การประเมินผู้ป่วยอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนเฉียบพลัน ที่ทำการเจาะคอฉุกเฉินในโรงพยาบาลปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ญาณิตา รัชนิวัต พ.บ., โรงพยาบาลปทุมธานี

คำสำคัญ:

การเจาะคอฉุกเฉิน, มะเร็งหูคอจมูก, ท่อเจาะคอ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนที่ต้องได้รับการผ่าตัดเจาะคอฉุกเฉินเป็นภาวะวิกฤติ

ที่พบได้บ่อยในโรงพยาบาลปทุมธานี การเจาะคอฉุกเฉินเป็นวิธีที่สำคัญในการดูแลทางเดินหายใจ ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ การศึกษาประเมินผู้ป่วยถึงเพศ อายุ ปัจจัยเสี่ยง สาเหตุที่นำมา สามารถลดผลแทรกซ้อนและการเสียชีวิตได้

          วิธีการศึกษา: การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนารวมข้อมูลจากแฟ้มเวชระเบียน ระยะเวลาตั้งแต่ ตุลาคม

2562 ถึง กันยายน 2565

          ผลการศึกษา: จากกลุ่มประชากรในการศึกษาจำนวน 105 ราย พบเป็นประชากรชายมากกว่าหญิง มีช่วงอายุ 41–60 ปี มากที่สุด สาเหตุหลักที่นำผู้ป่วยมาโรงพยาบาลเพื่อเจาะคอ คือโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ โดยพบเป็น oropharyngeal cancer มากที่สุด ร้อยละ 29.5 พบค่าเฉลี่ยของระยะเวลาในการผ่าตัดเท่ากับ 43 นาที ซึ่งนับรวมหัตถการผ่าตัดเจาะคอ และหัตถการร่วมทั้งหมดที่ทำในครั้งเดียวกัน เช่น การส่องกล้องตรวจกล่องเสียงและหลอดอาหาร และการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 7 วัน เนื่องจากหลังทำหัตถการเจาะคอ ต้องมีการพักฟื้นปรับสภาพร่างกายผู้ป่วยและมีการสอนการดูแลตนเองให้กับผู้ป่วยและคนรอบข้าง

          สรุป: ผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะคอฉุกเฉินพบมีจำนวนใกล้เคียงกันทุกปี โดยสาเหตุหลักพบเป็นมะเร็งศีรษะและลำคอมากที่สุด หากเราให้ความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคแก่ประชาชน จะสามารถลดจำนวนผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลและลดการผ่าตัดฉุกเฉินได้

References

Gong H, Wu J, Sun J, et al. Preoperative tracheotomy in the treatment of upper airway obstruction of patients with advanced stage supraglottic carcinoma. American J

Otolaryngol 2022;43:3:103381. doi: 10.1016/j.amjoto.2022.103381.

Cathain EO, Gaffey MM, Upper airway obstruction [internet]. Florida: StatPearls; 2022 [cited 2022 Jan 07]. Available from: URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK564399/

Kumar S, Salib R. Upper airway obstruction. In: Laurent GJ, Shapiro SD, editors. Encyclopedia of respiratory medicine. Massachusetts: Academic Press; 2006. 375–85.

ปารยะ อาศนะเสน. การเจาะคอ (tracheostomy) ตอนที่ 1 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 มกราคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=1078

Tarnow–Mordi WO, Berrill AM, DarbyCW, et al. Precipitation of laryngeal obstruction in acute epiglottitis. Br Med J (Clin Res Ed) 1985;290(6468):629. doi: 10.1136/bmj.290.6468.629.

อภิชาติ บูรณะวังศิลา. การบำบัดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน โดยการทำ Tracheostomy. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2553;27(4):256–61.

Weissbrod PA, Merati AL. Upper airway stenosis, evaluation and management. In: Rosen CA, Johnson JT, editors. Bailey’s Head and Neck Surgery Otolaryngology. 5th ed. Philadelphia: Lippincott Williams and Wilkins; 2014. 879–92.

Ellington TD, Henley SJ, Senkomago V, et al. Trends in incidence of cancers of the oral

cavity and pharynx - United States 2007–2016. MMWR Morb Mortal Wkly Rep 2020;69:433–8. doi: 10.15585/mmwr.mm6915a1.

Gormley M, Creaney G, Schache A, et al. Reviewing the epidemiology of head and neck cancer: definitions, trends and risk factors. Br dent j 2022;233(9):780–6. doi: 10.1038/s41415-022-5166-x.

Paul WF, Sinha P, Harréus U. Malignant neoplasms of the oropharynx. In: Flint

PW, Editors. Cummings otolaryngology head and neck surgery. 6th ed. Saunders: Elsevier;

1432–53.

Bhatti NI. Surgical management of difficult airway. In: Flint PW, Editors. Cummings

otolaryngology head and neck surgery. 5th ed. Philadelphia: Mosby Elsevier; 2010. 122–8.

Fine KE, Wi MS, Kovalev V, et al. Comparing the tracheostomy dislodgement and complication rate of non-sutured neck tie to skin sutured neck tie fixation. Am J Otolaryngol 2021;42(1):102791. doi: 10.1016/j.amjoto.2020.102791.

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29