ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) ในผู้ป่วยที่มีอาการในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น
คำสำคัญ:
เชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร, การทดสอบการผลิตเอนไซม์ของเชื้อ, การตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรในผู้ป่วยที่มีอาการในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น
วิธีการ: การศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยที่มีอาการในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ที่เข้ารับการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น โรงพยาบาลศีขรภูมิ ระหว่าง 1 มกราคม 2559–31 ธันวาคม 2563 ตรวจยืนยันการติดเชื้อด้วยการตรวจทดสอบ rapid urease test วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ chi-square test และ multiple logistic regression
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง 480 คน อายุเฉลี่ย 61.98 ± 0.69 ปี ผลการส่องกล้องพบกระเพาะอาหารอักเสบ ร้อยละ 29.2, แผลในกระเพาะอาหาร ร้อยละ 22.9, และแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น ร้อยละ 10.8, พบการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ร้อยละ 38.5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ได้แก่ เพศหญิง (odds ratio 1.99, p = .006), โรคไตวายเรื้อรัง (odds ratio 3.56, p = .002), โรคเบาหวาน (odds ratio 2.79, p = .013), โรคเกาต์ (odds ratio 15.63, p < .001), และโรคกระดูกสันหลังเสื่อม (odds ratio 3.86, p = .016)
สรุป: ความชุกการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรในการศึกษานี้ค่อนข้างสูง และพบว่า เพศหญิง โรคไตวายเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคเกาต์ และโรคกระดูกสันหลังเสื่อม มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อในผู้ป่วยที่มีอาการในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น
References
เพชรี มณีธร, ปนัดดา โรจน์พิบูลสถิตย์, รัฐกร วิไลชนม์, และคณะ. เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร รูปร่างทรงกลม ซึ่งมีชีวิต แต่ไม่เจริญเติบโต ยังคงสร้างกลูตามิลทรานส์เพปทิเดสที่เป็นปัจจัยก่อความรุนแรงโรค. TJST 2018;7(6):615–21. doi: https://doi.org/10.14456/tjst.2018.60
Chey WD, Wong BCY. American college of gastroenterology guideline on the management of Helicobacter pylori infection. Am J Gastroenterol 2007;102(8):1808–25. doi: 10.1111/j.1572-0241.2007.01393.x.
สลิล ศิริอุดมภาส. โรคติดเชื้อเอชไพโลไร (H. pylori infection) [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2565]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://haamor.com/H.pylori infection
Cover TL. Helicobacter pylori diversity and gastric cancer risk. mBio 2016;7(1):e01869–15. doi: 10.1128/mBio.01869-15.
อธิคม สงวนตระกูล. ความชุกของเชื้อ Helicobacter pylori ในผู้ป่วยที่มีอาการในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2559;38(3):151–4
อุมาพร นันทธีโร. ผลการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นของผู้มารับบริการในโรงพยาบาลนครนายก. วารสารแพทย์เขต 4–5 2564;40(3):403–11.
Mitipat N, Siripermpool P, Jadwattanakul T, et al. The prevalence of Helicobacter pylori infection in patients with gastrointestinal symptoms in Chon Buri, Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2005;36(2):341–6.
Tunruttanakul S, Wairangkool J. Prevalence of Helicobacter pylori Infection in patients with perforated peptic ulcer in a tertiary hospital in Thailand: a single tertiary hospital study. Siriraj Med J 2018;70(2):139–43.
Cho J-H, Jin S-Y. Current guidelines for Helicobacter pylori treatment in East Asia 2022: differences among China, Japan, and South Korea. World J Clin Cases 2022;10(19):6349. doi: 10.12998/wjcc.v10.i19.6349
Crowe SE. Indications and diagnostic tests for Helicobacter pylori infection [online database]. 2015 [cited 2022 December 17]; Available from: Up To Date.
Wang W, Jiang W, Zhu S, et al. Assessment of prevalence and risk factors of Helicobacter pylori infection in an oilfield community in Hebei, China. BMC gastroenterol 2019;19(1):186. doi: 10.1186/s12876-019-1108-8.
Shrestha R, Koirala K, Raj KS, et al. Helicobacter pylori infection among patients with upper gastrointestinal symptoms: prevalence and relation to endoscopy diagnosis and histopathology. J Family Med Prim Care 2014;3(2):154–8. doi: 10.4103/2249-4863.137663
Bravo LE, Realpe JL, Campo C, et al. Effects of acid suppression and bismuth medications on the performance of diagnostic tests for Helicobacter pylori infection. Am J gastroenterol 1999;94(9):2380–3. doi: 10.1111/j.1572-0241.1999.01361.x.
กลุ่มวิจัยโรคกระเพาะอาหาร สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติในการวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) ในประเทศไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: คอนเซ็พท์ เมดิคัส จำกัด; 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์