ลักษณะภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) ในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน

ผู้แต่ง

  • ภูมิพัฒน์ เกียรติธารีธนา พ.บ., โรงพยาบาลกระทุ่มแบน

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ภาพเอกซเรย์ปอด, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก

บทคัดย่อ

          โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) เป็นโรคอุบัติใหม่ และระบาดไปหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากการติดเชื้อส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก ภาพเอกซเรย์ปอดและเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกจึงเข้ามามีบทบาทในเรื่องของการวินิจฉัยโรค ประเมินผลข้างเคียงของโรค และประเมินผลการรักษาโรค ในระยะแรกของโรค ภาพเอกซเรย์ปอดจะไม่ได้ช่วยในการวินิจฉัยได้มากนัก แต่ความผิดปกติอาจพบได้ในเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกตั้งแต่ระยะแรก ลักษณะความผิดปกติของภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก โดยทั่วไปของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จะพบได้ 3 ลักษณะ คือ 1. รอยโรคฝ้าขาวในปอด (ground–glass opacity) ซึ่งพบบริเวณชายปอดทั้ง 2 ข้าง โดยอาจพบรอยโรคเงาทึบ (consolidation) หรือ interlobular line ร่วมด้วย

  1. รอยโรคฝ้าขาวในปอด (ground-glass opacity) โดยรูปร่างกลมหลายรอยโรค 3. รอยโรคแบบ organizing pneumonia

          รายงานการศึกษานี้นำเสนอลักษณะความผิดปกติในภาพเอกซเรย์ปอดและเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน จำนวน 3 ราย ความรู้จากรายงานการศึกษานี้มีความสำคัญกับแพทย์ทุกคนที่จะได้จดจำลักษณะผิดปกติดังกล่าวในผู้ป่วยโรค COVID–19 ผู้ป่วยสงสัยโรค COVID–19 รวมถึงผู้ป่วยอื่นทั่วไปในยุคที่ยังมีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาอยู่

 

References

1. World Health Organization. Timeline: WHO's COVID-19 response [Internet]. 2020 [cited 2020 Dec 22]; Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/interactive-timeline#!/
2. World Health Organization. Novel Coronavirus – Thailand (ex-China) [Internet]. 2020 [cited 2020 Dec 22]; Available from: https://www.who.int/csr/don/14-january-2020-novel-coronavirus-thailand-ex-china/en/
3. World Health Organization Thailand. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19): รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย – 15 มี.ค. 2563 [Internet]. [cited 2020 Dec 22]; Available from: https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/20200315-tha-sitrep-22-covid19-th.pdf?sfvrsn=e43679f_0
4. Jin YH, Cai L, Cheng ZS, et al. A rapid advice guideline for the diagnosis and treatment of 2019 novel coronavirus (2019–nCoV) infected pneumonia (standard version). Mil Med Res. 2020; 7: 4.
5. Kim JY, Choe PG, Oh Y, et al. The first case of 2019 novel coronavirus pneumonia imported into Korea from Wuhan, China: implication for infection prevention and control measures. J Korean Med Sci. 2020; 35(5): e61. doi: 10.3346/jkms.2020.35.e61.
6. Shashank J, Jalil P, Abdul A, et al. Role of favipiravir in the treatment of COVID–19. Int J Infect Dis. 2020; 102: 501–8. doi: 10.1016/j.ijid.2020.10.069.
7. กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) [Internet]. 2020[cited 2020 Dec 25]; Available from: http://covid19.dms.go.th/backend///Content//Content_File/Covid_Health/Attach/25630330113911AM_CPG%20COVID-19_30032020_v1@11.pdf.
8. Scott S, Fernando UK, Suhny A, et al. Radiological Society of North America Expert Consensus Document on Reporting Chest CT Findings Related to COVID–19: Endorsed by the Society of Thoracic Radiology, the American College of Radiology, and RSNA. Radiology: Cardiothoracic Imaging. 2020; 2(2): e200152.

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27