ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในเครือข่ายโรงพยาบาลนครปฐม
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยง, เครือข่ายโรงพยาบาลนครปฐมบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในเครือข่ายโรงพยาบาลนครปฐม พ.ศ. 2559–2564
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) ในผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง (รหัส ICD-10 : F20–29 ) และมีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง (serious mental illness with high risk to violence: SMI-V) ในพื้นที่รับผิดชอบของเครือข่ายโรงพยาบาลนครปฐม พ.ศ. 2559–2564 จำนวน 217 ราย โดยเก็บข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย การวินิจฉัยโรค อัตราการนอนโรงพยาบาล อัตราการส่งตัวไปรักษาต่อ ค่าคะแนนแบบติดตามผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน 9 ด้าน นำเสนอข้อมูลเชิงบรรยายด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าคะแนนแบบติดตามผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน ระหว่าง เดือนที่ 1 และ 12 อัตราการนอนโรงพยาบาล และการส่งตัวไปรักษาต่อระหว่าง 1 ปีก่อนเข้าโครงการ และ 1 ปี ในโครงการ ด้วยสถิติ paired t test ที่ระดับความเชื่อมั่น .05
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยเป็นเพศชาย ร้อยละ 57.6 มีอายุเฉลี่ย 46.43 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.37) ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 57.6, มีสถานะภาพโสด ร้อยละ 58.1, ไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 46.5, ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดมีผู้ดูแลเป็นญาติสายตรง ร้อยละ 95.4, ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ร้อยละ 80.6, การวินิจฉัยโรคที่พบมากที่สุด คือ F20.0 (paranoid schizophrenia) ร้อยละ 48.4, ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีโรคร่วม ร้อยละ 89.9, ผู้ป่วยส่วนใหญ่จัดอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) ระดับ 3 ร้อยละ 89.4, คะแนนเฉลี่ยรวม ( mean ± SD) ของแบบติดตามผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน 9 ด้าน ในเดือนที่ 12 น้อยกว่า เดือนที่ 1 อย่างมีนัยทางสถิติ (ค่าความแตกต่าง 2.493 ± 2.005; 95% CI 2.218, 2.768; p < .000) ซึ่งหมายถึงผู้ป่วยดีขึ้น และพบเป็นทิศทางเดียวกับความแตกต่างของคะแนนในรายด้านทุกด้าน อย่างมีนัยทางสถิติ แต่เมื่อเปรียบเทียบคะแนนรายด้านของผู้ป่วยในแต่ละราย ระหว่างเดือนที่ 12 และ 1 พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.1–88.5 มีคะแนนคงเดิม และร้อยละ 11.5–44.2 มีคะแนนดีขึ้น มีเพียงร้อยละ 1 ที่มีคะแนนแย่ลง ส่วนการเปรียบเทียบอัตราการนอนโรงพยาบาล และการส่งตัวไปรักษาระหว่างก่อนการเข้าโครงการ 1 ปี และในโครงการ 1 ปี พบว่า ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (0.101 ± 0.317 vs. 0.055 ± 0.229 และ 0.069 ± 0.254 vs. 0.032 ± 0.177 ครั้งต่อปี, p = .047 และ .044 ตามลำดับ) คิดเป็นประมาณ ร้อยละ 10.1 vs. 5.5 และ ร้อยละ 6.9 vs. 3.2 ของจำนวนผู้ป่วยตามลำดับ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นี้สอดคล้องกับการประเมินผลของโครงการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงต่อเนื่องในชุมชน ในระดับประเทศ
สรุป : ผลลัพธ์การดูแลผู้จิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงต่อเนื่องในชุมชนของเครือข่ายโรงพยาบาลนครปฐม พ.ศ. 2559–2564 ผู้ป่วยมีอาการทางจิตดีขึ้น มีการกำเริบที่ต้องนอนโรงพยาบาลหรือส่งตัวไปรักษาต่อลดลง
References
มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์. จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์, 2552.
Phanthunane P, Vos T, Whiteford H, et al. Schizophrenia in Thailand: prevalence and burden of disease. Pupul Health Metr 2010;8:24.
Zipursky RB, Menezes NM, Streiner DL. Risk of symptom recurrence with medicaiton descontinuation in first-episode psychosis: A systematic review. Schizophr Tes 2013; 152:408–14.
National institution for Health and Care Excellency (NICE). Violence and aggression: short-term management in mental health, and community sttings, Manchester: National Institution for Health and Care Excellence; 2015.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชนสำหรับบุคลากรของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ. นนทบุรี: แสงจันทร์การพิมพ์; 2559.
ญาดา ธงธรรมรัตน์. โครงการบริการจิตเวชเรื้อรังในชุมชน. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2565
อัมพร เบญจพลพิทักษ์. นโยบาลการดำเนินงานติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2565
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์