การศึกษาอัตราและปัจจัยที่มีผลต่อความไม่สม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านรูมาตอยด์ ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • เขมภพ ยงชัยรัตน์ พ.บ., โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

ข้ออักเสบรูมาตอยด์, ความไม่สม่ำเสมอในการรับประทานยา, แบบสอบถามความร่วมมือด้านโรคข้อและรูมาติสซั่ม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราและปัจจัยที่มีผลต่อความไม่สม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านรูมาตอยด์ ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

            วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่มารับบริการที่คลินิกอายุรกรรมโรคข้อและรูมาติสซั่ม โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 223 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูล 5 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้ แบบวัดเจตคติ แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามความร่วมมือด้านโรคข้อและรูมาติสซั่ม เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564–15 กันยายน พ.ศ.2564

            ผลการศึกษา: อัตราของความไม่สม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านรูมาตอยด์ในกลุ่มตัวอย่าง คือ ร้อยละ 28.7 และปัจจัยที่มีผลต่อความไม่สม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านรูมาตอยด์ ได้แก่ อายุ สถานภาพการแต่งงาน ระดับเจตคติ และระดับการสนับสนุนทางสังคม

            สรุป: ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มีปัจจัยที่มีผลต่อความไม่สม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านรูมาตอยด์แตกต่างกัน การประเมินและทบทวนความรู้ ความเข้าใจ ผลข้างเคียงของการใช้ยา โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ รวมทั้งการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม จัดหาสื่อความรู้ต่างๆที่ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีความหลากหลาย ช่วยทำให้ผู้ป่วยรับประทานยาสม่ำเสมอยิ่งขึ้น

References

วรวิทย์ เลาห์เรณู. ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มีแนวโน้มมากขึ้น ส่วนใหญ่ได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 30 ม.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.hfocus.org/content/2018/11/16583.

de Klerk E, van der Heijde D, Landewé R, et al. The compliance-questionnaire-rheumatology compared with electronic medication event monitoring: a validation study. J Rheumatol. 2003;30(11):2469–75.

Rauscher V, Englbrecht M, van der Heijde D, et al. High degree of nonadherence to disease-modifying antirheumatic drugs in patients with rheumatoid arthritis. J Rheumatol. 2015;42(3):386–90.

Bloom BS. Learning for Mastery. Center for the Study of Evaluation of Instructional Programs. 1986;1(2):47–62.

Katchamart W, Narongroeknawin P, Sukprasert N, et al. Rate and causes of noncompliance with disease-modifying antirheumatic drug regimens in patients with rheumatoid arthritis. Clin Rheumatol. 2021;40(4):1291–8.

รัตนภา เผื่อนอุดม. Rheumatoid arthritis. In: อัจฉรา กุลวิสุทธิ์, ไพจิตต์ อัศวธนบดี, ทัศนีย์ กิตอำนวยพงษ์, editors. Rheumatology for the non-rheumatologist. กรุงเทพฯ: สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย; 2562. p. 45–65.

van den Bemt BJ, van den Hoogen FH, Benraad B, et al. Adherence rates and associations with nonadherence in patients with rheumatoid arthritis using disease modifying antirheumatic drugs. J Rheumatol. 2009;36(10):2164–70.

de Thurah A, Nørgaard M, Harder I, et al. Compliance with methotrexate treatment in patients with rheumatoid arthritis: influence of patients' beliefs about the medicine. A prospective cohort study. Rheumatol Int. 2010;30(11):1441–8.

Wabe N, Lee A, Wechalekar M, et al. Factors associated with medication adherence in a longitudinal study of rheumatoid arthritis patients. Int J Clin Pract. 2019;73(7):e13375.

Schaefer C, Coyne JC, Lazarus RS. The health-related functions of social support. J Behav Med. 1981;4(4):381–406.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29