ปัจจัยพยากรณ์ภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลเด็กและวัยรุ่นสมาธิสั้น ณ แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พรรณนภา อุดมโชติพฤทธิ์ พ.บ., โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

สมาธิสั้น, การทำหน้าที่ของครอบครัว, การเผชิญความเครียด, พลังสุขภาพจิต, ภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลเด็กและวัยรุ่นสมาธิสั้นที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลนครปฐม โดยมีการทำหน้าที่ของครอบครัว การเผชิญความเครียด และพลังสุขภาพจิตเป็นตัวพยากรณ์

 

วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลเด็กและวัยรุ่นสมาธิสั้น อายุระหว่าง 20–60 ปี ที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลนครปฐม จำนวน 126 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ค่าทีอิสระและความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเพื่อตรวจสอบภาวะร่วมเส้นตรงพหุ ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์ค่าอิทธิพลการพยากรณ์โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธี enter กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

ผลการศึกษา: ผู้ดูแลเด็กและวัยรุ่นสมาธิสั้น ณ แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลนครปฐม มีการทำหน้าที่ของครอบครัว การเผชิญความเครียด อยู่ในระดับปานกลาง มีพลังสุขภาพจิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ และมีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านเพศ สถานภาพสมรส และโรคทางจิตเวชที่พบร่วมของเด็กที่แตกต่างกัน มีภาวะซึมเศร้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001, .01, และ .05 ตามลำดับ การทำหน้าที่ของครอบครัว การเผชิญความเครียด และพลังสุขภาพจิต สามารถร่วมกันพยากรณ์ภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลได้ โดยการทำหน้าที่ของครอบครัวสามารถพยากรณ์ภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลมากที่สุด รองลงมาคือ การเผชิญความเครียด และพลังสุขภาพจิต มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐานเท่ากับ -.372, .358, และ -.303 ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 57.7 มีอำนาจในการพยากรณ์ (R2) ได้ร้อยละ 33.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

 

สรุป: ผู้ดูแลเด็กและวัยรุ่นสมาธิสั้นในกลุ่มผู้ดูแลที่มีภาวะซึมเศร้าระดับน้อย จะนำเสนอการให้คำแนะนำปรึกษาและติดตามดูแลเพื่อป้องกันไม่ให้มีภาวะซึมเศร้าที่แย่ลง และในกลุ่มผู้มีภาวะซึมเศร้าเข้าเกณฑ์จะนำส่งพบจิตแพทย์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและเข้าสู่กระบวนการดูแลรักษาตามขั้นตอนต่อไป ควบคู่ไปกับการพัฒนาการทำหน้าที่ของครอบครัว การเผชิญความเครียด และพลังสุขภาพจิต ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลเด็กและวัยรุ่นสมาธิสั้น ควรมีการนำเอาผู้ดูแลและครอบครัวเพิ่มเข้าไปในแผนการรักษาเด็กและวัยรุ่นสมาธิสั้นด้วย เพื่อช่วยแก้ปัญหาที่ผู้ดูแลกำลังเผชิญอยู่ที่อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดูแลเด็กและวัยรุ่นสมาธิสั้น และลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อเด็กและวัยรุ่นสมาธิสั้นรวมถึงผู้ดูแลหรือครอบครัวเท่าที่จะเป็นไปได้

References

Health Data Center. กลุ่มรายงานมาตรฐาน: ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาสุขภาพจิตและจิตเวช: ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นเข้าถึงบริการ (workload)[อินเทอร์เน็ต]. 2022. [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 27 กันยายน 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php& cat_id=22710ed5db1ed6b12aab540a7b0753b3&id=90ccfbfd92f7d1bdd89d0cfd8b4e46ec.

เวชระเบียนกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด. ข้อมูลผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้น. นครปฐม: แผนกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น แผนกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลนครปฐม. 2565.

Polanczyk GV, Salum GA, Sugaya LS, et al. Annual Research Review: A meta-analysis of the worldwide prevalence of mental disorders in children and adolescents. J Child Psychol Psychiatry 2015;56(3):345–65. doi: 10.1111/jcpp.12381.

Jacqueline D, Bernabe MD, Paulita MV, et al. Depression, anxiety, and caregiver burden among adult caregivers of pediatric patients with neurodevelopmental disorders: A descriptive cross-sectional study. HSJ. 2021;10(2):69–80. doi: 10.1155/2021/3518050

Weiss, G. Hyperactive children grown up: ADHD in children, adolescents, and adults. 2nd ed. New York: Guildford; 1993.

Regier DA, Narrow WE, Kuhl EA, et al. The conceptual development of DSM-V. Am J Psychiatry. 2009;166(6):645–50. DOI: 10.1176/appi.ajp.2009.09020279

Al-Balushi N, Al Shekaili M, Al-Alawi M, et al. Prevalence and predictors of depressive symptoms among caregivers of children with attention-deficit/hyperactivity disorder attending a tertiary care facility: A cross-sectional analytical study from Muscat, Oman. Early Child Development and Care 2019;189(5):1515–24.

Paidipati CP, Brawner B, Eiraldi R, et al. Parent and family processes related to ADHD management in Ethnically diverse youth. J Am Psychiatr Nurses Assoc 2017;23(2):90–112. doi: 10.1177/1078390316687023

Samanta AP, Das S, Nath S. Quality of life, perceived Stress, Coping and burden among caregivers of behavioral disorder children: A narrative review. Mal J Med Health Sci 2022; 18(SUPP2):295–301.

Balagan MMB. Tarroja MC. Challenges, coping strategies, and needs of mothers with children with attention deficit hyperactivity disorder: Implications for intervention. Open Journal of Social Sciences. 2020;8(12):24–35. DOI: 10.4236/jss.2020.812003

กรมสุขภาพจิต. เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี พลังสุขภาพจิต RQ: Resilience Quotient. พิมพ์ครั้งที่ 4. สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

พรรณพิมล วิปุลากร. นโยบายกรมสุขภาพจิต: นโยบายการพัฒนางานสุขภาพจิต ประจำปีงบประมาณ 2564. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

อุมาพร ตรังคสมบัติ. จิตบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ซันต้าการพิมพ์; 2554.

ปราณี มิ่งขวัญ. ความเครียดและการเผชิญความเครียดผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2542.

มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์. แบบประเมินวัดความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าชนิดให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามเอง. วารสารแพทย์สมาคมแห่งประเทศไทย 2542;20(1):17–19.

สุทิน ชนะบุญ. บทที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน. ในสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านสุขภาพเบื้องต้น. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2560.

Mosby CV. Mosby's medical dictionary. 10th edition. Amsterdam: Elsevier health sciences. 2017.

Moen ØL, Hedelin B, Hall-Lord ML. Parental perception of family functioning in everyday life with a child with ADHD. Scand J Public Health 2015;43(1):10–7. doi: 10.1177/1403494814559803.

Guo YL, Liu YJ. Family functioning and depression in primary caregivers of stroke patients in China. Nurs Sci J Thai 2015;2(2):184–189.

Epstein-Lubow GP, Beevers CG, Bishop DS, et al. Family functioning is associated with depressive symptoms in caregivers of acute stroke survivors. Arch Phys Med Rehabil 2009;90(6):947–55. doi: 10.1016/j.apmr.2008.12.014.

Cassidy T, McLaughlin M. Psychological distress of female caregivers of significant others with cancer. Cogent Psychology 2015;2(1):999405.

Semenova V, Stadtlander LM. Death anxiety, depression, and coping in family caregivers. J Soc Behav Health Sci 2016;10(1):34–48.

Cassidy T. Stress, coping, resilience, and health. In T.J. Devonport (Ed.), Managing stress: From theory to application (pp. 1–40). Hauppauge. New York: Nova Science. 2011.

Pinquart M, Sorensen S. Spouses, adult children, and children-in-law as caregivers of older adults: A meta-analytic comparison. Psychol Aging 2011;26(1):1–14. doi: 10.1037/a0021863.

Adams D, Rose J, Jackson N, et al. Coping Strategies in Mothers of Children with Intellectual Disabilities Showing Multiple Forms of Challenging Behaviour: Associations with Maternal Mental Health. Behav Cogn Psychother. 2018;46(3):257–75. doi: 10.1017/S1352465817000704.

Chou WJ, Hsiao RC, Chang CC, et al. Predictors of depressive symptoms in caregivers of children with attention-deficit/hyperactivity disorder: A one-year follow-up study. Int J Environ Res Public Health 2021;18(16):8835. doi: 10.3390/ijerph18168835.

Gardiner E, Iarocci G. Unhappy (and happy) in their own way: A developmental psychopathology perspective on quality of life for families living with developmental disability with and without autism. Res Dev Disabil 2012;33(6):2177–92. doi: 10.1016/j.ridd.2012.06.014.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลรักษา mhGAP ฉบับที่ 2.0. ขององค์การอนามัยโลก. กรุงเทพฯ: บียอนด์พับลิสชิ่ง; 2563.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือสร้างสรรค์พลังใจวัยทีน. กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิชชิ่ง; 2562.

Janha P, Punyapas S, Ratta-apha W. Parental stress-coping skills and resilience among parents of children with specific learning disorders. Siriraj Medical Journal. 2021;73(1):38–45.

นิธิพัฒน์ เมฆขจร. ความยืดหยุ่นทางจิตใจ (Resilience): วิถีใหม่ของการเสริมสร้างพลังใจเพื่อ การเผชิญวิกฤตชีวิตในยุคปัจจุบัน. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. 2564;11:1–9.

เผยแพร่แล้ว

2023-03-30