ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะความรุนแรงของภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนในโรงพยาบาลราชบุรี

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ชนก ปริยเอกสุต พ.บ., โรงพยาบาลราชบุรี

คำสำคัญ:

ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน, ระยะความรุนแรง, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะความรุนแรงของภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่มีอุ้งเชิงกรานหย่อนในโรงพยาบาลราชบุรี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2563 จำนวน 139 คน จัดเก็บข้อมูล อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ จำนวนบุตร จำนวนบุตรที่คลอดทางช่องคลอด โรคประจำตัว ภาวะหมดประจำเดือน ดัชนีมวลกาย อาการความรู้สึกก้อนยื่นทางช่องคลอด อาการระบบทางเดินปัสสาวะ อาการระบบขับถ่ายอุจจาระ อาการปัญหาต่อเพศสัมพันธ์ ระยะเวลาที่มีอาการ และระยะความรุนแรงของภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน ทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะความรุนแรงของภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนด้วย chi-square test

ผลการศึกษา: พบว่าผู้ที่มีอุ้งเชิงกรานหย่อนส่วนใหญ่อายุ 60 ปี ขึ้นไปร้อยละ 73.4  จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 46.8  มีดัชนีมวลกาย 23 กิโลกรัม/เมตร2 ขึ้นไปร้อยละ 60.4  จำนวนบุตรที่คลอดทางช่องคลอดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปร้อยละ 68.3  เป็นภาวะหมดประจำเดือนร้อยละ 92  โดยมีกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนระยะความรุนแรงมาก (ระยะ 3–4) ร้อยละ 56.8 การวิเคราะห์พบปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะของภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนบุตรที่คลอดทางช่องคลอด อาการความรู้สึกก้อนยื่นทางช่องคลอด และอาการระบบขับถ่ายอุจจาระ ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

สรุป : ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะความรุนแรงของภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนบุตรที่คลอดทางช่องคลอด อาการความรู้สึกก้อนยื่นทางช่องคลอด และอาการระบบขับถ่ายอุจจาระ

References

เอกสารอ้างอิง

Haylen BT, Maher CF, Barber MD, et al. An International Urogynecological Association (IUGA) / International Continence Society (ICS) joint report on the terminology for female pelvic organ prolapse (POP). Int Urogynecol J 2016;27(2):165–94.

Barber MD, Maher C. Epidemiology and outcome assessment of pelvic organ prolapse. Int Urogynecol J 2013;24(11):1783–90.

Bump RC, Mattiasson A, Bo K, et al. The standardization of terminology of female pelvic organ prolapse and pelvic floor dysfunction. Am J Obstet Gynecol 1996;175(1):10–7.

Marinkovic SP, Stanton SL. Incontinence and voiding difficulties associated with prolapse. J Urol 2004;171(3):1021–8.

Pariyaeksut P. Quality of Life and Associated Factors of Women with Pelvic Organ Prolapse in Ratchaburi Hospital. Reg 4-5 Med J. 2019;38(1),13–24.

Hendrix SL, Clark A, Nygaard I, et al. Pelvic organ prolapse in the Women's Health Initiative: gravity and gravidity. Am J Obstet Gynecol. 2002;186(6):1160–6.

Elbiss HM, Osman N, Hammad FT. Prevalence, risk factors and severity of symptoms of pelvic organ prolapse among Emirati women. BMC Urol 2015;15:66.

Espuna-Pons M, Fillol M, Pascual MA, et al. Pelvic floor symptoms and severity of pelvic organ prolapse in women seeking care for pelvic floor problems. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol 2014;177:141–5.

Masenga GG, Shayo BC, Rasch V. Prevalence and risk factors for pelvic organ prolapse in Kilimanjaro, Tanzania: A population based study in Tanzanian rural community. PLoS One 2018;13(4):e0195910.

Mohammed RF, Mohammed MD, Abd El-Rahim AH. Determinants and Symptoms Severity of Pelvic Organ Prolapse and Its Effect on Physical Activities among the Elderly versus Childbearing Women. Egypt. J. Health Care. 2021;12:664–85.

Slieker-ten Hove MC, Pool-Goudzwaard AL, Eijkemans MJ, et al. The prevalence of pelvic organ prolapse symptoms and signs and their relation with bladder and bowel disorders in general female population. Int Urogynecol J Pelvic Floor Dysfunct. 2009;20(9):1037–45.

Tan JS, Lukacz ES, Menefee SA, et al. Predictive value of prolapse symptoms: a large database study. Int Urogynecol J Pelvic Floor Dysfunct 2005;16(3):203–9.

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30