ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความรู้และความตระหนักต่อโรคซิฟิลิสในกลุ่มเยาวชนที่มารับบริการ ในคลินิกวางแผนครอบครัว กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และความตระหนักในการป้องกันโรคซิฟิลิสในกลุ่มเยาวชนที่มารับบริการในคลินิกวางแผนครอบครัว กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional study) โดยใช้แบบสอบถามในกลุ่มเยาวชนอายุ 15–24 ปีที่มารับบริการในคลินิกวางแผนครอบครัว กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งสิ้น 207 คน ผลการวิเคราะห์สถิติแบบถดถอยโลจิสติกพบว่าสถานะการจ้างงาน สถานภาพการอยู่อาศัย ความถี่ของการใช้ถุงยางอนามัย การได้รับการศึกษาด้านอนามัยเจริญพันธุ์ และประวัติการมารับบริการอนามัยเจริญพันธุ์ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติกับระดับความรู้ในการป้องกันโรคซิฟิลิส และพบว่าระดับความรู้ในการป้องกันโรคซิฟิลิสและประวัติการมารับบริการอนามัยเจริญพันธุ์มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติกับระดับของความตระหนักในการป้องกันโรคซิฟิลิสของกลุ่มเยาวชนเป้าหมาย
สรุป: เยาวชนอายุ 15–24 ปีเป็นกลุ่มวัยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อซิฟิลิสและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น เพื่อที่จะลดความเสี่ยงและอุบัติการณ์ของโรค จำเป็นต้องเข้าใจปัญหา วิเคราะห์สถานการณ์ให้สอดคล้องกับบริบทของกลุ่มเป้าหมายและเป็นปัจจุบัน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการสร้างความรู้และความตระหนักต่อการป้องกันโรคซิฟิลิสซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการควบคุมและป้องกันโรคอย่างยั่งยืน
References
Rowley J, Vander Hoorn S, Korenromp E, et al. Chlamydia, gonorrhoea, trichomoniasis and syphilis: global prevalence and incidence estimates, 2016. Bull World Health Organ 2019;97(8):548–62.
WHO. Report on global sexually transmitted infection surveillance 2018. Geneva: World Health Organization; 2018.
Chamratrithirong, Aphichat, Varachai Thongthai, Wathinee Boonchalaksi, Philip Guest, Churnrurtai Kanchanachitra, and Anchalee Varangrat. The success of the 100 percent condom promotion program in Thailand: Survey results. Institute for Population and Social Research, Mahidol University. IPSR Publication 1999; 238.
กรมควบคุมโรค. ซิฟิลิส โรคร้ายกลับมาระบาด [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 4 เมษายน 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/doe/journal_detail.php?publish=7718.
Division of STD Prevention. Sexually Transmitted Disease Surveillance 2014. Atlanta: Division of STD Prevention; 2015.
Pounglek W. Internet Pornography: Risk caution and Prevention guideline against its effects on Thai youth. Executive Journal 2011;31(2):223–33.
Lahai-Momoh JC, Ross MW. HIV/AIDS prevention-related social skills and knowledge among adolescents in Sierra Leone, West Africa. Afr J Reprod Health 1997;1(1):37–44.
Sawadcharoenying P. A study of factors affecting sexually transmitted diseases prevention and control implemented by The division of AIDS and STIS during 2010-2019. Thai AIDs Journal 2020;32(3):95–114.
Glass GV. Standards and criteria. Journal of Educational Measurement. 2005;15(4):237–61.
Shendre M, Tiwari R. Role of occupation as a risk factor for sexually transmitted disease: A case control study. Indian Journal of Occupational and Environmental Medicine. 2005;9(1):35-7.
Kantathanawat T. Sexual literacy of adolescent in Thai society. Journal of Social Work. 2019;23(1):1-27.
Mendonça V, Antunes S, Andrade I, et al. Health Literacy and Social Behaviors : What Relationship to Sexually Transmitted Diseases among Students ?. IJBLS 2016;1(5):9–17.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ส่องวัยรุ่นไทย..ทำไมไม่ใส่ถุงยาง?? [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 4 เมษายน 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/sook/info-body-detail.php?id=263.
Ying L, Shaokai T, Xingdong Y, et al. Awareness and knowledge of syphilis among different populations in Guangzhou, Guangdong Province, China. Sex Health 2013;10(3):282–3.
Wu X, Hong F, Lan L, et al. Poor awareness of syphilis prevention and treatment knowledge among six different populations in south China. BMC Public Health. 2016;16:287.
Marchetti G. Consciousness: a unique way of processing information. Cogn Process 2018;19(3):435-64.
Jones CL, Jensen JD, Scherr CL, et al. The Health Belief Model as an explanatory framework in communication research: exploring parallel, serial, and moderated mediation. Health Commun. 2015;30(6):566–76.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์