การศึกษาประสบการณ์การใช้บริการ และความพึงพอใจของการเข้ารับบริการงานตรวจผู้ป่วยนอก แผนกรังสีรักษา โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี
คำสำคัญ:
คุณภาพบริการ, แผนกผู้ป่วยนอก, ความพึงพอใจ, รังสีรักษาบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพการให้บริการและความพึงพอใจของผู้มารับบริการที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก ศูนย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลราชบุรี และเปรียบเทียบความพึงพอใจชองผู้มารับบริการ ระหว่างเพศ อายุ ระดับการศึกษาและอาชีพ
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนา ใช้แบบสอบถามคุณภาพบริการ โดยสุ่มผู้มารับบริการ จำนวน 894 คน
ผลการศึกษา: ในภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยกระบวนการในการให้บริการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (mean = 4.18, SD = 0.71) รองลงมา คือ ผลการรักษา (mean = 4.17, SD = 0.69) และสถานที่รวมถึงเครื่องมือ (mean = 3.93, SD = 0.79) ส่วนการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้รับบริการระหว่างเพศ อายุ ระดับการศึกษาและอาชีพ พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีอายุ อาชีพและการศึกษาที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า .05
สรุป: ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้ โรงพยาบาลราชบุรีควรมีการวางแผนทั้งบุคลากร งบลงทุนและสิ่งก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาการบริการให้มีคุณภาพและมาตรฐานมากยิ่งขึ้น
References
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 [online] .2560 [เข้าถึงเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=6420&filename=develop_issue.
มูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง. Cancer anywhere [online]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://thaicancersociety.com/rights-to-health-care/cancer-anywhere/.
ศิริพร เจริญศรีวิริยะกุล. คุณภาพการให้บริการโรงพยาบาลทั่วไปของรัฐบาลในเขตจังหวัด ปทุมธานี
[วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต] กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2554.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. การรับฟังประสบการณ์ผู้ป่วยสู่การปรับระบบบริการ [online]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ha.or.th/.
กรมการแพทย์. แนวทางปฏิบัติการปรับปรุงรูปแบบบริการการบริการดูแลรักษาผู้ป่วยนอก (OPD) ในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 [online]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=83.
สถาบันนวัตกรรมและธรรมาภิบาลข้อมูล. สรุปวิธีคำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตร“ทาโร่ ยามาเน่” [online]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://digi.data.go.th/th/blog/method-of-controlling-the-sample/.
บุญชม ศรีสะอาด. การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่างวารสารการวัดผลการศึกษา. 2553;3(1):22–25.
เนตรเพชรรัสมิ์ ตระกูลบุญเนตร. ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนวุฒิสมเด็จย่า. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2560;9:64–74.
อัครณี ภักดีวงษ์. การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) งานบริการผู้ป่วยนอก งานบริการผู้ป่วยในและงานบริการในชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2561
[วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาสถิติ] กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2561.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์