ประสิทธิผลของการส่องกล้องเพื่อการรักษาภาวะนิ่วในท่อน้ำดีและท่อน้ำดีตีบ ในการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ

ผู้แต่ง

  • ดังฝัน เอี่ยมสุวรรณ โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

การส่องกล้องทางเดินน้ำดี, ERCP, การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอัตราความสำเร็จของการส่องกล้องทางเดินน้ำดีในภาวะนิ่วในท่อน้ำดีหรือท่อน้ำดีตีบ ระหว่างผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับและผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาล รวมทั้งศึกษาถึงภาวะแทรกซ้อนหลังการส่องกล้อง ระยะเวลาการส่องกล้อง รวมทั้งระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม

วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะนิ่วในท่อน้ำดีหรือท่อน้ำดีตีบ ที่เข้ารับการรักษาด้วยการส่องกล้องทางเดินน้ำดีในโรงพยาบาลนครปฐม โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง ธันวาคม พ.ศ.2563 โดยผู้ป่วยที่มีการส่องกล้องฉุกเฉินหรือได้รับการประเมินจากวิสัญญีแพทย์ ว่าไม่ปลอดภัยในการรักษาแบบวันเดียวกลับจะถูกคัดออกจากการศึกษา ค่าที่มีนัยสำคัญทางสถิติคือน้อยกว่า .05 (p value < .05)

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 112 ราย ที่เข้ารับการส่องกล้องทางเดินน้ำดีจำแนกเป็นผู้ป่วยแบบวันเดียวกลับ 58 ราย และผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล 54 ราย จากการศึกษาไม่พบความแตกต่างของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มในด้านเพศ อายุ การวินิจฉัย ค่าผลเลือด และความเสี่ยงของการผ่าตัด (p > .05) รวมทั้งอัตราความสำเร็จอยู่ที่ร้อยละ 91.4 และร้อยละ 92.6 ตามลำดับ นอกจากนี้ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการส่องกล้องของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มยังไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (26.15 และ 28.53 นาที) อย่างไรก็ตามพบว่าระยะเวลาเฉลี่ยของการนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยที่เข้าร่วมการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับอยู่ที่ 1.2 วัน ซึ่งน้อยกว่าในกลุ่มผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล (2.8 วัน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

 สรุป: จากการศึกษา พบว่าการส่องกล้องทางเดินน้ำดีในผู้ป่วยแบบวันเดียวกลับและแบบนอนโรงพยาบาลไม่มีความแตกต่างกันในด้านความสำเร็จของการส่องกล้อง และพบว่ามีความปลอดภัยไม่แตกต่างกัน โดยผู้ป่วยที่เข้าร่วมการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับได้ประโยชน์ชัดเจนในด้านระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลที่น้อยกว่า ดึงนั้นผู้ป่วยทุกรายควรได้เข้าร่วมโครงการการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับหากได้รับการประเมินจากศัลยแพทย์และวิสัญญีแพทย์ ว่ามีความปลอดภัย

References

Pham TH, Hunter JG. Gallbladder and the extrahepatic biliary system. In: Brunicardi FC, Andersen DK, Billiar TR, et al., editors. Schwartz's principle of surgery. 10th ed. New York: McGraw Hill; 2015. p. 1321–2.

Pónusz R, Endrei D, Kovács D, et al. Az egynapos sebészeti ellátás igénybevételi mutatóinak elemzése Magyarországon. Orvosi Hetilap. 2019;160(17):670–8.

Dietz UA. Update ambulante Leistenhernienchirurgie. Ther Umsch. 2019;76(10):555-561.

Thompson MR, Senapati A, Kitchen P. Simple day-case surgery for pilonidal sinus disease. Br J Surg. 2011;98(2):198–209.

Gachon B, Nadeau C, Fritel X. Est-il possible d’augmenter la part ambulatoire en chirurgie conservatrice du sein ?. Bulletin du Cancer. 2015;102(12):1002–9.

Guttadauro A, Maternini M, Bianco GL, et al. 15 years experience in proctological day-surgery. Ann Ital Chir. 2018;89:324–9.

Haynes SR, Lawler PG. An assessment of the consistency of ASA physical status classification allocation. Anaesthesia. 1995;50(3):195–9.

Dindo D, Demartines N, Clavien AP. Classification of surgical complications: a new proposal with evaluation in a cohort of 6336 patients and results of a survey. Ann Surg. 2004;240(2):205–213.

Mehta PP, Sanaka MR, Parsi MA, et al. Effect of the time of day on the success and adverse events of ERCP. Gastrointestinal Endosc. 2011;74(2):303–8.

Liao Z, Li ZS, Leung JW, et al. Success rate and complications of ERCP performed during hands-on training courses: a multicenter study in China. Gastrointestinal Endosc. 2009;69(2):230–7.

Coté GA, Imler TD, Xu H, et al. Lower provider volume is associated with higher failure rates for endoscopic retrograde cholangiopancreatography. Med Care. 2013;51(12):1040–7.

Keswani RN, Qumseya BJ, O’Dwyer LC, et al. Association Between Endoscopist and Center Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography Volume With Procedure Success and Adverse Outcomes: A Systematic Review and Meta-analysis. Clin Gastroenterol Hepatol. 2017;15(12):1866–1875.e3.

Enochsson L, Swahn F, Arnelo U, et al. Nationwide, population-based data from 11,074 ERCP procedures from the Swedish Registry for Gallstone Surgery and ERCP. Gastrointest Endosc. 2010;72(6):1175–84.e3.

Kapral C, Duller C, Wewalka F, et al. Case volume and outcome of endoscopic retrograde cholangiopancreatography: results of a nationwide Austrian benchmarking project. Endoscopy. 2008;40(8):625–30.

เผยแพร่แล้ว

2022-03-25