ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับบาดเจ็บทางศีรษะ ชนิดไม่รุนแรง ที่เข้ารับบริการที่แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชบุรี

ผู้แต่ง

  • เพชรสินีย์ บุญมี พ.บ., โรงพยาบาลราชบุรี

คำสำคัญ:

เลือดออกในกะโหลกศีรษะ, ผู้สูงอายุ, การบาดเจ็บทางศีรษะชนิดไม่รุนแรง

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับบาดเจ็บทางศีรษะชนิดไม่รุนแรงที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชบุรี

          วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบพรรณนาย้อนหลัง เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับบาดเจ็บทางศีรษะชนิดไม่รุนแรง ที่เข้ารับบริการที่แผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลราชบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565 โดยใช้แบบบันทึกข้อมูล นำเสนอข้อมูลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะด้วยวิธีวิเคราะห์ t test independent, chi-square test และ Fisher’s exact test

          ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 340 ราย มีผู้ป่วยที่มีเลือดออกในกะโหลกศีรษะ 64 ราย (ร้อยละ 18.8)โดยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ ได้แก่ กลไกการบาดเจ็บที่รุนแรง (p = .031) คะแนนความรู้สึกตัว (GCS) (p < .001) และอายุ >65 ปี ร่วมกับมีประวัติสลบ ไม่รู้สึกตัวหลังเกิดเหตุและหรือจำเหตุการณ์ไม่ได้ (p < .001) ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ เพศ อายุ โรคความดันโลหิตสูง การได้รับยาต้านเกล็ดเลือด การได้รับยาละลายลิ่มเลือด การดื่มสุราก่อนเกิดเหตุ ประเภทอุบัติเหตุ และอาการและอาการแสดงหลังเกิดอุบัติเหตุอื่นๆ ไม่มีผลต่อการเกิดภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับบาดเจ็บทางศีรษะชนิดไม่รุนแรง

          สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับบาดเจ็บทางศีรษะชนิดไม่รุนแรง ได้แก่ กลไกการบาดเจ็บที่รุนแรง คะแนนความรู้สึกตัว (GCS) และอายุ >65 ปี ร่วมกับมีประวัติสลบ ไม่รู้สึกตัวหลังเกิดเหตุและหรือจำเหตุการณ์ไม่ได้

References

United Nations Department of Economic and Social Affairs. World Population Prospects 2022 Data Sources. New York: United Nations; 2022.

Royal College of Neurosurgeons of Thailand. Clinical practice guidelines for traumatic brain injury. Bangkok: Prosperous Plus; 2019.

Rakier A, Guilburd JN, Soustiel JF, et al. Head injuries in the elderly. Brain Inj 1995;9(2):187–94. doi: 10.3109/02699059509008191.

Yuksen C, Sittichanbuncha Y, Patumanond J, et al. Clinical factors predictive for intracranial hemorrhage in mild head injury. Neurol Res Int 2017;2017:5385613. doi: 10.1155/2017/5385613

Limsuriyakan W, Lorwanich P. Factors associated with intracranial hemorrhage in mild traumatic brain injury moderate risk patients at Phra Nakhon Si Ayutthaya Hospital. TUH J online 2019;4(3):1–10.

Bonney PA, Briggs A, Briggs RB, et al. Rate of Intracranial hemorrhage after minor head Injury. Cureus 2020;12(9):e10653. doi: 10.7759/cureus.10653.

Paosaree P. Clinical Factors Predictive for Intracranial hemorrhage in geriatric with traumatic brain injury in Chumphae Hospital. JPMAT 2020;10(2):341–50.

Teeratakulpisarn P, Angkasith P, Wannakul T, et al. What are the strongest indicators of intracerebral hemorrhage in mild traumatic brain injury?. Trauma Surg Acute Care Open 2021;6(1):e000717. doi: 10.1136/tsaco-2021-000717.

Maneeon P, Promwang N. Risk factors predicting intracerebral hemorrhage and prognosis of old age patients with mild traumatic brain injury in Hatyai Hospital. J Med Health Sci 2022;29(1):97–109.

พงศกร ฉ่ำพึ่ง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดเลือดออกในกะโหลกศีรษะในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะไม่รุนแรง มีความเสี่ยงปานกลาง โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี 2022;30(2):1–13.

ATLS Subcommittee; American College of Surgeons’ Committee on Trauma; International ATLS working group. Advanced trauma life support (ATLS®): 10th ed. Chicago: IL; 2018.

Stiell IG, Wells GA, Vandemheen K, et al. The Canadian CT Head Rule for patients with minor head injury. Lancet 2001;357(9266):1391–6. doi: 10.1016/s0140-6736(00)04561-x.

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29