การเปรียบเทียบผลของการรักษากระดูกส้นเท้าหักในระยะต้น ด้วยวิธีการผ่าตัดแบบเปิดแผลมาตรฐานกับวิธีการส่องกล้อง

ผู้แต่ง

  • อดิกันต์ ว่องวานิชวัฒนะ พ.บ., โรงพยาบาลราชบุรี

คำสำคัญ:

กระดูกส้นเท้าหัก, การผ่าตัดกระดูกส้นเท้า, การผ่าตัดกระดูกส้นเท้าแบบส่องกล้อง

บทคัดย่อ

กระดูกส้นเท้าหักแม้จะพบได้ไม่มากนักแต่มีความสำคัญมากเพราะหากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ไม่เหมาะสม หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจส่งผลถึงการใช้งานภายหลังการรักษา หรืออาจรุนแรงจนทำให้เกิดความพิการได้ การผ่าตัดเป็นการรักษากระดูกส้นเท้าวิธีหนึ่งเพื่อจัดเรียงผิวข้อใต้ข้อเท้า (subtalar joint) และจัดรูปกระดูกส้นเท้าให้ใกล้เคียงสภาวะปกติที่สุด แต่ในอดีตการรักษาด้วยการผ่าตัดนั้นทำโดยการผ่าเปิดแผลใหญ่ทางด้านข้าง (lateral extensile approach) เป็นวิธีมาตรฐาน ซึ่งวิธีนี้ทำให้สามารถจัดเรียงผิวข้อได้ง่าย แต่สิ่งที่ตามมาคือเกิดภาวะแทรกซ้อนของเนื้อเยื่อบริเวณผ่าตัดค่อนข้างมาก ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเรื่องของการผ่าตัดเรียงผิวข้อผ่านการส่องกล้อง (arthroscopic assisted reduction and percutaneous screw fixation) ซึ่งพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนลดลง ทางผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของทั้ง 2 วิธีนี้

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลของการรักษากระดูกส้นเท้าหักระหว่างวิธีผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่ กับการผ่าตัดโดยการส่องกล้อง

วิธีทำการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 21 คน กระดูกส้นเท้าหักจำนวน 23 ข้าง (กระดูกส้นเท้าหัก Sanders type II 10 ข้าง และ Sanders type III 13 ข้าง) ที่ได้รับการผ่าตัด แบ่งกลุ่มอย่างสุ่มด้วยการผ่าตัดทั้ง 2 วิธี เป็นการผ่าตัดแบบเปิดแผลมาตรฐาน 12 ข้างและผ่าตัดแบบส่องกล้อง 11 ข้าง แล้วทำการแปลผล

ผลการศึกษา: จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า การผ่าตัดรักษากระดูกส้นเท้าหักโดยการผ่าตัดแผลเล็กผ่านกล้องนั้นผู้ป่วยมีความเจ็บปวดจากการผ่าตัดที่น้อยกว่า และมี AOFAS score ที่ดีกว่า วิธีผ่าเปิดแบบมาตรฐานในระยะสั้น (ภายใน 24 สัปดาห์) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) และจากงานวิจัยนี้พบว่าไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญจากการผ่าตัด อย่างไรก็ตามการประเมิน SF-36 นั้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการผ่าตัดแผลเล็กผ่านกล้องนั้น มีประโยชน์ในการลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดที่ดีกว่า ภาวะแทรกซ้อนที่น้อยกว่า AOFAS score ที่ดีกว่า การผ่าตัดแบบเปิดแผลมาตรฐานในช่วงแรกของการผ่าตัด แต่อย่างไรก็ตามการผ่าตัดลักษณะนี้ก็มีความจำเป็นต้องสำรอง การผ่าตัดแบบเปิดแผลมาตรฐานไว้ เนื่องจากมีโอกาสที่การเรียงผิวข้อผ่านการส่องกล้องจะไม่ประสบความสำเร็จได้

References

Mitchell MJ, McKinley JC, Robinson CM: The epidemiology of calcaneal fractures. Foot (Edinb) 2009;19(4):197–200.

Sanders R: Intraarticular fractures of the calcaneus: present state of the art, J Orthop Trauma 1992;6:252–65,

Rammelt S, Zwipp H. Fractures of the calcaneus: current treatment strategies. Acta Chir Orthop Traumatol Cech 2014;81(3):177–96.

Rammelt S, Zwipp H: Calcaneus fractures. Facts, controversies and recent developments, Injury 2004;35:443–61

Essex-Lopresti P: The mechanism, reduction technique, and results in fractures of the os calcis. Br J Surg 1952;39(157):395–419.

Juliano P, Nguyen HV. Fractures of the calcaneus. Orthop Clin North Am. 2001;32(1):35–51, viii.

Wei N, Zhou Y, Chang W, et al. Displaced Intra-articular Calcaneal Fractures: Classification and Treatment. Orthopedics. 2017; 1;40(6):e921-e9. doi: 10.3928/01477447-20170907-02.

Mehta CR, An VVG, Phan K, et al. Extensile lateral versus sinus tarsi approach for displaced, intra-articular calcaneal fractures: a meta-analysis. J Orthop Surg Res 2018;13(1):243. doi: 10.1186/s13018–018-0943–6.

Gavlik JM, Rammelt S, Zwipp H. Percutaneous, arthroscopically-assisted osteosynthesis of calcaneus fractures. Arch Orthop Trauma Surg. 2002;122(8):424–8.

Marouby S, Cellier N, Mares O, et al. Percutaneous arthroscopic calcaneal osteosynthesis for displaced intra-articular calcaneal fractures: Systematic review and surgical technique. Foot Ankle Surg 2020;26(5):503–8. doi: 10.1016/j.fas.2019.07.002.

Yeap EJ, Rao J, Pan CH, et al. Is arthroscopic assisted percutaneous screw fixation as good as open reduction and internal fixation for the treatment of displaced intra-articular calcaneal fractures? Foot Ankle Surg. 2016;22(3):164-9. doi: 10.1016/j.fas.2015.06.008.

Hsu AR, Anderson RB, Cohen BE. Advances in Surgical Management of Intra-articular Calcaneus Fractures. J Am Acad Orthop Surg. 2015;23(7):399–407.

Rammelt S, Amlang M, Barthel S, et al. Percutaneous treatment of less severe intraarticular calcaneal fractures. Clin Orthop Relat Res. 2010;468(4):983–90.

Ibrahim T, Beiri A, Azzabi M, et al. Reliability and Validity of the Subjective Component of the American Orthopaedic Foot and Ankle Society Clinical Rating Scales. J Foot Ankle Surg 2007;46(2):65–74. doi: 10.1053/j.jfas.2006.12.002.

Garratt AM, Ruta DA, Abdalla MI, et al. The SF36 health survey questionnaire: an outcome measure suitable for routine use within the NHS. BMJ 1993;306:1440–4.

เผยแพร่แล้ว

2023-03-30