การเยี่ยมบ้านแนวใหม่แบบผสมผสานคลินิกแอทโฮม
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดูแลตนเอง, การจัดระบบบริการ, ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวานบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานในอำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี และศึกษาผลการจัดระบบบริการโดยการสนับสนุนจากบุคลากรสาธารณสุขและครอบครัว
วิธีการศึกษา: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานในอำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี เป็นแบบผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มารับการรักษา รพ.สต. ในเขตรับผิดชอบของอำเภอด่านมะขามเตี้ยและโรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ย อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี และสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 307 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปโดยใช้สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยค่า ไค-สแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการทดสอบของฟิชเชอร์ (Fisher exact test) และวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สำหรับการศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานในอำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ใช้การวิเคราะห์ด้วยการทดสอบค่าที
ผลการศึกษา: เมื่อหาความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล คือ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา การได้รับแรงสนับสนุนจากกลุ่มบุคคลโดยรวม ความรู้ในการปฏิบัติตนขณะป่วย การรับรู้ต่อภาวะสุขภาพโดยรวม การรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ประโยชน์ในการดูแลตนเอง การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง และการรับรู้ต่อความสามารถตนเอง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ในอำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบความรู้ในการปฏิบัติตนเองขณะเป็นโรคเบาหวาน การรับรู้ภาวะสุขภาพโดยรวม การได้รับแรงสนับสนุนในภาพรวม และพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวม พบว่า มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการรับรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพขณะเป็นโรคเบาหวานไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
สรุป: เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานในอำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ที่ได้รับการจัดระบบบริการเยี่ยมบ้านแบบแอทโฮมโดยทีมสหวิชาชีพ พบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน กลุ่มทดลองมีความรู้ในการปฏิบัติตน การรับรู้ภาวะสุขภาพโดยรวม การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมในภาพรวม และพฤติกรรมการดูแลตนเองภายหลังการได้รับโปรแกรมแตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการรับรู้ความสามารถตนเองในการดูแลสุขภาพ ไม่มีความแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
World Health Organization. Closing the gap in a generation: health equity though action on the social determinants of health. Geneva: World Health Organization; 2008.
จิราภรณ์ เดชมา, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย, วิชุดา กิจธรธรรม.การศึกษาปัจจัยทำนายภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนภายใต้ทฤษฎีการพยาบาลของคิง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2556; 27(2):63–80.
นิตยา พันธุเวทย์, นุชรี อาบสุวรรณ, กาญจนา ศรีสวัสดิ์. การสื่อสารเชิงนโยบายเรื่องปัญหาและการป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตำรวจ; 2554.
นุชรี อาบสุวรรณ, นิตยา พันธุเวทย์. ประเด็นรณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2554. สํานักโรคไม่ติดต่อ กรมควบโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจ สุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551–2. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2554.
วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจ สุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้าน สาธารณสุข (พ.ศ. 2560–2579) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2561). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
ลักษณา พงษ์ภุมรา, ศุภรา หิมานันโต. ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. ว. มฉก.วิชาการ. 2560;20(40):67–76.
วรรณรา ชื่นวัฒนา, ณิชานาฏ สอนภักดี. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบล บางแม่นาง อำเภอบางใหญ่จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 2557;6(3):163–70.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์