การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันและควบคุม การแพร่กระจายเชื้อดื้อยา โรงพยาบาลบ้านโป่ง

ผู้แต่ง

  • ปวีณา ปวีณาสมบัติ พบ.ม., โรงพยาบาลบ้านโป่ง
  • ลำภู เนียมทอง วท.ม., โรงพยาบาลบ้านโป่ง

คำสำคัญ:

การนิเทศทางการพยาบาล, ป้องกันและควบคุม, เชื้อดื้อยา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้ “รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา โรงพยาบาลบ้านโป่ง”  

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 3 ระยะ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ระยะเตรียมการพัฒนา 1.1) ศึกษาสภาพการณ์ 1.2) ศึกษาแนวคิดการนิเทศ 2) ระยะพัฒนารูปแบบฯ 2.1) กำหนดและตรวจสอบร่างรูปแบบฯ 2.2) นำร่างรูปแบบฯ ไปใช้ 3) ระยะประเมินผลการใช้รูปแบบฯ 3.1) นำรูปแบบฯไปใช้และประเมินผล 3.2) ปรับปรุงรูปแบบฯ ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 ถึงมกราคม 2567 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) พยาบาลผู้นิเทศ 12 คน 2) พยาบาลผู้รับการนิเทศ 75 คน และ 3) เวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านจุลชีพ ในเดือนพฤศจิกายน และมกราคม เดือนละ 100 ฉบับ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบวัดความรู้ แบบประเมินการปฏิบัติ ประเมินความเป็นไปได้และความยากง่าย และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที ไคสแควร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา: 1) รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา โรงพยาบาลบ้านโป่ง คือ SPEAKTOR Model ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ 1.1) การปฏิบัติตามมาตรฐาน1.2) การมีส่วนร่วม 1.3) การวางแผนตามสถานการณ์ 1.4) การให้ทางเลือก 1.5) การให้ความรู้ 1.6) การฝึกปฏิบัติ 1.7) การเปิดโอกาสประเมิน 1.8) การทบทวน 2) หลังใช้รูปแบบฯ 2.1) กลุ่มผู้นิเทศมีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ ในระดับมากที่สุด 2.2) กลุ่มผู้รับการนิเทศ มีคะแนนการปฏิบัติหลังใช้รูปแบบฯ มากกว่าก่อนใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ ในระดับมากที่สุด 2.3) กลุ่มผู้ป่วย พบอัตราการติดเชื้อดื้อยาในกระแสเลือด อัตราการติดเชื้อ  K. pneumoniae และอัตราการติดเชื้อ E. coli น้อยกว่าก่อนมีการใช้รูปแบบฯ

สรุป: รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา โรงพยาบาลบ้านโป่ง ส่งผลให้อัตราการติดเชื้อดื้อยาในกระแสเลือด อัตราการติดเชื้อ Klebsiella pneumoniae ดื้อยากลุ่มคาร์บาพีเนม (KP/CRE) และอัตราการติดเชื้อ Escherichia coli ดื้อยากลุ่มคาร์บาพีเนม (EC/CRE) ลดลง ควรนำรูปแบบนี้ไปใช้กับผู้ป่วยทุกสาขา

References

World Health Organization. Pneumonia [Internet]. 2021 [Cite 2022 May 2]; Available from: URL: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/pneumonia.

กระทรวงสาธารณสุข. คลังความรู้สุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 2 พฤษภาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: URL: http://healthydee.moph.go.th/view_ article. php?id=488.

อะเคื้อ อุณหเลขกะ. แนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล: Guideline for prevention of multidrug - resistant organisms transmission in hospital. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: อินเนอร์การ์ด; 2565.

อุไรวรรณ จุ้ยต่าย. ศึกษาพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลของผู้บริหารระดับต้นในโรงพยาบาลสุโขทัย ด้วยหลักความปลอดภัย 2P SAFETY. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2566;16(2):202–215.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: หนังสือดีวัน; 2565.

ผ่องพรรณ ธนา, กนกรัตน์ แสงอำไพ, สุทธิศรีตระกูลสิทธิโชค. ผลของการนิเทศทางคลินิกต่อการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความพึงพอใจของพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35(4):52–60.

กิ่งกาญจน์ ทรัพย์เย็น, กนกทอง จาตุรงคโชค, กฤตยา ตันติวรสกุล. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ โรงพยาบาลบ้านโป่ง. วารสารแพทย์เขต 4–5 2562;38(4):300–17.

โรงพยาบาลบ้านโป่ง. รายงานสถิติประจำปี โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี [อินเทอร์เน็ต].

[เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.bph.moph.go.th/stat/.

Proctor B. Training for the supervision alliance attitude, skills and intention In Fundamental Themes in Clinical Supervision. London: Routledge; 2001: 25–46.

Whitmore J. The GROW Model [Internet]. 2012 [Cite 2022 May 2]; Available from: URL: http://www.performance consultants.com/wp-content/uplads/ GROW Model-Guide.pdf

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.

Sashkin MA. Manager's guide to participative management. New York: AMA Membership Publication Division; 1982.

กัลยา หนูแก้ว, พงศ์พิษณุ บุญดา. การสร้างรูปแบบการนิเทศงานการพยาบาลของโรงพยาบาลตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์. การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ครั้งที่ 1; 8–9 ธันวาคม 2560; ณ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง; 2560.

นฤมล จุ้ยเล็ก, วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียรล, นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล. การพัฒนาระบบการให้คะแนนปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มสำหรับผู้ป่วยใน. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2559;43(3):69–80.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติในการวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. วิทยพัฒน์; 2557.

ศิริวรรณ เมืองประเสิรฐ, อุษณีย์ คงคากุล, นริสา สะมาแอ, และคณะ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2561;10(2):13–24.

กาญจนา โพธิวิหค, นาตยา ปริกัมศีล, ชวนนท์ จันทร์สุข. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลร่วมกับการใช้แนวคิดการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบในโรงพยาบาล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2566;10(2):326–41.

จงลักษณ์ รสสุขุมาลชาติ, นิตยา ปริญญาปริวัฒน์, สุทัตรา คงศรี. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วารสารกองการพยาบาล 2561;45(1):66–85.

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30