อัตราการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกในโรงพยาบาลบางสะพานในรอบสิบปีที่ผ่านมา
คำสำคัญ:
อัตราการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก, การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก, เอชไอวี, การติดเชื้อเอชไอวีปริกำเนิด, ยาต้านไวรัสบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกและปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีจาก
แม่สู่ลูก
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังแบบ cohort study โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีที่มาคลอดที่โรงพยาบาลบางสะพาน และทารกแรกเกิดทุกราย ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 – กันยายน พ.ศ. 2563 โดยรวบรวมข้อมูลทั่วไปของมารดาและทารก การได้รับยาต้านไวรัส ระดับเม็ดเลือดขาว CD4+ (CD4+count) และปริมาณไวรัสเอชไอวีของมารดาขณะตั้งครรภ์ (HIV viral load, VL) รวมทั้งผลการตรวจ HIV DNA PCR และ anti–HIV ของทารกมาวิเคราะห์เชิงสถิติ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย พิสัย
ผลการศึกษา: หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีมาคลอดทั้งสิ้น 70 ราย และทารกแรกเกิด 71 ราย (แฝด 1 ราย) ร้อยละ 80 ของมารดาได้รับยาต้านไวรัสขณะตั้งครรภ์มากกว่าเท่ากับ 4 สัปดาห์ โดยร้อยละ 84 ของมารดาที่ได้รับยาเป็นสูตร HAART ร้อยละ 22.5 เป็นทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อและมีทารกติดเชื้อเอชไอวี 1 ราย คิดเป็นอัตราการติดเชื้อเอชไอวีร้อยละ 1.6 สาเหตุเกิดจากมารดากินยาต้านไวรัสไม่สม่ำเสมอขณะตั้งครรภ์ โดยมีอัตราการขาดการติดตามร้อยละ 11.3
สรุป: อัตราติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกในโรงพยาบาลบางสะพานเท่ากับร้อยละ 1.6 ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อคือ การที่มารดากินยาไม่สม่ำเสมอขณะตั้งครรภ์
References
2. แสงชัย สีมาขจร, วันเพ็ญ ประเสริฐศรี. อัตราการติดเชื้อเอชไอวีในเด็กที่เกิดจากแม่ติดเชื้อเอชไอวีในเขตสาธารณสุขที่ 3. วารสารควบคุมโรค 2550;33(1):60–7 .
3. กิตตินันท์ ไทยศรีนันท์, นภคกร พูลประสาท, วิกรม ทางเรือ, และคณะ. อัตราการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี จากแม่สู่ลูก จังหวัดจันทบุรี. วารสารโรคเอดส์ 2548;17:197–208.
4. ทองพูน แตงตาด. อัตราการติดเชื้อเอชไอวี จากแม่สู่ลูก ในโรงพยาบาลพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารแพทย์เขต 6-7 2551;27:1061–7.
5. Plirat T, Naiwatanakul T, Rattanasuporn N, et al. Reduction in mother-to-child transmission of HIV in Thailand, 2001-2003: results from population-based surveillance in six provinces. AIDS 2007;21(2):145–51. doi: 10.1097/QAD.0b013e328010e02d.
6. Naiwatanakul T, Voramongkol N, Punsuwan N, et al. Uptake of early infant diagnosis in Thailand’s national program for preventing mother-to-child HIV transmission and linkage to care, 2008-2011. J Int AIDS Soc 2016;19(1):205–11. doi:10.7448/ IAS.19.1.20511.
7. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ระดับชาติ ปี พ.ศ. 2553 (National guidelines on HIV/AIDS diagnosis and treatment Thailand 2010). 2553; 211–27.
8. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2557 (Essentials of HIV/AIDS treatment and prevention 2014 Thailand). 2557; 151–76.
9. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2560 (Thailand national guideline on HIV/AIDS treatment and prevention 2017). 2560; 177–205.
10. Lolekha R, Chokephaibulkit K, Phanuphak N, et al. Thai national guidelines for the prevention of mother-to-child transmission of human immunodeficiency virus 2017. Asian Biomed (Res Rev News) 2017;11(2):145–59. doi:10.5372/1905-7415. 1102.547.
11.Lolekha R, Pavaputanondh P, Puthanakit T, et al. Implementation of an active case management network to identify HIV-infected infants and accelerate the initiation of antiretroviral therapy, Thailand 2015 to 2018. J Int AIDS Soc 2020 Feb;23(2):e25450. doi: 10.1002/jia2.25450.
12. Baroncelli S, Pinnetti C, Genovese O, et al. Hematological effects of zidovudine prophylaxis in newborn infants with and without prenatal exposure to zidovudine. Journal of medical virology. 2011;83(3):551.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์