การศึกษาผลลัพธ์ทางคลินิกของทารกคลอดจากมารดาติดเชื้อซิฟิลิสในโรงพยาบาลบ้านโป่ง

ผู้แต่ง

  • นริศรา แสงปัดสา พ.บ., โรงพยาบาลบ้านโป่ง

คำสำคัญ:

ซิฟิลิสแต่กำเนิด, เพ็นนิซิลิน, ผลลัพธ์ทางคลินิก, ราปิดพลาสมารีเอจิน (RPR), ทรีโพนีมา แพลลิดัม ฮีแมกกลูติเนชั่นเอสเสย์ (TPHA)

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์ทางคลินิกของทารกที่มารดาติดเชื้อซิฟิลิส

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบพรรณนาเก็บข้อมูลย้อนหลัง ทารกคลอดจากมารดาติดเชื้อซิฟิลิสที่เกิดในโรงพยาบาลบ้านโป่ง ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2564

ผลการศึกษา: ทารกคลอดจากมารดาติดเชื้อซิฟิลิส 50 ราย มารดามีการฝากครรภ์ก่อนคลอด 47 ราย (ร้อยละ 94.0) มารดาได้รับการรักษาด้วยยาเพ็นนิซิลินครบ 41 ราย (ร้อยละ 82.0) รักษาด้วยยาเพ็นนิซิลินไม่ครบหรือไม่ได้รับการรักษา 9 ราย (ร้อยละ 18.0) ทารกมีค่ามัธยฐาน rapid plasma reagin (RPR) titer แรกเกิด weakly positive (weakly positive–1:4) อาการทางคลินิกเข้าได้กับซิฟิลิสแต่กำเนิด 3 ราย (ร้อยละ 6.0) ได้แก่ ผื่นผิวหนังลอกฝ่ามือฝ่าเท้า 3 ราย และตับม้ามโต 2 ราย ทารกได้รับการวินิจฉัย confirm และ probable case ตามเกณฑ์ WHO ทั้งสิ้น 16 และ 5 รายตามลำดับ คิดเป็นความชุกของซิฟิลิสแต่กำเนิด 6.1 ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพ ทารกที่มาตรวจติดตามถึงอายุ 18 เดือน มี 18 ราย (ร้อยละ 36.0) ในจำนวนนี้ Treponema pallidum hemagglutination assay (TPHA) ให้ผลบวก 2 ราย (ร้อยละ 11.1)

สรุป: ลักษณะทางคลินิกที่พบได้บ่อยของทารกที่มารดาติดเชื้อซิฟิลิส ได้แก่ ผื่นผิวหนังลอกฝ่ามือฝ่าเท้า และตับม้ามโต โดยความชุกของซิฟิลิสแต่กำเนิดยังมีแนวโน้มสูงที่ 6.1 ต่อเด็กเกิดมีชีพ 1,000 ราย ปัจจัยสำคัญในการป้องกันโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดในทารก คือ การรักษาของมารดาก่อนคลอดด้วยยาเพ็นนิซิลิน ตามมาตรฐาน ส่วนปัจจัยด้านการรักษาของสามีพบไม่มีผลต่ออาการทางคลินิก หรือการติดเชื้อซิฟิลิสแต่กำเนิดอย่างมีนัยสำคัญ

References

Santis MD, Luca CD, Mappa I, et al. Syphilis infection during pregnancy: fetal risks and clinical management. Infect Dis Obstet Gynecol. 2012;2012:430585. doi: 10.1155/2012/430585

Workowski KA, Bolan GA. Sexually transmitted diseases treatment guidelines 2015. MMWR Recomm Rep. 2015;64(RR-3):43–9.

รสพร กิตติเยาวมาลย์, กิตติภูมิ ชินหิรัญ, ธันยนันท์ กังวาฬพรโรจน์, บรรณาธิการ. แนวทางการกำจัดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์; 2564.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังและสอบสวนโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดในเด็กช่วงอายุต่ำกว่า 2 ปี (Congenital syphilis). พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2564.

Thomson J, Sucharew H, Cruz AT, et al. Cerebrospinal fluid reference values for young infants undergoing lumbar puncture. Pediatrics. 2018;141(3):e20173405. doi: 10.1542/peds.2017-3405.

Todd WL, Cruz AT, Freedman SB, et al., Correction of cerebrospinal fluid protein in infants with traumatic lumbar punctures. Pediatr Infect Dis J. 2017;36(10):1006–8. doi: 10.1097/INF.0000000000001634.

Sangtawesin V, Lertsutthiwong W, Kanjanapattanakul W, et al. Outcome of maternal syphilis at rajavithi hospital on offsprings. J Med Assoc Thai. 2005;88(11):1519–25.

Moyer VA, Schneider V, Yetman R, et al. Contribution of long-bone radiographs to the management of congenital syphylis in the newborn infant. Arch Pediatr Adolesc Med. 1998;152(4):353–7. doi: 10.1001/archpedi.152.4.353.

จิราภรณ์ ธินรุ่งโรจน์, ขจรศรี พูลเพิ่ม. ทารกที่มารดาเป็นซิฟิลิสระหว่างตั้งครรภ์ : ผลกระทบต่อทารกหลังคลอดจนถึงอายุ 1 ปี. วารสารแพทย์เขต 7. 1992;31–40.

Hong FC, Wu XB, Yang F, et al. Risk of congenital syphilis (CS) following treatment of maternal syphilis: result of a CS control program in china. Clin Infect Dis. 2017;65(4): 588–93. doi: 10.1093/cid/cix371

Wang HM, Li YY, He YK, et al. TPPA titer as a new adaptation for early diagnosis of congenital syphilis: a retrospective analysis of observation over three years in Yunnan, China. Eur J Med Res. 2019;24(1):7. doi: 10.1186/s40001-019-0367-8.

เผยแพร่แล้ว

2023-03-30