ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (เปลี่ยนน้อยนิด พิชิตออฟฟิศซินโดรม) ต่ออาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่าไหล่ และหลังส่วนล่าง ของบุคลากรที่ทำงานในสำนักงาน โรงพยาบาลนครปฐม

ผู้แต่ง

  • วิศิษฎ์ เนติโรจนกุล พ.บ., โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, บุคลากรสายสนับสนุนในสำนักงาน, การยศาสตร์ในสำนักงาน, ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (เปลี่ยนน้อยนิด พิชิตออฟฟิศซินโดรม) ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอาการปวดคอ บ่าไหล่ และหลังส่วนล่างของบุคลากรสายสนับสนุนที่ทำงานในสำนักงานของโรงพยาบาลนครปฐม

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรสายสนับสนุนที่ทำงานในสำนักงานโรงพยาบาลนครปฐมจำนวน 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 50 คน และกลุ่มทดลอง 50 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลปัจจัยด้านบุคคล 2) ข้อมูลปัจจัยงาน 3) ข้อมูลด้านพฤติกรรมทางด้านการยศาสตร์ 4) อาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณ คอ บ่าไหล่ และหลังช่วงล่าง ซึ่งประเมินจาก Cornell Musculoskeletal Disorder Questionnaire (CMDQ) ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 2 เดือน เปรียบเทียบ ข้อมูลด้านพฤติกรรมทางด้านการยศาสตร์ ของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Pearson’s chi-square test ค่าเฉลี่ยคะแนนอาการปวดกล้ามเนื้อ ของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ด้วยสถิติ independent t test และ paired t test

ผลการศึกษา: หลังการทดลอง 2 เดือน กลุ่มทดลอง มีพฤติกรรมการออกกำลังกาย การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การเปลี่ยนท่าทางขณะทำงาน และการพักสายตาแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวมถึงมีคะแนนปวดกล้ามเนื้อบริเวณ คอ ไหล่ และหลังช่วงล่าง น้อยกว่ากลุ่มควบคุม โดยพบว่า คะแนนปวดเมื่อยกล้ามเนื้อไหล่หรือบ่าข้างซ้ายแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (เปลี่ยนน้อยนิด พิชิตออฟฟิศซินโดรม) สามารถช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางด้านการยศาสตร์และช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณ คอ ไหล่ และหลังช่วงล่างได้

References

Rempel DM, Janowitz IL. Ergonomics and the Prevention of Occupational Injuries. In: Ladou J, Harrison R, editors. Current Occupational and Environmental Medicine. United States: Cenveo; 2014. P.197–221.

พาวิณี ใจบาน, วีระพร ศุทธากรณ์, ธานี แก้วธรรมานุกูล. ปัจจัยด้านการยศาสตร์และอาการผิดปกติโครงร่างกล้ามเนื้อ ของบุคลากรสายสนับสนุนในโรงพยาบาลที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์. พยาบาลสาร. 2556;40:1–11.

ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช. กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง; 2551.

วรวรรณ ภูชาดา, สุนิสา ชายเกลี้ยง. ความชุกของการปวดและระดับความรู้สึกไม่สบายบริเวณคอ ไหล่และหลัง ในพนักงานศูนย์บริการข้อมูล จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2558; 30(4): 369-76.

Mueller GF, Hassenzahl M. Sitting comfort of ergonomic office chairs --- developed versus intuitive evaluation. Int J Occup Saf Ergon. 2010;16(3):369–74.

เจมส์ เคลียร์. Atomic Habits เพราะชีวิตดีได้กว่าที่เป็น. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2563.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม (Theories and Techniques in Behavior Modification). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2549.

เบญญาภา ศรีปัญญา, บรรณสิทธิ สิทธิบรรณกุล. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ด้านการยศาสตร์การทำงานร่วมกับการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่ออาการปวดหลังส่วนล่าง ความสามารถในการทำกิจกรรม และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังในคนทำอาชีพทอผ้าย้อมคราม. วารสารศิลปะศาสตร์และวิทยาการจัดการ. 2563;7(1): 27–40.

Hedge A, Morimoto S, McCrobie D. Effects of keyboard tray geometry on upper body posture and comfort. Ergonomics. 1999;42:1333–49.

Afifehzadeh-Kashani H, Choobineh A, Bakand S, et al. Validity and reliability of farsi version of cornell musculoskeletal discomfort questionnaire (CMDQ). IOH. 2011;7:83–90.

Erdinc O, Hot K, Ozkaya M. Turkish version of the Cornell musculoskeletal discomfort questionnaire: cross cultural adaptation and validation. Work. 2011;39(3):251–60.

Cornell University Ergonomics Web [Internet]. 1999 [cited 2022 Jul 5]. Available from: https://ergo.human.cornell.edu/ahmsquest.html.

Grooten WJ, Mulder M, Wiktorin C. The effect of ergonomic intervention on neck/shoulder and low back pain. Work. 2007;28(4):313–23.

Meis J, Kashima Y. Signage as a tool for behavioral change: Direct and indirect routes to understanding the meaning of a sign. PLoS One. 2017;12(8):e0182975.

Geller ES, Farris JC, Post DS. Prompting a consumer behavior for pollution control. J Appl Behav Anal. 1973;6(3):367–76.

Rebro SM, Patterson RE, Kristal AR, et al. The effect of keeping food records on eating patterns. J Am Diet Assoc. 1998;98(10):1163–5.

Shariat A, Cleland JA, Danaee M, et al. Effects of stretching exercise training and ergonomic modifications on musculoskeletal discomforts of office workers: a randomized controlled trial. Braz J Phys Ther. 2018;22(2):144–53.

Hoe VCW, Urquhart DM, Kelsall HL, et al. Ergonomic interventions for preventing work-related musculoskeletal disorders of the upper limb and neck among office workers. Cochrane Database Syst Rev. 2018;10(10):CD008570.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29