อาการแสดง อุบัติการณ์ และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในระยะแรกของทารกแรกคลอดที่มีอาการสงสัยหรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ในโรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • จารุภา คุณาธาทร พ.บ., โรงพยาบาลโพธาราม

คำสำคัญ:

อาการแสดง, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในระยะแรกหลังเกิด, ทารกที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอาการแสดง อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในระยะแรกหลังเกิดของทารกที่มีอาการสงสัยหรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในโรงพยาบาลโพธาราม

 

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนทารกแรกเกิดของหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เป็นระยะเวลา 5 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบบันทึกข้อมูลเวชระเบียนทารกที่มีอาการสงสัยหรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดในระยะแรกหลังเกิด ในโรงพยาบาลโพธาราม นำเสนอข้อมูลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดในระยะแรกหลังเกิดด้วยการวิเคราะห์ t test independent, chi-square test

 

ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 105 ราย พบว่า อาการแสดงทางคลินิกของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในระยะแรกหลังเกิดพบได้ร้อยละ 89 อาการที่พบบ่อย ได้แก่ อาการทางระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 47.6

อุบัติการณ์ของการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในระยะแรกหลังเกิดของทารกที่มีอาการสงสัยหรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในโรงพยาบาลโพธาราม พบได้ร้อยละ 75.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในระยะแรกหลังเกิดของทารก ได้แก่ คะแนน Apgar ที่ 1 นาที (p < .01), 5 นาที (p < .01), และ 10 นาที (p < .01) ภาวะขาดออกซิเจนระหว่างคลอดของทารกแรกเกิด (p = .018), และมารดาที่มีข้อบ่งชี้การให้ยาปฏิชีวนะในระหว่างคลอดแต่ได้รับไม่เพียงพอ (p = .005) ส่วนปัจจัยอื่น ได้แก่ เพศ วิธีการคลอด และปัจจัยด้านมารดาอื่น เช่น การมีไข้ก่อนคลอดของมารดา มารดามีเม็ดเลือดขาวสูง ภาวะติดเชื้อในครรภ์มารดาในระยะคลอด ภาวะติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ภาวะการแตกรั่วของถุงน้ำคร่ำก่อนที่จะมีการเจ็บครรภ์คลอดตั้งแต่ 18 ชั่วโมงขึ้นไป ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในระยะแรกหลังเกิดของทารกแรกเกิด

 

สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในระยะแรกหลังเกิดของทารกที่มีอาการสงสัยหรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ได้แก่ คะแนน Apgar ที่ 1 นาที 5 นาที และ 10 นาที ภาวะขาดออกซิเจนระหว่างคลอดของทารกแรกเกิด และมารดาที่มีข้อบ่งชี้การให้ยาปฏิชีวนะในระหว่างคลอดแต่ได้รับไม่เพียงพอ ดังนั้นเป็นบทบาทของบุคลากรทางการแพทย์ในการลดปัจจัยเหล่านี้ โดยควรมีแนวทางการคัดกรองประเมินความเสี่ยงการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในระยะแรกหลังเกิดทั้งในหญิงตั้งครรภ์และในทารกหลังคลอด เพื่อจะได้ให้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม ลดอุบัติการณ์การเกิด ภาวะแทรกซ้อน และทารกได้รับการรักษาที่รวดเร็ว

References

Sankar MJ, Natarajan CK, Das RR, et al. When do newborns die? A systematic review of timing of overall and cause-specific neonatal deaths in developing countries. J Perinatol. 2016;36:1–11. doi: 10.1038/jp.2016.27.

Thatrimontrichai A, Khunnarakpong N, Tantichanthakarun P, at al. Neonatal group B Streptococcus sepsis: a multicenter study in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2017;48(5):1063-71.

Sinha S, Miall L, Jardine L, Essential neonatal medicine. 6th ed. Oxford: John Wiley & Sons Ltd; 2018:98–113.

Puopolo KM, Benitz WE, Zaoutis TE. Management of neonates born at≥ 35 0/7 weeks’ gestation with suspected or proven early-onset bacterial sepsis. Pediatrics. 2018;142(6):1–10. doi: 10.1542/peds.2018-2894.

Puopolo KM, Benitz WE, Zaoutis TE, et al. Management of neonates born at ≤ 346/7 weeks’ gestation with suspected or proven early-onset bacterial sepsis. Pediatrics. 2018;142(6):e20182896. doi: 10.1542/peds.2018-2894.

Leonard EG, Dobbs K. Postnatal infection In: Martin RJ Fanaroff AA, Walse AC, editors. Fanaroff & Martin’s neonatal-perinatal medicine disease of the fetus and infant. 10th ed. Philadelphia: Suanders; 2015:734–7.

ศิริสุดา อัญญะโพธิ์. การติดเชื้อทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลอ่างทอง. วารสารวิชาการ รพศ/รพท เขต 4. 2558;17(3):174–82.

Salem SY, Sheiner E, Zmora E, et al. Risk factors for early neonatal sepsis. Arch gynecol obstet. 2006;274(4):198–202. doi: 10.1007/s00404-006-0135-1

Adcock L, Papile L. Perinatal Asphyxia. In: Manual of Neonatal Care. Ed. Cloherty, J, Eichenwald,E. and Stark,A. 6th Ed. Wolters Kluwer. Philadelphia. 2004: 518–20.

Adatara P, Afaya A, Mohammed S, et al. Risk Factors Associated with Neonatal Sepsis: A Case Study at a Specialist Hospital in Ghana". Sci. World J 2019:1–11. DOI:10.1155/2019/9369051

Hasan M, Mahmood C. Predictive Values of Risk Factors in Neonatal Sepsis. J. Bangladesh Coll. Phys. [Internet]. 2012 Jul. 20 [cited 2022 Jul. 20];29(4):187-95. Available from:

https://www.banglajol.info/index.php/JBCPS/article/view/11324

Hannah C. Kinney, Joseph J. Volpe's Neurology of the Newborn 6th Ed, Elsevier, 2018, 484–99.

Hayun M, Alasiry E, Daud D, et al. The risk factors of early onset neonatal sepsis. AJCEM 2015;3(3):78–82.

Chacko B, Sohi I. Early onset neonatal sepsis. Indian J Pediatr. 2005;72(1):23–6. doi: 10.1007/BF02760574.

Edwards RK, Jamie WE, Sterner D, et al. Intrapartum antibiotic prophylaxis and early-onset neonatal sepsis patterns. Infect Dis Obstet Gynecol. 2003;11(4):221–6. doi: 10.1080/10647440300025525.

Verani JR, McGee L, Schrag SJ. Prevention of perinatal group B streptococcal disease--revised guidelines from CDC, 2010. MMWR Recomm Rep. 2010;59(RR-10):1–36.

Leal YA, Álvarez-Nemegyei J, Velázquez JR, et al. Risk factors and prognosis for neonatal sepsis in southeastern Mexico: analysis of a four-year historic cohort follow-up. BMC pregnancy and childbirth. 2012;12(1):1–9. doi: 10.1186/1471-2393-12-48.

Schrag SJ, Hadler JL, Arnold KE, et al. Risk factors for invasive, early-onset Escherichia coli infections in the era of widespread intrapartum antibiotic use. Pediatrics. 2006;118(2):570-6. doi: 10.1542/peds.2005-3083.

เผยแพร่แล้ว

2023-03-30