ผลการระงับปวดก่อนผ่าตัดด้วย Fascia Iliaca Block ในผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก การศึกษาแบบสุ่มที่มีการควบคุม
คำสำคัญ:
การจัดการความปวดก่อนผ่าตัด, การฉีดยาชาระงับความรู้สึกบริเวณสะโพก, กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการระงับปวดก่อนผ่าตัดด้วย fascia iliaca block ในผู้สูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหัก
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบไปข้างหน้าด้วยวิธีการสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม ดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 อาสาสมัครได้แก่ ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่อายุตั้งแต่ 60 ถึง 90 ปี อาสาสมัครได้รับการสุ่มออกเป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มควบคุมจะได้รับการรักษาด้วยยาแก้ปวดตามมาตรฐาน และกลุ่ม FICB จะได้รับการทำ fascia iliaca block ด้วยยาชาความเข้มข้น 0.33% bupivacaine ปริมาตร 30 มิลลิลิตร หลังจากเข้าโครงการมีการติดตามคะแนนความปวดและปริมาณการใช้ยากลุ่ม opioids
ผลการศึกษา: อาสาสมัคร 47 ราย ได้รับการวิเคราะห์ที่ 24 ชั่วโมงหลังเข้าร่วมโครงการ อาสาสมัครในกลุ่ม FICB มีคะแนนเฉลี่ยความปวดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < .001 ทั้งคะแนนความปวดขณะพัก (0.5 ± 0.8 กับ 2.4 ± 1.3) และคะแนนความปวดขณะเคลื่อนไหว (2.9 ± 1.1 กับ 5.6 ± 1.5) รวมทั้งมีปริมาณการใช้ opioids น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (0.1 ± 0.3 กับ 1.5 ± 1.3 มิลลิกรัม)
ที่ 48 ชั่วโมงคะแนนความปวดของกลุ่ม FICB ยังคงลดลง ทั้งนี้ร้อยละการเคลื่อนไหวบนเตียงของผู้ป่วยในกลุ่ม FICB มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม (82.6% vs 20.8%) นอกจากนี้ภาวะเพ้อสับสนและปอดอักเสบมีค่าน้อยกว่าในกลุ่ม FICB แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: การระงับปวดด้วย fascia iliaca block ช่วยลดอาการปวดก่อนผ่าตัดให้กับผู้สูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหักได้ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยทำให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากอาการปวดรุนแรงได้
References
Wennberg P, Möller M, Kenne SE, et al. Evaluation of the intensity and management of pain before arrival in hospital among patients with suspected hip fractures. Int Emerg Nurs 2020;49:100825. doi: 10.1016/j.ienj.2019.100825.
Loggers SAI, Van Lieshout EMM, Joosse P, et al. Prognosis of nonoperative treatment in elderly patients with a hip fracture: a systematic review and meta-analysis. Injury 2020;51(11):2407–13. doi: 10.1016/j.injury.2020.08.027.
Borsheski R, Johnson QL. Pain management in the geriatric population. Mo Med 2014;111(6):508–11.
Morrison RS, Siu AL. A comparison of pain and its treatment in advanced dementia and cognitively intact patients with hip fracture. J Pain Symptom Manage 2000;19(4):240–8. doi: 10.1016/s0885-3924(00)00113-5.
O'Reilly N, Desmet M, Kearns R. Fascia iliaca compartment block. BJA Educ 2019;19(6):191–7. doi: https://doi.org/10.1016/j.bjae.2019.03.001
Foss NB, Kristensen BB, Bundgaard M, et al. Fascia iliaca compartment blockade for acute pain control in hip fracture patients: a randomized, placebo-controlled trial. Anesthesiology 2007;106(4):773–8. doi: 10.1097/01.anes.0000264764.56544.d2.
Steenberg J, Moller AM. Systematic review of the effects of fascia iliaca compartment block on hip fracture patients before operation. Br J Anaesth 2018;120(6):1368–80. doi: 10.1016/j.bja.2017.12.042. Epub 2018 Apr 5.
Diakomi M, Papaioannou M, Mela A, et al. Preoperative fascia iliaca compartment block for positioning patients with hip fractures for central nervous blockade: a randomized trial. Reg Anesth Pain Med 2014;39(5):394–8. doi: 10.1097/AAP.0000000000000133.
Hanna L, Gulati A, Graham A. The role of fascia iliaca blocks in hip fractures: a prospective case-control study and feasibility assessment of a junior-doctor-delivered service. ISRN Orthop 2014;2014:191306. doi: 10.1155/2014/191306.
Mouzopoulos G, Vasiliadis G, Lasanianos N, et al. Fascia iliaca block prophylaxis for hip fracture patients at risk for delirium: a randomized placebo-controlled study. J Orthop Traumatol 2009;10(3):127–33. doi: 10.1007/s10195-009-0062-6.
Chu Z, Wu Y, Dai X, et al. The risk factors of postoperative delirium in general anesthesia patients with hip fracture: Attention needed. Medicine (Baltimore) 2021;100(22):e26156. doi: 10.1097/MD.0000000000026156
Barrington MJ, Kluger R. Ultrasound guidance reduces the risk of local anesthetic systemic toxicity following peripheral nerve blockade. Reg Anesth Pain Med 2013;38(4):289–99. doi: 10.1097/AAP.0b013e318292669b.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์