ผลการใช้แนวทางการส่งต่อทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ ว่องวุฒิกำจร พ.บ., โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

การส่งต่อทารกแรกเกิด, ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ, ภาวะช็อค, ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อนก่อนและหลังใช้แนวทางส่งต่อทารกแรกเกิดใน โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ และประเมินความพึงพอใจของบุคลากรในการใช้แนวทางส่งต่อ

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ทั้งหมด 33 ราย ข้อมูลอายุมารดา อายุครรภ์ เพศ น้ำหนักทารก การวินิจฉัย ภาวะแทรกซ้อนการส่งต่อ ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด น้ำตาลในเลือดต่ำ อุณหภูมิกายต่ำ ภาวะช็อค หรือเสียชีวิต

ผลการศึกษา: ทารกกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 33 ราย แบ่งเป็นทารกที่รับส่งต่อ พ.ศ. 2555–2557 ก่อนใช้แนวทาง 17 ราย และ พ.ศ. 2558–2560 หลังใช้แนวทาง 16 ราย ทารกคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 63.6 น้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 69.7 ภาวะแทรกซ้อนการส่งต่อที่พบมากที่สุด คือ ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ ร้อยละ 30.3 ท่อช่วยหายใจเลื่อนหรือหลุด ร้อยละ 15.2 ภาวะน้ำตาลต่ำ ร้อยละ 12.1 เมื่อเปรียบเทียบก่อนใช้แนวทางส่งต่อ ใน พ.ศ. 2555–2557 กับ พ.ศ. 2558–2560 หลังใช้แนวทางส่งต่อพบภาวะแทรกซ้อนลดลง โดยอุณหภูมิกายต่ำลดลงจากร้อยละ 35.3 เป็นร้อยละ 25 (p = .397) ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ ร้อยละ 23.5 เป็น ร้อยละ 6.3 (p = .335) ไม่พบภาวะช็อค (p = .258) และไม่พบทารกเสียชีวิต (p = .125) ความพึงพอใจของบุคลากรอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

     สรุป: จากการศึกษาบุคลากรมีความพึงพอใจมากในการใช้แนวทางการส่งต่อ แต่ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าการใช้แนวทางสามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนการส่งต่อทารกแรกเกิด ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ ภาวะช็อคและเสียชีวิตลดลง เนื่องจากไม่พบนัยสำคัญทางสถิติ จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติม

 

References

World Health Organization. Newborn mortality [internet]. 2020 [cited 2023 May 18]; Available from: URL: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานตามตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 18 พฤษภาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php.

Askin DF. Complications in the transition from fetal to neonatal life. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2002;31(3):318–326. doi: 10.1111/j.1552-6909.2002.tb00054.x.

Donn SM, Faix RG, Gatet MR. Emergency transport of the critically ill newborn. In: Donn SM, Faix RG, editors. Neonatal emergencies. 1st ed. New York: Futura Publishing; 1991. 75–86.

Whitfield JM, Buser MK. Transport stabilization times for neonatal and pediatric patients prior to interfacility transfer. Pediatr Emerg Care 1993;9(2):69–71. doi: 10.1097/00006565-199304000-00002.

Kendall AB, Scott PA, Karlsen KA. The S.T.A.B.L.E® Program: the evidence behind the 2012 update. J Perinat Neonat Nurs 2012;26(2):147–157. doi: 10.1097/JPN.0b013e31825277d4.

Ngamjarus C, Chongsuvivatwong V, Mcneil E. n4Studies: Sample size Calculation for an Epidemiological Study on a Smart Device. Siriraj Med J 68(3):160–170.

เพิ่มพูน ศิริกิจ. การพัฒนารูปแบบการส่งต่อทารกแรกเกิดที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจเครือข่ายจังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2021;18(1):122–131.

วราภรณ์ แสงทวีสิน. Care of low birth weight infants. ใน: วราภรณ์ แสงทวีสิน, วิบูลย์กาญจน พัฒนกุล, สุนทร ฮ่อเผ่าพันธุ์, บรรณาธิการ. ปัญหาทารกแรกเกิด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส; 2551. หน้า 102–132.

Cornblath M, Schwartz R. Hypoglycemia in the neonate. J Pediiatr Endocrinol 1993;6(2):113–129.

Duvanel CB, Faver CL, Cotting J, et al. Long-term effects of neonatal hypoglycemia on brain growth and psychomotor development in small-for-gestational-age preterm infants. J Pediatr 1999;134(4),492–498. doi: 10.1016/s0022-3476(99)70209-x.

ปารณีย์ มีมาก, ชลดา ผิวผ่อง, จิรภัค สุวรรณเจริญ. อุบัติการณ์การเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำของทารกแรกเกิดในห้องคลอดโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 19 เมษายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.stpho.go.th/Research.

Clark RH. The epidemiology of respiratory failure in neonates born at an estimated gestational age of 34 weeks or more. J Perinatol 2005;25(4):251–7. doi: 10.1038/sj.jp.7211242.

วิภารัตน์ นาวารัตน์, พนมพร พฤทธิพงศ์พันธุ์, ปริชาติ ศรีอนุรักษ์, และคณะ. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด โดยไม่ได้วางแผนต่ออัตราการเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก 2560;18(1):167–75.

Bloom RS, Cropley C. Textbook of neonatal resuscitation. 3rd ed. Illinois: American Heart Association and American Academy of Pediatrics; 1996.

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29