ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลต่อพฤติกรรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการกลับมารักษาซ้ำ ของผู้ป่วยโรคหอบหืด ในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

ผู้แต่ง

  • ศุภานัน ทองทวีโภคิน พย.ม., วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • ศิรินัดดา สุกก่ำ พย.บ., โรงพยาบาลมะการักษ์
  • นภาพร ตูมน้อย พย.ม., วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

คำสำคัญ:

โรคหอบหืด, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, แนวปฏิบัติทางการพยาบาล

บทคัดย่อ

โรคหอบหืด (asthma) เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม มีผลทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมของผู้ป่วยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าคนปกติและเกิดอาการหอบเฉียบพลันซึ่งภาวะฉุกเฉินเป็นสาเหตุที่นำผู้เข้ามารับการรักษา ดังนั้นถ้ามีแนวปฏิบัติการพยาบาลในการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเอง โดยส่งเสริมให้มีความสามารถในการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเอง จะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องกลับมารับการรักษาซ้ำ สามารถลดอัตราการเกิดภาวะหืดกำเริบเฉียบพลันได้ ลดระยะเวลานอนในโรงพยาบาล และลดค่าใช้จ่ายในการรักษา

            วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพฤติกรรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยโรคหอบหืด ในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาล

            วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองในผู้ป่วยโรคหอบหืดที่มีอาการเฉียบพลันเข้ารับการรักษาในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 56 ราย เครื่องมือในการวิจัย คือ แนวปฏิบัติทางการพยาบาลต่อพฤติกรรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยโรคหอบหืด มีดัชนีความเที่ยงตรงของเนื้อหา (content validity index: CVI) เท่ากับ 0.65 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยโรคหอบหืด มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.79 โดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบค่าทีแบบสัมพันธ์กัน (paired t test)

            ผลการศึกษา: ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 53.6 มีอายุอยู่ระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 37.5 การศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 44.6 มีอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 60.7 และไม่มีโรคร่วม ร้อยละ 87.5 และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยโรคหอบหืด พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยโรคหอบหืดมีคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p  .001)

สรุป: การรักษาผู้ป่วยโรคหืดกำเริบเฉียบพลันเมื่อมาถึงห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลทุกรายต้องได้รับการประเมินอย่างรวดเร็ว การบรรเทาอาการ การติดตามอาการอย่างใกล้ชิดและการให้ความรู้ในการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเอง ทำให้ลดอัตราการเกิดภาวะหืดกำเริบเฉียบพลันได้และสามารถป้องกับทคัดย่อ

โรคหอบหืด (asthma) เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม มีผลทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมของผู้ป่วยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าคนปกติและเกิดอาการหอบเฉียบพลันซึ่งภาวะฉุกเฉินเป็นสาเหตุที่นำผู้เข้ามารับการรักษา ดังนั้นถ้ามีแนวปฏิบัติการพยาบาลในการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเอง โดยส่งเสริมให้มีความสามารถในการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเอง จะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องกลับมารับการรักษาซ้ำ สามารถลดอัตราการเกิดภาวะหืดกำเริบเฉียบพลันได้ ลดระยะเวลานอนในโรงพยาบาล และลดค่าใช้จ่ายในการรักษา

References

สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทยสำหรับผู้ใหญ่ พ.ศ. 2560. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2560.

ดนัย พิทักษ์อรรณพ, บังอร ม่วงไทยงาม. การพัฒนาระบบบริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืดที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคหืดแบบบูรณาการ โรงพยาบาลสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2561; 27(5):856–5.

ณัฐกร พิชัยเชิด, เพชรไสว ลิ้มตระกูล. ระบบการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคหืด คลินิกโรคหืด โรงพยาบาลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2564;39(1):118–27.

วัชรา บุญสวัสดิ์. Asthma update 2011.Srinagarind Med Journal.2554; 26:48–52.

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลเดิมบางนางบวช. สถิติผู้ป่วยนอก. สุพรรณบุรี: ฐานข้อมูลผู้ป่วยนอ; 2561.

รจนา หมั่นวิชา. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหอบหืดโรงพยาบาลนากลางจังหวัดหนองบัวลาภู.มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร. 2562;2(2):13–20.

ชลอศักดิ์ สุชัยยะ, อัมพรพรรณ ธีรานุตร. ผลของแนวปฏิบัติทางคลินิกในการจัดการภาวะหืดกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคหืด ต่อการกลับมารักษาซ้ำและพฤติกรรมการปฏิบัติตัว. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2563;43(4):48–58.

ละออง นิชรานนท์. ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการป้องกันอาการหอบหืดกำเริบซ้ำในผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวจากโรคหอบหืดในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤต โรงพยาบาลสงขลา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า. 2562;(2):1–15.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29