การศึกษาความชุกการปฏิเสธการบริจาคโลหิตจากภาวะความเข้มข้นโลหิตต่ำกว่าเกณฑ์

ผู้แต่ง

  • สมรัก เพชรโฉมฉาย ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 4
  • สิณีนาฏ อุทา ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

คำสำคัญ:

การคัดเลือกผู้บริจาคโลหิต, ภาวะโลหิตจางจากการบริจาคโลหิต, การดูแลสุขภาพผู้บริจาคโลหิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาข้อมูลผู้บริจาคโลหิต ในกลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกด้วยสาเหตุค่าฮีโมโกลบินต่ำ

วิธีการศึกษา: วิเคราะห์ข้อมูลการบริจาคโลหิต ณ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 4 จังหวัดราชบุรี ระหว่าง มกราคม 2559-ธันวาคม 2563

ผลการศึกษา: โลหิตบริจาคที่ไม่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกคิดเป็นร้อยละ 1.6 ของการลงทะเบียนทั้งหมด สาเหตุจากผู้บริจาคโลหิตที่มีค่าฮีโมโกลบินต่ำคิดเป็นร้อยละ 41.5 ของการปฏิเสธทั้งหมด โดยพบสูงสุดในผู้บริจาครายซ้ำที่เป็นเพศหญิงที่มีค่าฮีโมโกลบินต่ำ คิดเป็นร้อยละ 26.4 โดยเฉลี่ย ซึ่งมีอัตราสูงกว่าผู้บริจาคโลหิตเพศหญิงที่ไม่เคยบริจาคโลหิตมาก่อน ที่มีค่าร้อยละ 12.2 และเป็นไปในทิศทางเดียวกันในผู้บริจาคโลหิตเพศชายที่มีค่าฮีโมโกลบินต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดในผู้บริจาคซ้ำและผู้บริจาครายใหม่ ร้อยละ 2.0 และ 0.7 ตามลำดับ

สรุป: เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะโลหิตจางจากการบริจาคโลหิต ควรมีการดูแลสุขภาพผู้บริจาคโลหิต โดยเฉพาะในกลุ่มค่าฮีโมโกลบินต่ำต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุและให้การรักษาที่เหมาะสม ควรส่งเสริมให้ผู้บริจาคโลหิตกลับมาบริจาคต่อเมื่อได้รับการดูแลสุขภาพจนไม่มีภาวะโลหิตจางแล้ว เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริจาคโลหิตเป็นผู้มีสุขภาพดี สามารถบริจาคโลหิตได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีปริมาณโลหิตที่เพียงพอและปลอดภัย ซึ่งจะเป็นผลดีแก่ผู้ป่วยและงานบริการโลหิตของประเทศ

References

National Blood Centre, Thai Red Cross Society. Annual report. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House; 2018.

National Blood Centre, Thai Red Cross Society. Standards for blood banks and transfusion services. 4th ed. Bangkok : Udomsuksa Ltd., 2015.

Sutthisakorn U, Wattananonsakul S, Chiewsilp D. A study of blood donation behavior of donor at National Blood Centre, the Thai Red Cross Society. J Hematol Transfus Med. 2014; 3: 251-9.

Schreiber GB, Sharma UK, Wright DJ, et al. Fiest year donation patterns predict long-term commitment for first-time donors. Vox Sang. 2005 ;88(2): 114-21. doi: 10.1111/j.1423-0410.2005.00593.x.

Milman N, Sondergaaed M. Iron stores in male blood donors evaluated by serum ferritin. Transfusion. 2015; 24(6): 464-8. doi: 10.1046/j.1537-2995.1984.24685066801.x.

Phikulsod S, Chiewsilp P. Reformed donor care, the Thai Red Cross Society. J Hemtol Transfus Med. 2015; 25: 3-5.

Brittenham GM. Iron deficiency in whole blood donors. Transfusion 2011; 51(3): 458-61. doi: 10.1111/j.1537-2995.2011.03062.x.

Boulton F. Evidence-based criteria for the care and selection of blood donors, with some comments on the relationship to blood supply, and emphasis on the management of donation-induced iron depletion. Transfus Med 2008; 18(1): 13-27. doi: 10.1111/j.1365-3148.2007.00818.x.

เผยแพร่แล้ว

2022-03-24