การเปรียบเทียบระดับบิลิรูบินทางผิวหนังและความถี่ของการถ่ายอุจจาระระหว่างทารกที่ได้รับการนวดสัมผัสโดยมารดาและทารกที่ได้รับการดูแลตามปกติ
คำสำคัญ:
ระดับบิลิรูบินทางผิวหนัง, ความถี่ของการถ่ายอุจจาระ, นวดสัมผัสบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับบิลิรูบินทางผิวหนังและความถี่ของการถ่ายอุจจาระระหว่างทารกที่ได้รับการนวดสัมผัสโดยมารดาและทารกที่ได้รับการดูแลตามปกติ
วิธีการศึกษา: การศึกษาวิจัยนี้เป็นแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม ในทารกแรกเกิดครบกำหนดที่คลอดและเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จังหวัดราชบุรี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2566–ธันวาคม 2566 จำนวน 112 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 56 ราย กลุ่มควบคุม 56 ราย กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับการนวดสัมผัสโดยมารดา ส่วนกลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มทารกแรกเกิดที่ได้รับการดูแลตามปกติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติพรรณนา การแจงแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง chi-square test และ independent t test
ผลการศึกษา: ลักษณะทั่วไปของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน ระดับบิลิรูบินทางผิวหนัง 1 ชั่วโมงหลังให้นมครั้งแรก, 12, 24, 36, และ 48 ชั่วโมงหลังคลอดของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม แต่มีความชัดเจนที่ 36 ชั่วโมงหลังคลอด (p = .05) ความถี่ของการขับถ่ายอุจจาระของทารก 24 และ 48 ชั่วโมงหลังคลอดของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: การนวดสัมผัสโดยมารดาช่วยลดระดับบิลิรูบินทางผิวหนัง และไม่เพิ่มความถี่ของการขับถ่ายอุจจาระของทารกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
Brits H, Adendorff J, Huisamen D, et al. The prevalence of neonatal jaundice and risk factors in healthy term neonates at National District Hospital in Bloemfontein. Afr J Prim Health Care Fam Med 2018;10(1):e1–6. doi: 10.4102/phcfm.v10i1.1582.
วรรณพร วาณิชยเศรษฐกุล. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดคลอดครบกำหนดในโรงพยาบาลปทุมธานี. วารสารแพทย์เขต 4–5 2565;41(1):633–44.
จิรกิติ วงศ์เนตร. การศึกษาอุบัติการณ์และสาเหตุการเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร 2564;41(1):85–93.
โสภาพรรณ เงินฉ่ำ. ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด. ใน: สุรชัย ลิขสิทธิ์วัฒนกุล, วิฐารณ บุญสิทธิ, วาณี วิสุทธิ์เสรีวงศ์, และคณะ, บรรณาธิการ. ตำรากุมารเวชศาสตร์ศิริราช ประเด็นสำคัญในเวชปฏิบัติ เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: พี.เอ. ลีฟวิ่ง; 2559. หน้า 175–92.
American academy of pediatrics subcommittee on hyperbiliurbinemia. Management of hyperbilirubinemia in the newborn infant 35 or more weeks of gestation. Pediatrics 2004;114(1):297–316. doi: 10.1542/peds.114.1.297.
Taksande A, Selvam S. Side effects of phototherapy in neonatal hyperbilirubinemia. Acta Scientific Paediatrics 2018;1(5):24–30.
รมณ พงศ์ภัทรพร. ผลของโปรแกรมการดูแลทารกตัวเหลืองส่องไฟรักษา ต่อจำนวนวันการส่องไฟ และอุบัติการณ์ไม่ยินยอมส่องไฟรักษา หอผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2561;8(1):62–71
Rimpy, Singh M. Effect of massage therapy on physical and physiological wellbeing of jaundiced neonates receiving phototherapy: a hospital based interventional study. Int J Nurs Educ 2018;10(3):57–62. doi: 10.5958/0974-9357.2018.00067.3
ศูนย์อนามัยที่ 8 กรมอนามัย. คู่มือโรงเรียนพ่อแม่สำหรับบุคลากร. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครสวรรค์: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2554: หน้า 101–6.
อํานาจ บาลี. สัมผัสลูกด้วยการนวด. หมอชาวบ้าน 2538;17(194):17–21.
Mrljak R, Danielsson AA, Hedov G, et al. Effects of infant massage: a systematic review. Int J Environ Res Public Health 2022;19(11):6378. doi: 10.3390/ijerph19116378.
Jazayeri Z, Sajadi M, Dalvand H, et al. Comparison of the effect of foot reflexology and body massage on physiological indicators and bilirubin levels in neonates under phototherapy. Complement Ther Med 2021;1(59):102684. doi: 10.1016/j.ctim.2021.102684.
ระวีวัฒน์ นุมานิต, กิติยา กมลตรี, เจษฎา หรบรรพ์. ผลของโปรแกรมนวดสัมผัสทารกโดยมารดาที่มีต่อสัญญาณพฤติกรรมของทารกและความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารกขณะอยู่ในโรงพยาบาล. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2562;34(3):413–26.
Garg BD, Kabra NS, Balasubramanian H. Role of massage therapy on reduction of neonatal hyperbilirubinemia in term and preterm neonates: a review of clinical trials. J Maternal Fetal Neonatal Med 2019;32(2):301–9. doi: 10.1080/14767058.2017.1376316.
Gözen D, Yılmaz Ö, Dur Ş, et al. Transcutaneous bilirubin levels of newborn infants performed abdominal massage: A randomized controlled trial. J Spec Pediatr Nurs 2019;24(2):e12237. doi: 10.1111/jspn.12237.
Lei M, Liu T, Li Y, et al. Effects of massage on newborn infants with jaundice: A meta-analysis. Int J Nurs Sci 2018;5(1):89–97. doi: 10.1016/j.ijnss.2018.01.004.
ศูนย์อนามัยที่ 8 กรมอนามัย. โรงเรียนพ่อแม่ฉบับลูกรักแรกเกิด–5 ปี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สวิชาญการพิมพ์; 2552: หน้า 2–5.
Earthline. Thailand: BILICARE™ SYSTEM [Internet]. 2017 [cited 2022 July 2]; Available from: URL: https://www.earthline.co.th/product/bilicare-system/
Babaei H, Vakiliamini M. Effect of massage therapy on transcutaneous bilirubin level in healthy term neonates: randomized controlled clinical trial. IJN 2018;9(4):41–6. doi: 10.22038/ijn.2018.28906.1386.
Shahbazi M, Khazaei S, Moslehi S, et al. Effect of massage therapy for the treatment of neonatal jaundice: a systematic review and dose-response meta-analysis. Int J Pediatr 2022;20:9161074. doi: 10.1155/2022/9161074.
Santoso SES, Karuniawati B, Nur Fauziandari E. The effect of field massage on bilirubin levels in neonates with hyperbilirubinemia. KnE Life Sci 2022:335–44.
Chen J, Sadakata M, Ishida M, et al. Baby massage ameliorates neonatal jaundice in full-term newborn infants. Tohoku J Exp Med 2011;223(2):97–102. doi: 10.1620/tjem.223.97.
Field T, Diego MA, Hernandez-Reif M, et al. Moderate versus light pressure massage therapy leads to greater weight gain in preterm infants. Infant Behav Dev 2006;29(4):574–8. doi: 10.1016/j.infbeh.2006.07.011.
Field T, Diego M, Hernandez-Reif M. Moderate pressure is essential for massage therapy effects. Int J Neurosci 2010;120(5):381–5. doi: 10.3109/00207450903579475.
Yanti RD, Astuti M. The effect of baby massage modification on frequency of defecation in babies aged 1–6 months. ICIHCCE 2018;1(1):203–7.
Paninsari D, Harefa CAB, Tarigan GSA, et al. The relationship between the frequency of baby massage and the pattern of defecation of babies who are exclusively breastfed at bunda patimah primary clinic. SJIK 2022;11(1):70–7. doi: https://doi.org/10.30994/sjik.v11i1.890
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์