ความพึงพอใจและผลกระทบภายหลังการถ่ายโอนภารกิจด้านทันตสาธารณสุขให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปรก จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, ผลกระทบ, การถ่ายโอนภารกิจด้านทันตสาธารณสุขบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความพึงพอใจของบุคลากรและผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายหลังการถ่ายโอนภารกิจด้านทันตสาธารณสุขให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บ้านปรก
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวนทั้งสิ้น 32 คน ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2565 ถึงกรกฎาคม 2565 ร่วมกับการสืบค้นจากเอกสารรายงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา: ความพึงพอใจของบุคลากรภายหลังการถ่ายโอนภารกิจด้านทันตสาธารณสุขให้แก่ อบต.บ้านปรก เป็นดังนี้ บุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) บ้านปรก มีความพึงพอใจในระบบบริหารจัดการของ อบต. ที่มีประสิทธิภาพ การสนับสนุนงบเงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนสถานีอนามัย (สอ.) ที่ถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จากกรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น ความก้าวหน้าในสายงานของ อบต. สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลพนักงานส่วนท้องถิ่นในระบบเบิกจ่ายตรง และมีความไม่พึงพอใจในภาระงานตามนโยบายหรือโครงการที่ต้องร่วมไปกับส่วนงานอื่นๆในท้องถิ่นและการปรับตัวกับระบบการเงินการบัญชีของกระทรวงมหาดไทย สำหรับบุคลากร อบต. บ้านปรก มีความพึงพอใจในการทำงานที่ครอบคลุมด้านทันตสาธารณสุข แต่มีความไม่พึงพอใจในการดำเนินงานด้านการเงินการบัญชีของ รพ.สต. บ้านปรก ส่วนผลกระทบภายหลังการถ่ายโอนภารกิจด้านทันตสาธารณสุขให้แก่ อบต. บ้านปรก ประชาชนได้รับบริการด้านทันตสาธารณสุขอย่างครอบคลุมในพื้นที่ตำบลบ้านปรก ส่วนผลกระทบทางลบเกิดจากการไม่สามารถนิเทศติดตามประเมินผลการบริการตามตัวชี้วัดที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดได้เนื่องจากเป็นหน่วยงานนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
สรุป: ประชาชนในพื้นที่ที่มีการถ่ายโอนภารกิจด้านทันตสาธารณสุขให้แก่ อบต. ได้รับประโยชน์และตอบสนองต่อความต้องการด้านทันตสุขภาพอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ คณะอนุกรรมการส่งเสริมการถ่ายโอนภารกิจสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัด ควรมีบทบาทสำคัญโดยกำหนดให้ รพ.สต.ที่ต้องการถ่ายโอนทุกแห่งที่มีประชากรในเขตรับผิดชอบตั้งแต่ 3,000 คนขึ้นไป ต้องมีเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข 1 ตำแหน่ง หากไม่มีบุคลากรดังกล่าวกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นต้องดำเนินการสนับสนุนงบประมาณในจัดสรรอัตราทดแทน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีหน้าที่สนับสนุนงบประมาณในการจัดเตรียมสถานที่และครุภัณฑ์ทันตกรรมที่จำเป็นในการบริการทันตสาธารณสุข และทันตบุคลากรภายในจังหวัดควรมีหน้าที่สนับสนุนให้คำปรึกษาในการจัดบริการด้านทันตสาธารณสุขในพื้นที่ถ่ายโอน อีกทั้งกระทรวงสาธารณสุขควรมีหน้าที่สนับสนุนการพัฒนาระบบโปรแกรมการจัดเก็บข้อมูลการบริการทันตสาธารณสุข
References
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะรัฐศาสตร์. รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการศึกษาวิจัยเพื่อติดตามประเมินผลการกระจายอำนาจของไทย [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557[เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://peaceresourcecollaborative. org/wp-content/uploads/2020/05/242.pdf
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. แนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://group.surinpho.go.th/ qualityservice/wp-content/uploads/2022/01/คู่มือการถ่ายโอนภารกิจ-รพ.สต.-ให้แก่-อบจ.pdf
รายงานการตรวจสอบรายงานการเงินหน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปรก อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม ประจำปีงบประมาณ 2564 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน วันที่ 25 มีนาคม 2565; 6
สภาพและข้อมูลพื้นฐาน อบต.บ้านปรก อ.เมืองสมุทรสงคราม จ.สมุทรสงคราม [อินเตอร์เน็ต]. ปีที่พิมพ์ 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565]; เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.banprok.go.th/site/
คู่มือการเลื่อนระดับพนักงานส่วนตำบล [อินเตอร์เน็ต]. อุบลราชธานี: องค์การบริหารส่วนตำบลไร่น้อย; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 3 กรกฏาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://rainoi.go.th/wp-content/uploads/2020/ 09/คู่มือการเลื่อนระดับพนักงานส่วนตำบล.pdf
ลือชัย ศรีเงินยวง, ประเชิญ ศิริวรรณ, สายสุดา วงศ์จินดา, และคณะ. การถ่ายโอนสถานีอนามัยสู่ท้องถิ่น : การสังเคราะห์บทเรียนจากกรณีศึกษาพื้นที่ถ่ายโอน และข้อเสนอเชิงนโยบาย[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556 [เข้าถึงเมื่อ 9 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://164.115.27.97/digital/files/original/8c47ac109301020348892b406f563f 62. pdf
ปุญชรัสมิ์ คุ้มไพทูรย์. คู่มือการรับการถ่ายโอนบุคลากรด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[อินเตอร์เน็ต]. ระยอง: องค์การบริหารส่วนตำบลตะพง; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 9 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.tapong.go.th/intro/wp-content/uploads/2020/12/คู่มือการถ่ายโอน-รพ.-สต.-1.pdf
รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 12 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.senate.go.th/document/ Ext16264/16264870_0004.PDF
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์