ผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ในผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับการใส่คาสายสวนทางหลอดเลือดแดง

ผู้แต่ง

  • นรินทร์ พิพัฒนวรคุณ พย.ม., โรงพยาบาลนครปฐม
  • ปิยพร ธีรศิลป์ พย.บ., โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์, ผู้ป่วยวิกฤต, การใส่คาสายสวนทางหลอดเลือดแดง

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: การศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยวิกฤต    ที่ได้รับการใส่คาสายสวนทางหลอดเลือดแดง และเพื่อเปรียบเทียบการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับการใส่คาสายสวนทางหลอดเลือดแดงระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง

          รูปแบบการศึกษา: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 14 คน และ 2) ผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับการใส่คาสายสวนทางหลอดเลือดแดง จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 ราย ที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์คัดเลือก เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางคลินิก      2) แบบบันทึกเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใส่คาสายสวนทางหลอดเลือดแดง 3) รูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับการใส่คาสายสวนทางหลอดเลือดแดงประกอบด้วย        5 กิจกรรมหลักตาม ABCD’S of care และ 4) แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาลตามรูปแบบ การพยาบาลเพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใส่คาสายสวนทางหลอดเลือดแดง มีค่าความตรง     เชิงเนื้อหา และมีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินในการวินิจฉัยการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใส่คาสายสวนทางหลอดเลือดแดงเท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที และไคสแควร์

          ผลการศึกษา: พบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใส่คาสายสวนทางหลอดเลือดแดงเพิ่มขึ้นจาก 2.57 คะแนน (SD = 0.51) เป็น 4.50 คะแนน (SD = 0.52) และพบการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใส่คาสายสวนทางหลอดเลือดแดงลดลงจาก   ร้อยละ 45 เหลือร้อยละ 5

          สรุป: รูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับการใส่คาสายสวนทางหลอดเลือดแดงทั้ง 5 กิจกรรมหลักนี้ สามารถช่วยลดการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใส่คาสายสวนทางหลอดเลือดแดงได้ ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพจึงควรได้รับการส่งเสริมการปฏิบัติด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและความยั่งยืนในการปฏิบัติการพยาบาล

 

References

Safdar N, O’Horo JC, Maki DG. Arterial catheter-related bloodstream infection: Incidence, pathogenesis, risk factors and prevention. J Hosp Imfect 2013;85(3):189–95. doi: 10.1016/j.jhin.2013.06.018.

Crumlett H, Johnson A. Arterial catheter insertion (Assist), Care, and removal. In: Wiegand DL, editor. AACN Procedure Manual for High Acuity, Progressive, and Critical Care. 7th ed. Amsterdam: Elsevier; 2015: 508–22.

Reynolds H, Ullman AJ, Culwick MD, et al. Dressings and securement devices to prevent complications for peripheral arterial catheters. Cochrane Database Syst Rev 2018;2018(5):1–7. doi:10.1002/14651858.CD 013023.

O’Horo JC, Maki DG, Krupp AE, et al. Arterial catheters as a source of bloodstream infection: A systematic review and meta-analysis. Crit Care Med 2014;42(6):1334–9. doi: 10.1097/CCM.0000000000000166.

ขวัญล่า เผือกอ่อน, ชัยณรงค์ หลิมเจริญ, นงลักษณ์ บุญเยีย, และคณะ. การลดปริมาณเลือดทิ้งผ่าน Arterial line ในการส่งตรวจค่า PT PTT และ INR ในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และสาธารณสุข 2565;1(3):40–6.

ลักขณา พันธ์วาสนา, พัชรีย์ ไสยนิตย์, ธนิน สุวรรณชาติ. A-line Strong ป้องกันอุบัติการณ์เลื่อนหลุดของสายสวนหลอดเลือดแดง. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2565;2(2):89–97.

งานห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลนครปฐม. สถิติผู้ป่วยปี 2565–2566 [เอกสารรายงานประจำปี]. นครปฐม: โรงพยาบาลนครปฐม; 2566.

โรงพยาบาลนครปฐม. การพยาบาลผู้ป่วยใส่สายเข้าหลอดเลือดแดง เพื่อวัดความดันโลหิต (arterial line) [วิธีปฏิบัติงาน]. นครปฐม: โรงพยาบาลนครปฐม; 2561.

สถาบันบำราศนราดูร. คู่มือวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

โรงพยาบาลนครปฐม. การเก็บ Specimens ทางสายสวนหลอดเลือดแดง (arterial line: A-line) ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ [วิธีปฏิบัติงาน]. นครปฐม: โรงพยาบาลนครปฐม; 2561.

Polit FD, Beck TB. Nursing research: Principles and methods. 7th ed. Philadelphia: Lippincott Williums & Wilkins; 2004.

นรินทร์ พิพัฒนวรคุณ, สหรัฐ สังข์ชวะสุทธิ์, สุรีรัตน์ ชาสมบัติ, และคณะ. ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม. วารสารแพทย์เขต 4–5 2567;43(1):133–43.

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30