ปัจจัยที่มีผลต่อการตาบอดในผู้ป่วยต้อหินมุมปิดเฉียบพลันในโรงพยาบาลบ้านโป่ง

ผู้แต่ง

  • เชาวพร อุบลวิโรจน์ พ.บ., โรงพยาบาลบ้านโป่ง

คำสำคัญ:

ต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน, การตาบอด, โรคต้อหิน, ต้อหินมุมปิด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของการตาบอดในผู้ป่วยต้อหินมุมปิดเฉียบพลันในโรงพยาบาลบ้านโป่ง และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตาบอดในผู้ป่วยต้อหินมุมปิดเฉียบพลันหลังการรักษา

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) ในผู้ป่วยทั้งหมดที่ได้รับการวินิจฉัยต้อหินมุมปิดเฉียบพลันในโรงพยาบาลบ้านโป่ง ในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เป็นระยะเวลา 6 ปี 3 เดือน วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ นำเสนอข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการตาบอดโดยใช้ chi-squared test และ binary logistic regression

ผลการศึกษา: อุบัติการณ์ของการตาบอดในผู้ป่วยต้อหินมุมปิดเฉียบพลันในโรงพยาบาลบ้านโป่งพบได้ ร้อยละ 17.2 (29 คน ตาบอด 5 คน) โดยปัจจัยที่มีผลต่อการตาบอดในผู้ป่วยต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน ได้แก่ ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการจนมาโรงพยาบาล โดยพบว่าช่วงระยะเวลาที่เริ่มมีอาการจนมาโรงพยาบาล มากกว่า 72 ชั่วโมง จะมีโอกาสตาบอดสูงถึง 28 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .009) แต่ระดับการศึกษา ระดับการมองเห็นแรกรับ ความดันตาแรกรับ ขนาดขั้วประสาทตาแรกรับ วิธีการรักษา รวมถึงระยะเวลาที่ใช้ในการควบคุมความดันตา ไม่มีผลต่อการตาบอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการจนมารักษาที่โรงพยาบาลเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตาบอดในผู้ป่วยต้อหินมุมปิดเฉียบพลันในโรงพยาบาลบ้านโป่ง

 

References

Foster A, Resnikoff S. The impact of Vision 2020 on global blindness. Eye (Lond) 2005;19(10): 1133–5. doi: 10.1038/sj.eye.6701973.

GBD 2019 Blindness and Vision Impairment collaborators. Causes of blindness and vision impairment in 2020 and trends over 30 years, and prevalence of avoidable blindness in relation to vision 2020: the right to sight: an analysis for the global burden of disease study. Lancet Glob Health 2021;9(2):114–60. doi: 10.1016/S2214-109X(20)30489-7.

สาขนิตย์ ลีลาประศาสน์. ภาวะต้อหินมุมปิดเฉียบพลันทันยุค. กระบี่เวชสาร 2021;4(2):79–86.

Bourne RRA, Sukudom P, Foster PJ, et al. Prevalence of glaucoma in Thailand: a population based survey in Rom Klao District Bangkok. Br J Ophthalomol 2003;87(9):1069–74. doi: 10.1136/bjo.87.9.1069

เดชาทร อาสนทอง. ความชุกของผู้ป่วยโรคต้อหินในโรงพยาบาลศรีสะเกษเนื่องในวันต้อหินโลก. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2020;35(3):749–56.

Thongthong K. Prevalence of glaucomatous blindness. Eye SEA 2021;16(2):69–77. doi.org/10.36281/2021020205

Aung T, Friedman DS, Chew PTK, et al. Long-term outcome in Asians after acute primary angle closure. Ophthalmology 2004;111(8),1464–9. doi: 10.1016/j.ophtha.2003.12.061.

Li S, Tang G, Fan SJ, et al. Factors associated with blindness three months following treatment for acute primary angle glaucoma. Br J Ophthalmol 2021;105(4):502–6. doi: 10.1136/bjophthalmol-2020-316259.

Tan AM, Loon SC, Chew PTK. Outcomes following acute primary angle colsure in an Asian population. Clin Exp Ophthalmol 2009;37(5):467–72. doi: 10.1111/j.1442-9071.2009.02060.x.

Andreatta W, Elaroud I, Nightingale P, et al. Long-term outcomes after acute primary angle closure in a White Caucasian population. BMC Ophthalmol 2015;15:108. doi: 10.1186/s12886-015-0100-5.

Yamashita T, Tanaka M, Kii Y, et al. Sex-related differences in axial lenght, anterior chamber depth and lens thickness in Japanese young healthy eyes. IOVS an ARVO J 2012;53(14):3626.

Stone JS, Muir KW, Stinnett SS, et al. Glaucoma blindness at a tertiary eye care center. N C Med J 2015;76(4):211–8. doi: 10.18043/ncm.76.4.211.

Hillman JS. Acute closed-angle glaucoma: an investigation into the effect of delay in treatment. Br J Ophthalmol 1979;63:817–21. doi: 10.1136/bjo.63.12.817.

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29