ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางภาษาล่าช้าในเด็กอายุ 1-5 ปี ที่มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลดำเนินสะดวก
คำสำคัญ:
พัฒนาการเด็กปฐมวัย, พัฒนาการทางภาษาล่าช้า, ปัจจัยบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะพัฒนาการทางภาษาล่าช้า ในเด็กอายุ 1-5 ปี ที่มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลดำเนินสะดวก
วิธีการศึกษา: ศึกษาแบบแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional analytic study) กลุ่มตัวอย่างคือเด็กอายุ 1-5 ปี ทุกคน ที่มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลดำเนินสะดวก ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม ถึง 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 254 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และประเมินพัฒนาการทางภาษาโดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ไคสแควร์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง 254 คน เด็กที่มีภาวะพัฒนาการทางภาษาล่าช้ามีทั้งหมด 51 คน (ร้อยละ 20.1) จากผลการศึกษาปัจจัยด้านตัวเด็กพบว่า เด็กที่น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด ไม่ได้รับนมแม่ ไม่ได้รับธาตุเหล็กเสริม และพื้นอารมณ์เป็นกลุ่มเลี้ยงยาก จะพบภาวะล่าช้าทางภาษาได้มากกว่า (p < .05) สำหรับปัจจัยด้านการเลี้ยงดู พบว่าเด็กที่ใช้แท็บเล็ต/สมาร์ทโฟนมากกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน มีโอกาสเกิดภาวะล่าช้าทางภาษาได้มากกว่า (p < .05) ส่วนปัจจัยด้านมารดาขณะตั้งครรภ์และด้านสิ่งแวดล้อมไม่สัมพันธ์กับภาวะพัฒนาการทางภาษาล่าช้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ความชุกของภาวะพัฒนาการทางภาษาล่าช้าในเด็กอายุ 1-5 ปี ที่มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลดำเนินสะดวก พบร้อยละ 20.1 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะพัฒนาการทางภาษาล่าช้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม ภาวะแทรกซ้อนของทารกหลังคลอด การไม่ได้รับนมแม่ การไม่ได้รับธาตุเหล็กเสริม พื้นอารมณ์ของเด็กกลุ่มเลี้ยงยาก และระยะเวลาที่เด็กใช้แท็บเล็ต/สมาร์ทโฟนมากกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน
References
ดวงหทัย จันทร์เชื้อ, บุญสนอง ภิญโญ, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี. ศูนย์อนามัยที่ 9 พิษณุโลก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 3 เมษายน 2561]. เข้าถึงได้จาก http://hpc2.anamai.moph.go.th/research/index.php/2551/58-0-5-2547.
จินตนา พัฒนพงศ์ธร, ชัยชนะ บุญสุวรรณ, นฤมล ธนเจริญวัชร. การศึกษาพัฒนาการของเด็กปฐมวัยไทย ปี 2557. กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 24 มีนาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://inspection.anamai.moph.go.th/storage/web/uploads/docs/ g1/JP02_TheStudyOfThaiEarlyChildDevelopmen.pdf.
Wayne WD. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6 th ed. New York: John Wiley & Sons Inc. 1995;6(37):744-744.
พนิต โล่เสถียรกิจ. สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ในปี พ.ศ.2557. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2560;26(2):199–208.
ตวงพร ชุมประเสริฐ, วันธณี วิรุฬห์พานิช, พิสมัย วัฒนสิทธิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์กับพัฒนาการเด็กอายุ 2-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณสุขภาคใต้. 2009;6(2):91–104.
Prathanee B, Purdy SC, Thinkhamrop B, et al. Early Language Delay and Predictive Factors in Children Aged 2 Years. J Med Assoc Thai. 2009;92(7):930–8.
นิติภรณ์ บุษบงก์. สถานการณ์และลักษณะของเด็กที่มีปัญหาพูดช้าในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2564:36(1):55–62.
Mondal N, Bhat BV, Plakkal N, et al. Prevalence and Risk Factors of Speech and Language Delay in Children Less Than Three Years of Age. J Compr Ped. 2016;7(2):1–7.
สาธิต พจน์จลองศิลป์. การศึกษาปัจจัยเสี่ยงในเด็กพูดช้า. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี ปีที่ 17. 2552;1:80–5.
ณัฐวิภา วาณิชย์เจริญ, พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความบกพร่องของพัฒนาการด้านภาษาในเด็กปฐมวัยที่หน่วยพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล: การศึกษาแบบจับคู่ย้อนหลัง. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2562:63(6):423–42.
Heuvel M, Ma J, Borkhoff CM, et al. Mobile Media Device Use is Associated with Expressive Language Delay in 18-Month-Old Children. J Dev Behav Pediatr. 2019;40(2):99–104.
American Academy of Pediatrics. American Academy of Pediatrics Announces New Recommendations for Children’s Media Use. 2016 [cited 2018 Mar 24]. Available from: http://www.aap.org/en-us/about-the-aap/aap-press-room/pages/american-academy-of-pediatrics-announces-new-recommendations-for-childrens-media-use.aspx.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์