พัฒนารูปแบบบริหารการพยาบาลการบริจาคอวัยวะ โรงพยาบาลสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ศิริพร เจริญพงศ์นรา พย.ม., โรงพยาบาลสมุทรสาคร
  • อรวรรณ สมบูรณ์จันทร์ พย.ม., โรงพยาบาลสมุทรสาคร
  • วราพร บุญยะธาน วท.ม., โรงพยาบาลสมุทรสาคร
  • พาณี พิบูลย์เวช วท.ม., โรงพยาบาลสมุทรสาคร

คำสำคัญ:

การบริจาคอวัยวะ, รูปแบบบริหารการพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบบริหารการพยาบาลการบริจาคอวัยวะ โรงพยาบาลสมุทรสาคร

            วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์การรับบริจาคอวัยวะ โรงพยาบาลสมุทรสาคร ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบบริหารการพยาบาลการบริจาคอวัยวะ โรงพยาบาลสมุทรสาคร และระยะที่ 3 ประเมินผลลัพธ์การพัฒนารูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะ เจาะจง ได้แก่ พยาบาลประสานงานการบริจาคอวัยวะประจำหน่วยงาน จำนวน 30 คน และครอบครัวของผู้บริจาคอวัยวะ จำนวน 7 คน ที่ได้รับบริจาคอวัยวะในช่วงที่ทำการศึกษา ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดความรู้ สำหรับพยาบาลประสานงานการบริจาคอวัยวะประจำหน่วยงาน 2) แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลประสานงานการบริจาคอวัยวะประจำหน่วยงาน 3) แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจและความคิดเห็นของครอบครัวผู้บริจาคอวัยวะ  ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์ แอลฟาครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.78, 0.98, และ 0.74 ตามลำดับ และ 4) รูปแบบบริหารการพยาบาลการบริจาคอวัยวะ โรงพยาบาลสมุทรสาคร ประเมินคุณภาพด้วย AGREE II โดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 6 ด้านโดยมีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 91.7 และคะแนนภาพรวม ร้อยละ  95.8 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติ paired samples t test

ผลการศึกษา: 1) รูปแบบบริหารการพยาบาลการบริจาคอวัยวะ โรงพยาบาลสมุทรสาคร ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ (1) เป้าหมาย (2) พยาบาล (3) แนวปฏิบัติการพยาบาล (4) แรงจูงใจ (5) การกำกับติดตาม 2) ผลการใช้รูปแบบฯ แบ่งเป็น (1) ผลลัพธ์ด้านกระบวนการ พบว่าอัตราการค้นหาและคัดกรองผู้เสียชีวิต เดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2565 เป็นร้อยละ 92.7, 98.1 และ 100 มีความถูกต้องของการคัดกรอง เป็นร้อยละ 97.4, 100 และ 100 อัตราการบริจาคอวัยวะและดวงตาต่อผู้ป่วยเสียชีวิต จากเดิมร้อยละ 0–2.4 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 2.9–4.9 (2) ผลลัพธ์ด้านผู้ให้บริการ พบว่าผลคะแนนความรู้ของพยาบาลประสานงานการบริจาคอวัยวะประจำหน่วยงานก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ p < .001 และ ความพึงพอใจของพยาบาลประสานงานการบริจาคอวัยวะประจำหน่วยงานต่อรูปแบบฯโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.26, SD = 0.482) และ (3) ผลลัพธ์ด้านผู้รับบริการ พบว่าความพึงพอใจของครอบครัวของผู้บริจาคอวัยวะต่อกระบวนการการดูแลผู้บริจาคอวัยวะโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 5.00, SD = 0.00) 

สรุปผล: รูปแบบบริหารการพยาบาลการบริจาคอวัยวะ โรงพยาบาลสมุทรสาคร ที่ได้พัฒนาเครือข่ายพยาบาลประสานงานการบริจาคอวัยวะประจำหน่วยงาน ที่มีความรู้ ทักษะในกระบวนการบริจาคอวัยวะ และมีพยาบาลประสานงานการบริจาคอวัยวะเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา สร้างกลุ่มการเรียนรู้ร่วมกัน โดยผู้บริหารทางการพยาบาลกำกับ ติดตาม สร้างแรงจูงใจและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานบริจาคอวัยวะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับการบริจาคอวัยวะและดวงตาเพิ่ม รูปแบบฯมีความเหมาะสม นำไปปฏิบัติได้จริง และสามารถประยุกต์ใช้ได้กับโรงพยาบาลทุกระดับ

References

พึงเนตร สฤษดิ์นิรันดร์. การขอรับบริจาคอวัยวะจากผู้เสียชีวิตสมองตายและการดูแลครอบครัวผู้เสียชีวิต.สรรพสิทธิเวชสาร 2559;37(1–3):59–67.

ดวงตา อ่อนสุวรรณ, สกานต์ บุนนาค, บรรณาธิการ. คู่มือปฏิบัติงานการรับบริจาคอวัยวะ. พิมพ์ครั้งที่1.นนทบุรี: สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.

ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย. รายงานประจำปี 2564[ออนไลน์]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 30 กันยายน 2565 ]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.organdonate.in.th/assets/files/odc2564.pdf.

สุพรพรรณ์ กิจบรรยงเลิศ, วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร. บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการตัดสินใจบริจาคอวัยวะของครอบครัวผู้ป่วยสมองตาย: กรณีศึกษา.วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2562;12(1):49–61.

สมคิด บางโม. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2562: หน้า 70–71.

ประกาศสภาการพยาบาล เรื่องมาตรฐานการพยาบาล พ.ศ.2562. ราชกิจจานุเบกษา136 (97ง);30–36.

Papathanasiou I, Sklavou M, Korkouta L. Holistic nursing care and perspectives. American Journal of Nursing Science. 2013;2(1):1–5.

ปณัชญา เชื้อวงษ์, เสน่ห์ ขุนแก้ว, อมรรัตน์ สว่างเกตุ. บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้บริจาคอวัยวะที่มีภาวะสมองตายในหอผู้ป่วย.วารสารพยาบาล. 2563;69(2):46–55.

ปาณิศา บุณยรัตกลิน.การสื่อสารกับครอบครัวของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤต: บทบาทพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2562;12(2):90–99.

ระพีพรรณ โพธิ์ประทับ. ทุนทางสังคมในการตัดสินใจบริจาคอวัยวะของครอบครัวผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตาย. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์. 2557;3(2):99–122.

สกล สุขพรหม. ปัจจัยความสำเร็จในการเจรจาขอรับบริจาคอวัยวะ ดวงตา และเนื้อเยื่อในเขตสุขภาพที่4.วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2562;9(3):296–303.

ศศิพินทุ์ มงคลไชย, ชื่น อินลา, อำนวยพร นามมัน. การพัฒนาระบบการบริจาคอวัยวะเพื่อการปลูกถ่ายอวัยวะ โรงพยาบาลอุดรธานี.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2560;25(1):93–104.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29