ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายต่อพฤติกรรมสุขภาพ ด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์

ผู้แต่ง

  • รุจา แก้วเมืองฝาง พย.ม., วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช ราชบุรี

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกาย, พฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการ, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

ภาวะโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์มีความสำคัญต่อภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ภาวะโภชนาการที่ไม่เพียงพออาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพมีผลต่อภาวะโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์ งานวิจัยนี้ประยุกต์ใช้แบบแผนการสร้างเสริมสุขภาพของ Pender ในการสร้างโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายในหญิงตั้งครรภ์ โดยให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับรู้ประโยชน์ และรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความเชื่อมั่นและมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการ เกิดพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการที่ดี

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายต่อพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์ 

          วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการที่คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 60 ราย เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถามสุขภาพด้านโภชนาการและโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ และการออกกำลังกาย แบบสอบถามสุขภาพด้านโภชนาการมีตรวจสอบความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.82 และตรวจสอบความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 และโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายได้นำมาปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิก่อนนำไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าที

            ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการในกลุ่มทดลองภายหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

            สรุป: พยาบาลประจำคลินิกฝากครรภ์ สามารถนำโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายไปประยุกต์ใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพื่อให้มีพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการที่เหมาะสม

References

สุวิสา ปานเกษม. การออกกำลังกายในหญิงตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15(4):108–13.

วรภรณ์ บุญจีม, ปิยะนุช ชูโต, บังอร ศุภวิฑิตพัฒนา. ผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการโดยการเฝ้าติดตามตนเองต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของสตรีขณะตั้งครรภ์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2562;37(4):177–85.

สุภาวดี เงินยิ่ง. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการและการจัดการความเครียดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2556;21(4):37–48.

กาญจนา ศรีสวัสดิ์, ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร, ณัฐธิดา สอนนาค. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2561;38(2):95–109.

ธัญญมล สุริยานิมิตรสุข, ฐิตารีย์ ดิษาภิรมย์. บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2561;29(2): 173–85.

Pender NJ. Health promotion in nursing practice. 3rd ed. Stamford, Conn: Appleton and Lange; 1996: 86–91.

Polit DF, Beck CT. Nursing research: Principles and methods. 7th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.; 2004: 411–12.

สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. แม่ตั้งครรภ์ก็ออกกำลังกายได้ [ออนไลน์]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 9 มกราคม 2563]; เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/Content/32300-%60แม่ตั้งครรภ์%60%20ก็ออกกำลังกายได้.html

กรุณา ประมูลสินทรัพย์, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม, จริยาวัตร คมพยัคฆ์, และคณะ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2556;31(4):54–60.

เพ็ญพยงค์ ตาระกา, กินรี ชัยสวรรค์, ธนพร แย้มสุดา. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก. วารสารแพทย์นาวี. 2562;46(2):319–35.

ทรงพร จันทรพัฒน์, ประภาพร ชูกำเนิด, สุภา พันธุ์ชนะ, และคณะ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนด้วยโยคะต่อพฤติกรรมสุขภาพและการเพิ่มน้ำหนักตัวในหญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2561;29(1):148–63.

รักรุ้ง โกจันทึก, วรรณทนา ศุภสีมานนท์, ศิริวรรณ แสงอินทร์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถในตนเองด้านโภชนาการต่อพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการและน้ำหนักเพิ่มของหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรกที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานก่อนตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2560;27(3):80–90.

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30