ผลของชาชงสมุนไพรตำรับบำรุงน้ำนมต่อปริมาณน้ำนมมารดาหลังคลอดบุตร

ผู้แต่ง

  • นที น้อยเศรษฐี พทป.บ. ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี
  • พัชรินทร์ สมบูรณ์ ศษ.ด. ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี
  • บงกช ชาครบัณฑิต พ.บ., ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี
  • ชุติมาพร ไตรนภากุล ภ.ม. ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี
  • ริวดี ชุ่มจิต พย.บ. ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี
  • วรรณา สิงห์เมือง พย.บ. ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

คำสำคัญ:

ชาชงสมุนไพรตำรับบำรุงน้ำนม, domperidone, ปริมาณน้ำนม, มารดาหลังคลอด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบปริมาณน้ำนมมารดาหลังคลอดบุตรที่ผ่าตัดคลอดบุตร ผลข้างเคียงของยา ภาวะแทรกซ้อนของมารดา ภาวะแทรกซ้อนของทารกและลักษณะน้ำนมที่ 24, 48, และ 72 ชั่วโมงแรกหลังคลอด และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของมารดาหลังคลอดระหว่างการให้ชาชงสมุนไพรตำรับบำรุงน้ำนมและยา domperidone

วิธีการศึกษา: การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มีการจัดกลุ่มด้วยวิธีการสุ่มในมารดาหลังคลอดที่คลอดด้วยวิธีผ่าตัดคลอดที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี  ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ถึง 19 พฤษภาคม 2565 จำนวน 68 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 34 คนดังนี้  1) กลุ่มที่ได้รับชาชงสมุนไพรตำรับบำรุงน้ำนมขนาด 3 กรัม ชงในน้ำอุ่น 200 มิลลิลิตร นาน 5 นาที ดื่มหลังอาหาร 30 นาที เช้า กลางวัน และเย็น และ 2) กลุ่มที่ได้รับยา domperidone ขนาด 10 มิลลิกรัม รับประทาน 1 เม็ด หลังอาหาร เช้า กลางวัน และเย็น โดยเริ่มให้ยาที่ 12 ชั่วโมงหลังคลอดจนครบ 72 ชั่วโมงหลังคลอด แล้ววัดปริมาณน้ำนมด้วยเครื่องปั๊มนมพร้อมกับประเมินผลข้างเคียงของยา ภาวะแทรกซ้อนของมารดา ภาวะแทรกซ้อนของทารก ลักษณะน้ำนมที่ 24, 48, และ 72 ชั่วโมงหลังคลอด และความพึงพอใจของมารดาหลังคลอด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ independent t test และ chi-square test

ผลการศึกษา: กลุ่มอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มมีข้อมูลทั่วไปและข้อมูลทางสูติศาสตร์ที่คล้ายคลึงกัน ด้านปริมาณน้ำนมพบว่าชาชงสมุนไพรตำรับบำรุงน้ำนมสามารถเพิ่มปริมาณน้ำนมได้มากกว่ายา domperidone อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 72 ชั่วโมง (p = .010) โดยมีปริมาณน้ำนมเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาdomperidone ตั้งแต่ 24 ชั่วโมงแรกแต่ไม่มีนัยสำคัญสำคัญทางสถิติ ด้านผลข้างเคียงของยา ไม่พบผลข้างเคียงของชาชงสมุนไพรตำรับบำรุงน้ำนม แต่พบอาการปากแห้งในกลุ่มที่ได้ยา domperidone อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 24 ชั่วโมง (p = .011) ด้านของภาวะแทรกซ้อนของมารดา ไม่พบภาวะตกเลือดหลังคลอดในอาสาสมัครทั้งสองกลุ่ม ส่วนภาวะตัวเหลืองของทารก พบว่าทารกในกลุ่มที่ให้ชาชงสมุนไพรตำรับบำรุงน้ำนม มีภาวะตัวเหลืองน้อยกว่าทารกในกลุ่มที่ได้รับยา domperidone แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านลักษณะน้ำนมมารดา ชาชงสมุนไพรตำรับบำรุงน้ำนมสามารถเปลี่ยนลักษณะน้ำนมมารดา จากน้ำนมปกติและน้ำนมโทให้เป็นน้ำนมเอกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 72 ชั่วโมง (p = .005) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงลักษณะน้ำนมมารดาให้เป็นน้ำนมเอกนั้นจะพบเฉพาะในกลุ่มที่ให้ชาชงสมุนไพรตำรับบำรุงน้ำนม และด้านความพึงพอใจโดยรวมของมารดาหลังคลอดที่ได้รับชาชงสมุนไพรตำรับบำรุงน้ำนมและยา domperidone พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน

สรุป: ชาชงสมุนไพรตำรับบำรุงน้ำนมสามารถเพิ่มปริมาณน้ำนมได้มากกว่ายา domperidone และยังสามารถใช้เป็นยาประสะน้ำนมเพื่อเปลี่ยนลักษณะน้ำนมจากน้ำนมปกติให้เป็นน้ำนมคุณภาพตามทฤษฏีการแพทย์แผนไทยได้ อีกทั้งสามารถใช้ในมารดาหลังคลอดได้อย่างปลอดภัย

References

พรนภา ตั้งสุขสันต์. เส้นทางสู่สังคมนมแม่ที่ยั่งยืน: ปัจจัยด้านมารดา สังคมและที่ทำงาน. ใน: ศิราภรณ์ สวัสดิวร, บรรณาธิการ. เอกสารการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 6; 8–10 พฤศจิกายน 2560; ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: พีเอสเอ็น ครีเอชั่น; 2560: 76–80.

ศุภวิทย์ มุตตามระ, กุสุมา ชูศิลป์, อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ, และคณะ, บรรณาธิการ. ตำราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. กรุงเทพมหานคร: ไอยรา; 2555.

ภัทรวลัย ตลึงจิตร. Breaking the Barriers: Breastfeeding at the beginning. ใน:ศิราภรณ์ สวัสดิวร, บรรณาธิการ. เอกสารการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 6; 8–10 พฤศจิกายน 2560; ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: พีเอสเอ็น ครีเอชั่น; 2560: 46–9.

สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ. Breaking the Barriers: Breastfeeding at the beginning. ใน:ศิราภรณ์ สวัสดิวร, บรรณาธิการ. เอกสารการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 6; 8–10 พฤศจิกายน 2560; ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร. นนทบุรี:พีเอสเอ็น ครีเอชั่น;2560:50-3.

Gatti L. Matermal perceptions of insufficient milk supply in breastfeeding. J Nurs Scholarsh. 2008;40(4):355–63.

สุสัณหา ยิ้มแย้ม. สมุนไพรที่กระตุ้นการผลิตน้ำนมแม่. พยาบาลสาร. 2561;45(1):133–45.

คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. คู่มือการดำเนินงานโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล(Rational Drug Use Hospital Manual). กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

สุสัณหา ยิ้มแย้ม, สุจิตรา เทียนสวัสดิ์, ศิริพร ศรีสวัสดิ์, และคณะ. ผลของเครื่องดื่มสมุนไพรกระตุ้นน้ำนมแม่ต่อการผลิตน้ำนมในมารดาหลังคลอด. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2559.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯและโรงเรียนอายุรเวชธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ตำราการแพทย์ไทยเดิม(แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์) เล่มที่ 1 ฉบับชำระ พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร: ศุภวนิชการพิมพ์; 2550

Wan EW, Davey K, Page-Sharp M, et al. Dose-effect study of domperidone as a galactagogue in preterm mothers with insufficient milk supply, and its transfer into milk. Br J Clin Pharmacol. 2008;66(2):283–9.

ชุติมาพร ไตรนภากุล,มณฑา ไชยวัฒนะ,วิวัฒน คณาวิฑูรย์และคณะ.ผลของการไหลของน้ำนมในหญิงหลังคลอดที่ถูกนวด-ประคบเต้านมด้วยกระเป๋าน้ำร้อนและลูกประคบสมุนไพร.วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2553;3(3):75-91.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช,ปรียากร วุฒิธรรมเวชและธนศักดิ์ วุฒิธรรมเวช.คัมภีร์เภสัชรัตนโกสินทร์ .พิมพ์ครั้งที่3.กรุงเทพมหานคร:บริษัท ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จำกัด;2550

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.กระทือป่า[อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:URL:http://medplant.mahidol.ac.th/

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.เร่ว[อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:URL:http://medplant.mahidol.ac.th/

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.ฝางเสน[อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:URL:http://medplant.mahidol.ac.th/

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.ขนุน[อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:URL:http://medplant.mahidol.ac.th/

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.เถาวัลย์เปรียง[อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:URL:http://medplant.mahidol.ac.th/

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.ชะเอมเทศ[อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:URL:http://medplant.mahidol.ac.th/

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.ขิง[อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:URL:http://medplant.mahidol.ac.th/

จักรกฤษณ์ สุรการ, พินิต ชินสร้อย, วาสนา ชำนาญอักษรและคณะ.การศึกษาผลของชาชงสมุนไพรบำรุงน้ำนมต่อปริมาณน้ำนมและระดับโปรแลคตินในเลือดของมารดาหลังคลอดที่ให้นมบุตร.สระแก้ว:ศูนย์วิจัยโรงพยาบาลวังน้ำเย็น;2554.

กุลชาติ แซ่จึง, ปิยวดี วุฒิกรสัมมากิจ, วัฒนาพร คุ้มบุญ, และคณะ. ประสิทธิผลของชาสมุนไพรบำรุงน้ำนม (รพ.วังน้ำเย็น) ในการกระตุ้นการผลิตน้ำนมมารดาหลังคลอดบุตร. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์; 2561.

Jantarasaengaram S, Sreewapa P. Effect of domperidone on augmentation of lactation following cesarean delivery at full term:a randomized, double-blind, placebo-controlled trial. Int J Gynecol Obstet. 2012;116(3):240–3.

พรรณี ปิติสุทธิธรรม, ชยันต์ พิเชียรสุนทร, บรรณาธิการ. ตำราการวิจัยทางคลินิก. กรุงเทพมหานคร: คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29