ภาวะแทรกซ้อนหลังการเกลารากฟัน

ผู้แต่ง

  • สุรวดี วดีรัตน์ ท.บ., โรงพยาบาลห้วยพลู

คำสำคัญ:

เกลารากฟัน, โรคปริทันต์อักเสบ, ภาวะแทรกซ้อน, อาการปวด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการเกลารากฟันของคลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลห้วยพลู

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลไปข้างหน้า ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคปริทันต์อักเสบโดยการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟัน ณ คลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลห้วยพลู ที่อยู่ในระบบบริการทันตกรรมปกติ ข้อมูลที่เก็บประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย สภาวะปริทันต์ และอาการของผู้ป่วย โดยเฉพาะอาการปวด ติดตามภาวะแทรกซ้อนด้วยการสอบถามทางโทรศัพท์ในวันที่ 1, 3, และ 7 หลังการรักษา ประเมินอาการปวดด้วย visual rating scale และวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวโดยใช้สถิติพรรณนา ส่วนการศึกษาเชิงเปรียบเทียบของอาการปวดนับแต่วันที่ทำการเกลารากฟัน (วันที่ 0) และหลังการเกลารากฟันวันที่ 1, 3, และ 7 ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียวแบบวัดซ้ำ (repeated measure one-way ANOVA)  และใช้สถิติเพียร์สัน ไคสแควร์ เพื่อทดสอบความเกี่ยวพันเบื้องต้นระหว่างข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยกับอาการปวด

ผลการศึกษา: ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดคือ อาการปวด ส่วนใหญ่เป็นอาการปวดน้อยถึงปานกลาง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมากที่สุดภายหลังการเกลารากฟัน 1 วัน (ร้อยละ 29.1) และอาการจะทุเลาลงจนไม่มีอาการปวดภายใน 3–7 วัน ระดับความเจ็บปวดก่อนการรักษาและหลังการรักษา 1 วัน, 3 วัน, และ 7 วัน มีความแตกต่างกันอย่างน้อย 1 วัน (F-value = 54.374, p-value < .001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05  ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่พบได้แก่ อาการเหงือกบวม อาการเลือดออกจากเหงือก อาการเสียวฟันเมื่อรับประทานของเย็นและเสียวฟันขณะแปรงฟัน รวมทั้งมีไข้ต่ำๆด้วย

สรุป: ภาวะแทรกซ้อนหลังจากการเกลารากฟันที่พบส่วนใหญ่คืออาการปวด ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมากที่สุดภายหลังการเกลารากฟัน 1 วัน อาการปวดที่พบอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง และอาการปวดจะทุเลาลงจนไม่มีอาการภายใน 3–7 วัน

 

References

Kwon T, Lamster IB, Levin L. Current Concepts in the Management of Periodontitis. Int Dent J. 2021;71(6):462–76. doi: 10.1111/idj.12630

Leon LE, Vogel RI. A comparison of the effectiveness of hand scaling and ultrasonic debridement in furcation as evaluated by differential dark-field microscopy. J Periodontol 1987;58(2):86–94. doi: 10.1902/jop.1987.58.2.86.

Latheef P, Sirajuddin S, Gundapaneni V, et al. Iatrogenic Damage to the Periodontium Caused by Periodontal Treatment Procedures. Open Dent J. 2015;9:203–7. doi: 10.2174/1874210601509010203

Schirmer C, Dos Santos GO, Rost JF, et al. Factors associated with pain and analgesic consumption following non-surgical periodontal therapy under local anaesthesia and carried out by dental students. J Clin Periodontol. 2018;45(1):68–77. doi: 10.1111/jcpe.12833

Palheiros BR, Cunha FA, Abreu LG, et al. Pain assessment and analgesic consumption after nonsurgical periodontal therapy. J Indian Soc Periodontol. 2021;25(3):237–41. doi: 10.4103/jisp.jisp_309_20.

Kumar PS, Leblebicioglu B. Pain control during nonsurgical periodontal therapy. Compend Contin Educ Dent. 2007;28(12):666–9.

Van Steenberghe D, Garmyn P, Geers L, et al. Patients' experience of pain and discomfort during instrumentation in the diagnosis and non-surgical treatment of periodontitis. J Periodontol. 2004;75(11):1465–70. doi: 10.1902/jop.2004.75.11.1465.

Naik VK, Balasundaram A, Appukuttan D, et al. Preprocedural Anxiety and Pain Perception Following Root Surface Debridement in Chronic Periodontitis Patients. J Nat Sci Biol Med. 2018;9(1):82–9. doi: 10.4103/jnsbm.JNSBM_70_17.

Santuchi CC, Cortelli SC, Cortelli JR, et al. Pre- and post-treatment experiences of fear, anxiety, and pain among chronic periodontitis patients treated by scaling and root planing per quadrant versus one-stage full-mouth disinfection: a 6-month randomized controlled clinical trial. J Clin Periodontol. 2015;42(11):1024–31. doi: 10.1111/jcpe.12472.

Pihlstrom BL, Hargreaves KM, Bouwsma OJ, et al. Pain after periodontal scaling and root planing. J Am Dent Assoc. 1999;130(6):801–7. doi: 10.14219/jada.archive.1999.0303.

Pergolizzi JV, Magnusson P, LeQuang JA, et al. The pharmacological management of dental pain. Expert Opin Pharmacother. 2020;21(5):591–601. doi: 10.1080/14656566.2020.1718651.

Sälzer S, Graetz C, Dörfer CE, et al. Contemporary practices for mechanical oral hygiene to prevent periodontal disease. Periodontol 2000. 2020;84(1):35–44. doi: 10.1111/prd.12332.

Slot DE, Valkenburg C, Van der Weijden GAF. Mechanical plaque removal of periodontal maintenance patients: A systematic review and network meta-analysis. J Clin Periodontol. 2020;47Suppl22:107–24. doi: 10.1111/jcpe.13275.

Giassin NP, Apatzidou DA, Solomou K, et al. Control of dentin/root sensitivity during non-surgical and surgical periodontal treatment. J Clin Periodontol. 2016;43(2):138–46.

เผยแพร่แล้ว

2023-03-30