of preterm birth. Cochrane Database Systematic Review. 2006;3(3): :CD004454. Doi10.1002/14651858. CD004454.pub3.
9. ดวงกมล เจริญเกษมวิทย์. อัตราการรอดชีวิตและปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมากในโรงพยาบาลนครนายก. วารสารกุมารเวชศาสตร 2008;3(1):87–96.
10. Forsbald K, Kallen K, Marsal K, Hellstrom-Westlas L. Apgar score predicted short-term outcome in infants born at 25 gestational weeks. Acta pediatr 2007;96:166–71.
11. Laptook AR, Salhab W, Bhaskar B. Admission temperature of low birth weight infants predictors and associated mortalities. Pediatrics 2007;119(3):e643–9. doi: 10.1542/peds.2006–0943.
12. Prasin C, Kanokpan R, Waricha J, et al. Outcome of very low birth weight Infant in Songklanagarind Hospital. J Med Assoc Thai 2010;93(2):191–8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์