การเปรียบเทียบผลการรักษาภาวะเท้าแบนในผู้ใหญ่โดยการรักษาแบบไม่ผ่าตัดระหว่างวิธีใช้และไม่ใช้ อุปกรณ์พยุงเท้าแบบ custom insole

ผู้แต่ง

  • ปฐพร ประชาภิญโญ พ.บ., โรงพยาบาลชะอำ

คำสำคัญ:

ภาวะเท้าแบนในผู้ใหญ่, อุปกรณ์พยุงเท้าแบบ custom insole, การรักษาภาวะเท้าแบนในผู้ใหญ่โดยการรักษาแบบไม่ผ่าตัด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้งานของเท้าและข้อเท้า และอาการปวดบริเวณอุ้งเท้าด้านใน หรือปวดบริเวณเส้นเอ็น posterior tibial ของผู้ป่วยภาวะเท้าแบนในผู้ใหญ่ ก่อนและหลังการรักษาแบบไม่ผ่าตัดในกลุ่มใช้อุปกรณ์พยุงเท้าแบบ custom insole และ 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้งานของเท้าและข้อเท้า และอาการปวดบริเวณอุ้งเท้าด้านใน หรือปวดบริเวณเส้นเอ็น posterior tibial หลังการรักษาของผู้ป่วยภาวะเท้าแบนในผู้ใหญ่ โดยการรักษาแบบไม่ผ่าตัดระหว่างกลุ่มใช้และไม่ใช้อุปกรณ์พยุงเท้าแบบ custom insole

วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาจากเหตุไปหาผลโดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากผู้ป่วย เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาของผู้ป่วยภาวะเท้าแบนในผู้ใหญ่ โดยการรักษาแบบไม่ผ่าตัดระหว่างกลุ่มใช้และไม่ใช้อุปกรณ์พยุงเท้าแบบ custom insole ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชะอำ ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2561–เดือนธันวาคม 2564 จำนวน 55 ราย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มใช้อุปกรณ์พยุงเท้า 28 ราย และกลุ่มไม่ใช้อุปกรณ์พยุงเท้า 27 ราย เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยภาวะเท้าแบนในผู้ใหญ่ 2) มาตรวัดความสามารถของเท้าและข้อเท้า (Foot and Ankle Ability Measure; FAAM) ฉบับภาษาไทย เฉพาะตัววัดย่อยสำหรับกิจวัตรประจำวัน และ 3) มาตรวัดความปวดแบบตัวเลข (Numerical Rating Scale; NRS) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย จำนวน, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, chi-square test, dependent t test และ independent t test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .05

ผลการศึกษา: 1) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมาตรวัดความสามารถของเท้าและข้อเท้า (FAAM) และค่าเฉลี่ยมาตรวัดความปวดแบบตัวเลข (NRS) ก่อนและหลังการรักษา ในกลุ่มใช้อุปกรณ์พยุงเท้าพบว่า กลุ่มใช้อุปกรณ์พยุงเท้ามีค่าเฉลี่ยมาตรวัดความสามารถของเท้าและข้อเท้า (FAAM) สูงขึ้นหลังการรักษา และมีค่าเฉลี่ยมาตรวัดความปวดแบบตัวเลข (NRS) ลดลงหลังการรักษา โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01 และ p < .01 ตามลำดับ) 2) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมาตรวัดความสามารถของเท้าและข้อเท้า (FAAM) และค่าเฉลี่ยมาตรวัดความปวดแบบตัวเลข (NRS) หลังการรักษา ระหว่างกลุ่มใช้อุปกรณ์พยุงเท้า และกลุ่มไม่ใช้อุปกรณ์พยุงเท้าพบว่า กลุ่มใช้อุปกรณ์พยุงเท้ามีค่าเฉลี่ยมาตรวัดความสามารถของเท้าและข้อเท้า (FAAM) หลังการรักษาสูงกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) และมีค่าเฉลี่ยมาตรวัดความปวดแบบตัวเลข (NRS) หลังการรักษาต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01)

สรุป: กลุ่มใช้อุปกรณ์พยุงเท้ามีค่าเฉลี่ยมาตรวัดความสามารถของเท้าและข้อเท้า (FAAM) หลังการรักษาสูงกว่า และมีค่าเฉลี่ยมาตรวัดความปวดแบบตัวเลข (NRS) หลังการรักษาต่ำกว่ากลุ่มไม่ใช้อุปกรณ์พยุงเท้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงถึงประสิทธิภาพการใช้งานของเท้าและข้อเท้าที่เพิ่มขึ้น และอาการปวดบริเวณอุ้งเท้าด้านใน หรือปวดบริเวณเส้นเอ็น posterior tibial ที่ลดลงหลังการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

Toullec E. Adult flatfoot. Orthop Traumatol Surg Res. 2015;101:11–17.

Deland JT. Adult-acquired flatfoot deformity. J Am Acad Orthop Surg. 2008;16(7):399–406.

Henry JK, Shakked R, Ellis SJ. Adult-Acquired Flatfoot Deformity. Foot Ankle Orthop. 2019;4(1):1–17.

Kohls-Gatzoulis J, Woods B, Angel JC, et al. The prevalence of symptomatic posterior tibialis tendon dysfunction in women over the age of 40 in England. Foot Ankle Surg. 2009;15(2):75–81.

Abousayed MM, Alley MC, Shakked R, et al. Adult-Acquired Flatfoot Deformity: Etiology, Diagnosis, and Management. JBJS Rev. 2017;5(8):e7:1–11.

Johnson KA, Strom DE. Tibialis posterior tendon dysfunction. Clin Orthop Relat Res. 1989; 239:196–206.

Myerson MS. Adult acquired flatfoot deformity: Treatment of dysfunction of the posterior tibial tendon. Instr Course Lect. 1997;46:393–405.

ชัชวาลย์ เจริญธรรมรักษา, มารุต อรุณากูร. ภาวะเท้าแบนในผู้ใหญ่. ใน: ชำนาญนิติ์ รุ้งพราย, นุสรณ์ ไชยพรหม, มารุต อรุณากูร, และคณะ บรรณาธิการ. ออร์โธปิดิกส์ปัญญาวัตร เท้าและข้อเท้า. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: บริษัท ยูเนี่ยน ครีเอชั่น จำกัด; 2563. หน้า 106–117.

Haddad SL, Deland JT. Pes planus. In: Coughlin MJ, Saltzmann CL, Anderson RB, editors. Mann’s surgery of the foot and ankle. 9th ed. Philadelphia: Elsevier Saunders; 2014. p. 1292–360.

Alvarez RG, Marini A, Schmitt C, et al. Stage I and II posterior tibial tendon dysfunction treated by a structured nonoperative management protocol: an orthosis and exercise program. Foot Ankle Int. 2006;27(1):2–8.

Kulig K, Reischl SF, Pomrantz AB, et al. Nonsurgical management of posterior tibial tendon dysfunction with orthoses and resistive exercise: a randomized controlled trial. Phys Ther. 2009;89(1):26–37.

Nielsen MD, Dodson EE, Shadrick DL, et al. Nonoperative care for the treatment of adult-acquired flatfoot deformity. J Foot Ankle Surg. 2010;50(3):311–4.

Chao W, Wapner KL, Lee TH, et al. Nonoperative management of posterior tibial tendon dysfunction. Foot Ankle Int. 1996;17(12):736–41.

Mosier SM, Lucas DR, Pomeroy G, et al. Pathology of the posterior tibial tendon insufficiency. Foot Ankle Int. 1998;19(8):520–4.

Malicky ES, Crary JL, Houghton MJ, et al. Talocalcaneal and subfibular impingement in symptomatic flatfoot in adults. J Bone Joint Surg Am. 2002;84-A:2005–9.

Lin JL, Balbas J, Richardson EG. Results of Non-Surgical Treatment of Stage II Posterior Tibial Tendon Dysfunction: A 7- to 10-Year Follow up. Foot Ankle Int. 2008;29(8):781–6.

Gómez-Jurado I, Juárez-Jiménez JM, Munuera-Martínez PV. Orthotic treatment for stage I and II posterior tibial tendon dysfunction (flat foot): A systematic review. Clin Rehabil. 2020;00(0):1–10.

Arunakul M, Arunakul P, Suesiritumrong C, et al. Validity and Reliability of Thai Version of the Foot and Ankle Ability Measure (FAAM) Subjective Form. J Med Assoc Thai. 2015;98(6): 561–7.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29