การศึกษาเปรียบเทียบผลการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบเข้าด้านหน้าและเข้าด้านหลัง โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • อัศนัย ศรีสุวนันท์ พ.บ., โรงพยาบาลกระทุ่มแบน

คำสำคัญ:

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก, การผ่าตัดแบบเข้าด้านหน้า, การผ่าตัดแบบเข้าด้านหลัง

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบเข้าด้านหน้าและเข้าด้านหลัง ในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

          วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบ case-control study ซึ่งศึกษาข้อมูลย้อนหลัง โดยศึกษาเก็บข้อมูลจากเวชระเบียน กลุ่มตัวอย่าง คือ เวชระเบียนของผู้ป่วยที่เข้ารับผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ตั้งแต่ มกราคม 2559 จนถึง กันยายน 2565 ของโรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวนกลุ่มละ 70 ราย ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling) โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบเข้าด้านหน้า และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบเข้าด้านหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียน ได้แก่ เพศ อายุ ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด การสูญเสียเลือดในการผ่าตัด การได้รับยาแก้ปวด จำนวนวันนอนหลังการผ่าตัด ความสามารถในการฝึกเดินหลังผ่าตัด การเกิดรอยร้าวของกระดูกต้นขา และการเคลื่อนหลุดของข้อสะโพก โดยติดตามผลการหลุดข้อสะโพกไป 1 ปี หลังผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์ (chi-square) และสถิติ ทีอิสระ (independent t test)

          ผลการศึกษา: เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลของทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า อายุ ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด จำนวนวันนอนหลังการผ่าตัด ความสามารถในการฝึกเดินหลังผ่าตัด การเกิดรอยร้าวของของกระดูกต้นขา และการเคลื่อนหลุดของข้อสะโพกมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนการสูญเสียเลือด ในการผ่าตัด การได้รับยาแก้ปวดของทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน (p > .05)

          สรุป: การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบเข้าด้านหน้าถึงแม้ว่าจะใช้เวลาในการผ่าตัดที่นานกว่าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบเข้าด้านหลัง แต่มีจำนวนวันนอนหลังการผ่าตัดน้อยกว่า ความสามารถในการฝึกเดิน หลังผ่าตัดได้เร็วกว่า และไม่พบการเคลื่อนหลุดของข้อสะโพกหลังผ่าตัด

 

References

Wongtriratanachai P, Luevitoonvechkij S, Songpatanasilp T, et al. Increasing incidence of hip fracture in Chiang Mai, Thailand. J Clin Densitom 2013;16(3):347–52. doi: 10.1016/j.jocd.2012.07.002.

Lewis SR, Macey R, Stokes J, et al. Surgical interventions for treating intracapsular hip fractures in older adults: a network meta-analysis. Cochrane Database Syst Rev 2022,2(2):CD013404. doi: 10.1002/14651858.CD013404.pub2.

Chughtai M, Samuel LT, Acuña AJ, et al. Algorithmic soft tissue femoral release in

anterior approach total hip arthroplasty. Arthroplast Today 2019;5(4):471–6. doi: 10.1016/j.artd.2019.10.004.

Moerenhout K, Derome P, Laflamme GY, et al. Direct anterior versus posterior approach for total hip arthroplasty: a multicentre, prospective, randomized clinical trial. Can J Surg 2020;63(5):E412–7. doi: 10.1503/cjs.012019.

Zhao HY, Kang PD, Xia YY, et al. Comparison of early functional recovery after total hip arthroplasty using a direct anterior or posterolateral approach: a randomized controlled trial. J Arthroplasty 2017;32(11):3421–8. doi: 10.1016/j.arth.2017.05.056.

Siljander MP, Whaley JD, Koueiter DM, et al. Length of stay, discharge disposition, and 90-day complications and revisions following primary total hip arthroplasty: a comparison of the direct anterior, posterolateral, and direct superior approaches. J Arthroplasty 2020;35(6):1658–61. doi: 10.1016/j.arth.2020.01.082.

Fleischman AN, Tarabichi M, Magner Z, et al. Mechanical Complications Following Total Hip Arthroplasty Based on Surgical Approach: A Large, Single-Institution Cohort Study. J Arthroplasty 2019;34(6):1255–60. doi: 10.1016/j.arth.2019.02.029.

Yuasa T, Aoki K, Gomi M, et al. Comparison of direct anterior approach and

posterior approach total hip arthroplasty: More than 5-year follow-up. J Orthop 2021;24: 271–3. doi: 10.1016/j.jor.2021.03.013.

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29