การดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังโดยการจัดตั้งคลินิกหัวใจล้มเหลวในโรงพยาบาลทั่วไปบ้านโป่ง
คำสำคัญ:
หัวใจล้มเหลวเรื้อรัง, คลินิกหัวใจล้มเหลว, สหสาขาวิชาชีพ, อัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์หลังจากผู้ป่วยเข้าคลินิกหัวใจล้มเหลวในโรงพยาบาลทั่วไประดับ S
การศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (retrospective descriptive study) เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์จากเวชระเบียนตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2562 ถึง 1 ตุลาคม 2563 ผู้ป่วยได้รับการรักษาในคลินิกหัวใจล้มเหลวเรื้อรังโดยรูปแบบสหสาขาวิชาชีพ (multidisciplinary team)
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยอยู่ในการศึกษาทั้งหมด 65 ราย ทุกรายมีการบีบตัวหัวใจห้องล่างซ้าย (LVEF) น้อยกว่าร้อยละ 40 อายุระหว่าง 21 ถึง 87 ปี เพศชายร้อยละ 64.6 เพศหญิงร้อยละ 35.4 มีโรคร่วมเบาหวานร้อยละ 36.9 ความดันโลหิตสูงร้อยละ 40 ได้รับยาตามมาตรฐานการรักษาหัวใจล้มเหลวเรื้อรังอย่างน้อย 1 ตัว ได้แก่ ACEI/ARB, B-blocker, MRA, ARNI,และ SGLT-2 inhibitor ผลของการดูแลผู้ป่วยในคลินิกหัวใจล้มเหลวพบว่า การศึกษาหลัก (primary outcome) อัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำที่ 1 ปี จากร้อยละ 32.3 เหลือ ร้อยละ 16.9 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผลการศึกษารอง (secondary outcome) พบว่า อาการหัวใจล้มเหลวดีขึ้น จาก NYHA FC III-IV ร้อยละ 73.9 เหลือ ร้อยละ 7.7 (p < .001) ค่าเฉลี่ย LVEF ดีขึ้นร้อยละ 18.59 (p < .001) การทดสอบสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดิน 6 นาที (6MWT) ดีขึ้น (p < .001) มีผู้ป่วยเสียชีวิต 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.8 แต่เป็นการเสียชีวิตไม่ทราบสาเหตุ 6 ราย เสียชีวิตจากหัวใจล้มเหลวที่โรงพยาบาลมีเพียง 1 ราย
สรุป: การดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักเวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจ นักโภชนาการ สามารถทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาที่จำเป็น ดูแลสุขภาพตัวเองอย่างเหมาะสม มีผลทำให้ลดความรุนแรงของโรค สมรรถภาพของหัวใจดีขี้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น และลดอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำได้
References
Laothavorn P, Hengrussamee K, Kanjanavanit R, et al. Thai Acute Decompensated HeartFailure Registry (Thai ADHERE). CVD Prevention and Control 2010;5:89–95.
สมาคมแพทยโรคหัวใจแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ. แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2562. สมุทรปราการ: เนคสเตป ดีไซน์; 2562.
McDonagh TA, Metra M, Adamo M, et al. 2021 ESC Guidelines for the diagnosis and treatment of acute and chronic heart failure: The Task Force for the diagnosis and treatment of acute and chronic heart failure of the European Society of Cardiology (ESC). Eur Heart J 2021;42(36):3599–726.
รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์, อรินทยา พรหมินธิกุล. คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังแบบบูรณาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คอนเซ็พท์ เมดิคัส; 2558.
McAlister FA, Stewart S, Ferrua S, et al. Multidisciplinary Strategies for the Management of Heart Failure Patients at High Risk for Admission: A Systematic Review of Randomized Trials. J Am Coll Cardiol 2004;44(4):8109.
Zannad PF, Ferreira JP, Pocock SJ, et al. SGLT2 inhibitors in patients with heart failure with reduced ejection fraction: meta-analysis of the EMPEROR-Reduced and DAPA-HF trials. Lancet 2020;396(10254):819–29.
Strömberg A, Mårtensson J, Fridlund B, et al. Nurse-led Heart Failure Clinics Improve Survival and Self-Care Behaviour in Patients With Heart Failure: Results From a Prospective, Randomised Trial. Eur Heart J 2003;24(11):1014–23.
Rodrigues BS, David C, Costa J, et al. Influenza vaccination in patients with heart failure: a systemic review and meta-analysis of observational studies. Heart 2020;106(5):350–7.
Vardeny O, Claggett B, Udell JA, et al. Influenza Vaccination in Patients With Chronic Heart Failure: The PARADIGM-HF Trial. JACC Heart Fail 2016;4(2):152–8.
Howlett JG, Mann OE, Baillie R, et al. Heart /failure clinics are associated with clinical benefit in both tertiary and community care settings : data from the Improving Cardiovascular Outcomes in Nova Scotia (ICONS) registry. Can J Cardiol 2009;25:e306–11.
Larned J, Kabach M, Tamariz L, et al. Congestive Heart Failure clinic : How to make Them Work in a Community-based Hospital System. Cardiovasc Innov appl 2015;1:13–8.
สิทธิลักษณ์ วงษ์วันทนีย์, สำอางค์ เกียรติเจริญสิน, ปราณี ดาวมณี. การดูแลแบบแสหวิชาชีพในคลินิกหัวใจล้มเหลวโรงพยาบาลระยอง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า 2007;27:222–33.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์