ผลการรักษาของการระบายน้ำหรือหนองในช่องทรวงอกโดยการใส่สายระบายขนาดเล็กร่วมกับอัลตราซาวนด์ช่วยในการระบุตำแหน่ง

ผู้แต่ง

  • ชินะภูมิ วุฒิวณิชย์ พ.บ., โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

น้ำหรือหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด, สายระบายขนาดเล็ก, อัลตราซาวนด์ช่วยในการระบุตำแหน่ง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการรักษาของการระบายน้ำหรือหนองในช่องเยื่อหุ้มปอดโดยการใส่สายระบายขนาดเล็กร่วมกับอัลตราซาวนด์ช่วยในการระบุตำแหน่ง

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่สายระบายขนาดเล็กบริเวณช่องเยื่อหุ้มปอดร่วมกับอัลตราซาวนด์ช่วยในการระบุตำแหน่ง ณ โรงพยาบาลนครปฐม ศึกษาข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยจำนวน 40 ราย ได้รับการใส่สายระบายขนาดเล็กร่วมกับอัลตราซาวนด์ช่วยในการระบุตำแหน่งและมีข้อมูลครบถ้วนในเวชระเบียน การศึกษาพบว่ากลุ่มผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 56.4 ± 17.3 ปี (3–92) เป็นหัตถการที่โอกาสสำเร็จ ร้อยละ 87.5 (35 จาก 40 ราย) ใช้เวลาในการทำหัตถการเฉลี่ย 16.6 ± 7.5 นาที (8–40) พบภาวะแทรกซ้อนได้ ร้อยละ 7.5 (3 จาก 40 ราย) โดยทั้งหมดเป็นภาวะแทรกซ้อนไม่รุนแรง โอกาสในการทำหัตถการเพิ่มเติมภายหลังการใส่สายระบายขนาดเล็กพบได้ ร้อยละ 5 (2 จาก 40 ราย)

สรุป: การใส่สายระบายขนาดเล็กร่วมกับอัลตราซาวนด์ช่วยในการระบุตำแหน่งในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำหรือหนองในช่องเยื่อหุ้มปอดนั้นเป็นหัตถการที่มีโอกาสสำเร็จสูง ใช้ระยะเวลาในการทำหัตถการน้อยและภาวะแทรกซ้อนต่ำ

 

References

Snider GL, Saleh SS. Empyema of the thorax in adults: review of 105 cases. Dis Chest 1968;54(5):410–5. doi: 10.1378/chest.54.5.410.

Light RW. Parapneumonic effusions and empyema. Clin Chest Med 1985;6(1):55–62.

Light RW. Parapneumonic effusions and empyema. Proc Am Thorac Soc 2006;3(1):75–80. doi: 10.1513/pats.200510-113JH.

Davies HE, Davies RJO, Davies CW. Management of pleural infection in adults: British Thoracic Society Pleural Disease Guideline 2010. Thorax 2010;65(Suppl 2):41–53. doi: 10.1136/thx.2010.137000.

Rahman NM, Maskell NA, Davies CW, et al. The relationship between chest tube size and clinical outcome in pleural infection. Chest 2010;137(3):536–43. doi: 10.1378/chest.09-1044.

Mueller PR, vanSonnenberg E, Ferrucci JT Jr. Percutaneous drainage of 250 abdominal abscesses and fluid collections. Part II: Current procedural concepts. Radiology 1984;151(2):343–7. doi: 10.1148/radiology.151.2.6709903.

Gerzof SG, Robbins AH, Johnson WC, et al. Percutaneous catheter drainage of abdominal abscesses: a five-year experience. N Engl J Med 1981;305(12):653–7. doi: 10.1056/NEJM198109173051201.

van Sonnenberg E, Ferrucci JT Jr, Mueller PR, et al. Percutaneous drainage of abscesses and fluid collections: technique, results, and applications. Radiology 1982;142(1):1–10. doi: 10.1148/radiology.142.1.7053517.

Gobien RP, Stanley JH, Gobien BS, et al. Percutaneous catheter aspiration and drainage of suspected mediastinal abscesses. Radiology 1984;151(1):69–71. doi: 10.1148/radiology.151.1.6701339.

Liu YH, Lin YC, Liang SJ, et al. Ultrasound-guided pigtail catheters for drainage of various pleural diseases. Am J Emerg Med 2010;28(8):915–21. doi: 10.1016/j.ajem.2009.04.041.

Rafiq S, Dar MA, Nazir I, et al. Image-guided catheter drainage in loculated pleural space collections, effectiveness, and complications. Lung India 2020;37(4):316–22. doi: 10.4103/lungindia.lungindia_385_19.

Akhan O, Ozkan O, Akinci D, et al. Image-guided catheter drainage of infected pleural effusions. Diagn Interv Radiol 2007;13(4):204–9.

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30