ผลการรักษารากฟันกรามแท้ในกลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ : การศึกษาย้อนหลัง

ผู้แต่ง

  • กัลยา ชยวัฑโฒ ท.บ., โรงพยาบาลบางสะพาน
  • มินตรา จันทราพิรัตน์ ท.บ., โรงพยาบาลบางสะพาน
  • นวพร กีรติไพศาลสกุล ท.บ., โรงพยาบาลบางสะพาน

คำสำคัญ:

การรักษารากฟันกรามแท้, ผลการรักษา, ผลสำเร็จ, ปัจจัยต่อผลการรักษา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลการรักษารากฟันกรามแท้ และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษารากฟันกรามแท้ที่คลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังโดยติดตามผลการรักษารากฟันกรามแท้จำนวน 160 ซี่ ตั้งแต่ปี 2560–2565 ในคลินิกทันตกรรมโรงพยาบาลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ช่วงเวลาติดตามผลการรักษาตั้งแต่ 6 เดือนถึง 60 เดือน ใช้เกณฑ์ประเมินการรักษาจากลักษณะทางคลินิกร่วมกับภาพถ่ายรังสี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน chi-square test และ logistic regression

 

ผลการศึกษา: ผลการรักษารากฟันกรามแท้สำเร็จ 124 ซี่ ร้อยละ 77.5 และผลการรักษาไม่แน่นอน 35 ซี่ ร้อยละ 21.9 ผลการรักษาล้มเหลว 1 ซี่ ร้อยละ 0.6

 

สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) ได้แก่ สภาวะเนื้อเยื่อใน และรอยโรครอบปลายรากฟันก่อนการรักษา

 

References

Ng YL, Mann V, Rahbaran S, et al. Outcome of primary root canal treatment: systematic review of the literature Part 2. Influence of clinical factor. Int Endod J. 2008;41(41):6–31. doi: 10.1111/j.1365-2591.2007.01323.x.

พรพานิช ศิวเวชพิกุล และคณะ. ผลการรักษารากฟันโดยนักศึกษาทันตแพทย์: การศึกษาแบบย้อนหลัง. CU Dent J. 2019;42:39–52.

Pholbungkerd P. Study of success and failure of nonsurgical root canal treatment in upper and lower anterior teeth performed by under graduated student, Faculty of Dentistry, Chiangmai University during 1999.

Yanpiset K, Jantarat J, Chivatxanukul P. Endodontic success: a retrospective study based on clinical and radiographic analysis. Mahidol Dent J. 2006:26:289–98.

Kirkevang LL, Vaeth M, Horsted-Bindslev P, et al. Risk factors for developing apical peridontitis in a general population. Int Endod J. 2007;40(4):290–9. doi: 10.1111/j.1365-2591.2007.01224.x.

Nagasiri R, Chitmonkolsuk S. Long-term survival of endodontically treated molars without crown coverage: A retrospective cohort study. J Prothet Dent. 2005;93(2):164–70. doi: 10.1016/j.prosdent.2004.11.001.

Kojima K, Inamoto K, Nagamatsu K, et al. Success rate of endodontic treatment of teeth with vital and nonvital pulps. A meta analysis. Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Raidol Endod. 2004;97(1):95–9. doi: 10.1016/j.tripleo.2003.07.006.

Sjogren U, Hagglund B, Sundqvist G, et al. Factors affecting the long-term results of endodontic treatment. J Endod. 1990;16(10):498–504. doi: 10.1016/S0099-2399(07)80180-4.

นธร ขจรไพร, ศรัณย์พร วงษ์มานิตย์. ผลการรักษารากฟันในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจากคลินิกทันตกรรมโรงพยาบาลพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารกรมการแพทย์. 2562;44(5):87–94.

Safavi KE, Dowden WE, Langrland K. Influence of delayed coronal permanent restoration on endodontic prognosis. Dent Traumato. 1987;3(4): 187–91. doi: 10.1111/j.1600-9657.1987.tb00622.x.

เผยแพร่แล้ว

2023-03-30