ความชุกของค่าคอมพลีเมนต์ในเลือดที่ต่ำในผู้ป่วยโรคไตอักเสบลูปัสในโรงพยาบาลราชบุรี
คำสำคัญ:
โรคไตอักเสบลูปัส, ค่าคอมพลีเมนต์ในเลือดที่ต่ำ, ความชุกบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: วัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาความชุกของค่าคอมพลีเมนต์ในเลือดที่ต่ำ ในผู้ป่วยโรคไตอักเสบลูปัสในโรงพยาบาลราชบุรี วัตถุประสงค์รอง เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของค่าคอมพลีเมนต์ในเลือดที่ต่ำและชนิดของโรคไตอักเสบลูปัสในโรงพยาบาลราชบุรี
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังโดยใช้ข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียน ในผู้ป่วยโรคไตอักเสบลูปัส ที่ได้รับการวินิจฉัยจากการตัดชิ้นเนื้อไตในโรงพยาบาลราชบุรี ในช่วงเวลา 11 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยศึกษาถึงข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ค่าครีเอตินินในเลือด ค่าโปรตีนในปัสสาวะ ค่าคอมพลีเมนต์ในเลือด วิเคราะห์ในรูปความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์ของค่าคอมพลีเมนต์ในเลือดที่ต่ำและชนิดของโรคไตอักเสบลูปัสโดยใช้สถิติไคสแควร์
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคไตอักเสบลูปัสทั้งหมด 128 ราย มีอายุเฉลี่ย 31.6 ± 11.9 ปี เพศหญิงร้อยละ 83.6 ชนิดของโรคไตอักเสบลูปัสที่พบมากที่สุด คือชนิดที่ 4 ร้อยละ 54.7, ชนิดที่ 5 ร้อยละ 22.6, และชนิดที่ 3 ร้อยละ 18.0 ผู้ป่วยที่มีค่าคอมพลีเมนต์ในเลือดจำนวน 67 ราย พบความชุกของการมีค่าคอมพลีเมนต์ในเลือดชนิด C3 ต่ำในโรคไตอักเสบลูปัสชนิดที่ 3 ร้อยละ 71.4, ชนิดที่ 4 ร้อยละ 100, ชนิดที่ 5 ร้อยละ 46.2, และไม่พบเลยในชนิดที่ 6 ความชุกของการมีค่าคอมพลีเมนต์ในเลือดชนิด C4 ต่ำในโรคไตอักเสบลูปัสชนิดที่ 3 ร้อยละ 42.9, ชนิดที่ 4 ร้อยละ 71.8, ชนิดที่ 5 ร้อยละ 23.1, และไม่พบเลยในชนิดที่ 6 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับโรคไตอักเสบลูปัสชนิด proliferative อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุที่น้อยกว่า ค่าคอมพลีเมนต์ในเลือดชนิด C3 ต่ำ พบในโรคไตอักเสบลูปัสชนิด proliferative ร้อยละ 89.1 และค่าคอมพลีเมนต์ในเลือดชนิด C4 ต่ำ พบในโรคไตอักเสบลูปัสชนิด proliferative ร้อยละ 91.9
สรุป: การศึกษานี้พบว่าค่าคอมพลีเมนต์ในเลือดที่ต่ำทั้งขนิด C3 และ C4 สัมพันธ์กับความรุนแรงของการอักเสบของโรคไตอักเสบลูปัส และการมีค่าคอมพลีเมนต์ในเลือดชนิด C3 หรือ C4 ต่ำ สามารถพบในโรคไตอักเสบลูปัสชนิด proliferative อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อาจเลือกใช้ทดแทนการตัดชิ้นเนื้อได้ในรายที่มีข้อห้าม หรือมีความเร่งรีบในการรักษา
References
Yap DY, Chan TM. Lupus nephritis in Asia: clinical features and management. Kidney Dis (Basel) 2015;1(2):100–9. doi: 10.1159/000430458.
Cozzani E, Drosera M, Gasparini G, et al. Serology of lupus erythematosus: correlation between immunopathological features and clinical aspects. Autoimmune Dis 2014;2014:321359. doi:10.1155/2014/321359
Ayano M, Horiuchi T. Complement as a biomarker for systemic lupus erythematosus. Biomolecules 2023;13(2):367. doi:10.3390/biom13020367
Moroni G, Radice A, Giammarresi G, et al. Are laboratory tests useful for monitoring the activity of lupus nephritis? A 6-year prospective study in a cohort of 228 patients with lupus nephritis. Ann Rheum Dis 2009;68(6):234–7. doi:10.1136/ard.2008.094508
Richmond RG. Lupus nephritis: role of serum complement levels as prognostic marker. J Clin Res Rep 2020;5(4):1–5. doi:10.31579/2690-1919/124.
Petri M, Orbai AM, Alarcón GS, et al. Derivation and validation of the systemic lupus international collaborating clinics classification criteria for systemic lupus erythematosus. Arthritis Rheum 2012;64(8):2677–86. doi:10.1002/art.34473
Markowitz GS, D'Agati VD. The ISN/RPS 2003 classification of lupus nephritis: an assessment at 3 years. Kidney Int 2007;71(6):491–5. doi:10.1038/sj.ki.5002118
บัญชา สถิระพจน์, นริศรา อภัยจิตต์, อุปถัมภ์ ศุภสินธ์. ลักษณะอาการทางคลินิก และพยาธิวิทยาทางไตในผู้ป่วยโรคไตอักเสบในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. เวชสารแพทย์ทหารบก 2553;63(2):53–64.
ไพบูลย์ อรุณมานะกุล. ผลการรักษาโรคไตอักเสบลูปัสชนิดรุนแรง. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2009;5(1):36–44.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์