ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • ณภัชนันท์ โลหิตหาญ พ.บ., โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, ความชุก, การกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอก ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ตามเกณฑ์คัดเลือกทั้งหมด 204 คน ด้วยการสุ่มแบบมีระบบ แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ไม่ได้กลับมารักษาตัวซ้ำในโรงพยาบาลและกลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่กลับมารักษาตัวซ้ำในโรงพยาบาล เก็บข้อมูลทั่วไป ได้แก่ อายุ เพศ ชนิดของโรคหลอดเลือดสมอง ประวัติโรคประจำตัวร่วม ข้อมูลเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและการรักษาที่ได้รับ ระยะเวลาที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง และภาวะหลังได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วย

ผลการศึกษา: ความชุกของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่กลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ พบร้อยละ 10.8 และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ, ชนิดของโรคหลอดเลือดสมอง, โรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง, ระดับความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง, และการมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ต้องดูแล

สรุป: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน เป็นกลุ่มผู้ป่วยติดบ้านหรือติดเตียง และได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะ ควรได้รับการดูแลและเฝ้าระวัง เนื่องจากมีโอกาสในการกลับมารักษาตัวซ้ำในโรงพยาบาล

References

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันโรคหลอดเลือดสมองโลก หรือวันอัมพาตโลก 2565 เน้นสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองให้กับประชาชน [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/130588

ทีมพัฒนาสารสนเทศ เขตบริการสุขภาพที่ 1. ระบบรายงานข้อมูล CMI, วิเคราะห์ศักยภาพการจัดบริการผู้ป่วยใน และผลลัพธ์การให้บริการ Service Plan รายสาขา [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: URL:https://cmi.ciorh1.com/web/index.php?r=service%

Findex.

Ngamjarus C, Chongsuvivatwong V, Mcneil E. n4Studies: Sample size calculation for an epidemiological study on a smart device. Siriraj Med J 2016;68(3):160–170.

ยุวตี คุ้มชนะ, สิทธิชัย ภู่ระหงษ์, บรรเจิด มีทอง. ระยะเวลาการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 28 เมษายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: URL:http://chainathospital.org/chainatweb/research/viewdownload/16

Kilkenny MF, Dalli LL, Kim J, et al. Factors associated with 90-day readmission after stroke or transient ischemic attack. Stroke 2020;51(2):571–78. doi: 10.1161/STROKEAHA.119.026133.

Boehme AK, Kulick ER, Canning M, et al. Infections increase the risk of 30-day readmissions among stroke survivors. Stroke 2018;49(12):2999–3005. doi: 10.1161/STROKEAHA.118.022837.

Lewsey J, Jhund PS, Gillies M, et al. Temporal trends in hospitalisation for stroke recurrence following incident hospitalisation for stroke in Scotland. BMC Med 2010;8:23. doi: 10.1186/1741-7015-8-23.

Hirayama A, Goto T, Hasegawa KF, et al. Age-related differences in the rate and diagnosis of 30-day readmission after hospitalization for acute ischemic stroke. Int J Stroke 2018;13(7):717–24. doi: 10.1177/1747493018772790.

Rohweder G, Salvesen O, Ellekjær H, et al. Hospital readmission within 10 years post stroke: frequency, type and timing. BMC Neurol 2017;17(7):116. doi: 10.1186/s12883-017-0897-z.

Hobson H, Cogan N, Dunne S, et al. 223 READMISSION POST STROKE: RATES AND REASONS FOR READMISSION IN THE 18 MONTHS FOLLOWING HOSPITAL DISCHARGE. Age and Ageing 2022;51(3). doi: 10.1093/ageing/afac218.193

Chiou L-J, Lang H-C. Potentially preventable hospital readmissions after patients’ first stroke in Taiwan. Sci Rep 2022;12(1):3743. doi: 10.1038/s41598-022-07791-3.

Lee H-C, Chang K-C, Huang Y-C, et al. Readmission, mortality, and first-year medical costs after stroke. J Chin Med Assoc 2013;76(12):703–14. doi: 10.1016/j.jcma.2013.08.003.

Lichtman JH, Leifheit-Limson EC, Jones SB, et al. Preventable readmissions within 30 days of ischemic stroke among medicare beneficiaries. Stroke 2013;44(12):3429–35. doi: 10.1161/STROKEAHA.113.003165.

Fehnel CR, Lee Y, Wendell LC, et al. Post–acute care data for predicting readmission after ischemic stroke: A nationwide cohort analysis using the minimum data set. J Am Heart Assoc 2015;4(9):e002145. doi: 10.1161/JAHA.115.002145.

นิชธิมา เสรีวิชยสวัสดิ์, พวงรัตน์ มณีวงษ์, อรณีย์ ศรีสุข, และคณะ. ศึกษาปัจจัยเสี่ยงการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่ได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2557;28(3):30–40.

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30